การพัฒนาวัดให้เป็นศูนย์กลางความรู้ชุมชนของวัดโพธิ์งาม บ้านติ้วน้อย ตำบลนาโป่ง อำเภอเมือง จังหวัดเลย

ชื่อผู้วิจัย:                  พระครูใบฎีกาทวีศักดิ์  นรินฺโท    

                             พระมหาสุภวิชญ์ ปภสฺสโร, ผศ.   

                             นายภาวิทย์ โพธิ์ตาทอง            

ส่วนงาน:                  มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์เลย

ปีงบประมาณ:             ๒๕๖๒

ทุนอุดหนุนการวิจัย:      มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง การพัฒนาวัดให้เป็นศูนย์กลางความรู้ชุมชนของวัดโพธิ์งาม บ้านติ้วน้อย ตำบลนาโป่ง อำเภอเมือง จังหวัดเลย มีวัตถุประสงค์เพื่อ๑) ศึกษารวบรวมภูมิปัญญาชาวบ้านของชุมชนวัดโพธิ์งาม บ้านติ้วน้อย ตำบลนาโป่ง อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย  ๒) ศึกษาแนวทางการพัฒนาวัดให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ของชุมชนวัดโพธิ์งาม บ้านติ้วน้อย ตำบลนาโป่ง อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย และ ๓) วิเคราะห์รูปแบบการเรียนรู้ของชุมชนของวัดโพธิ์งาม บ้านติ้วน้อย ตำบลนาโป่ง อำเภอเมือง จังหวัดเลย การวิจัยในครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาเอกสารและการสัมภาษณ์

ผลการวิจัยพบว่า

การเรียนรู้ของชุมชนและการถ่ายทอดหรือเผยแพร่ความรู้ของชุมชนวัดโพธิ์งาม  บ้านติ้วน้อย จึงควรได้รับการสนับสนุนส่งเสริมให้มีการเรียนรู้ การจัดการความรู้ และปฏิบัติจริงในระดับชุมชนท้องถิ่น เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาคน พัฒนาระบบงานของชุมชนท้องถิ่น ซึ่งจัดเป็นหน่วยทางสังคมที่มีความสำคัญต่อความเข้มแข็งต่อฐานรากของสังคมเป็นอย่างแท้จริง และการศึกษาเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาวัดให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ชุมชนของวัดโพธิ์งาม แนวปฏิบัติในการดำเนินการจัดแหล่งการเรียนรู้ในวัดที่สอดคล้องต่อปัญหาและความต้องการของคนในชุมชน  ๗ ด้าน ได้แก่ ๑) ด้านจุดมุ่งหมายและนโยบาย ๒) ด้านการบริหารจัดการแหล่งการเรียนรู้ในวัด ๓) ด้านบุคลากร ๔) ด้านกิจกรรมที่วัดจัดเพื่อเสริมลร้างการเรียนรู้ตลอดชีวิต ๕) ด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน ๖) ด้านการสร้างภาคีกับแหล่งการเรียนรู้ ๗) ด้านการได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ

คำสำคัญ : ภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือภูมิปัญญาชาวบ้าน, ปราชญ์ชาวบ้าน, นวัตกรรมภูมิปัญญา, การพัฒนาวัด

Research  Title:                            The Development of The Temple as a                                                               Community Knowledge Center in Wat Pho                                            Ngam, Ban Tiw Noi, Tambon Na Pong, Amphoe                                Mueang, Loei Province

Researchers:                                Phra Kru Bideega TaweesK Narinto,

                                                 Phra Maha Supawit Papatsaro and

                                                 Mr.Pawit Potathong

Department:                               Mahachulalongkornrajavidyalaya University,

                                                Loei Buddhist College

Fiscal Year:                                 2562/2019

Research Scholarship Sponsor:      Mahachulalongkornrajavidyalaya University

ABSTRACT

           Research subject The development of the temple to be a community knowledge center of Wat Pho Ngam, Ban Tio Noi, Na Pong Subdistrict, Mueang District, Loei Province has the objective to 1) study the history and wisdom of the Wat Pho Ngam Ban Tio Noi community, Na Pong Subdistrict, Mueang District, Province Loei  2) Study of temple development for Is a community knowledge center of Wat Pho Ngam, Ban Tio Noi, Na Pong Subdistrict, Mueang District, Loei Province.  3) Analyze the learning model of the community of Wat Pho Ngam Ban Tio Noi, Na Pong Subdistrict, Mueang District, Loei Province. Quality research By studying documents and interviews.

           The research found that

            Community learning and knowledge transfer of communities of Wat Pho Ngam Ban Tio Noi should therefore be encouraged to promote learning. Knowledge management And practiced at a local community level. For the benefit of human development Develop the system of local communities Which is a social unit that is truly important to the strength of the foundations of society And studies on ways to develop temples into a community learning center of Wat Pho Ngam. The guidelines for conducting the temple learning sources that are in line with the problems and needs of the people in the community are 7 aspects, which are 1) Aspects and policies 2) Management of learning resources in temples 3) Personnel 4) Activities organized by the temple to enhance lifelong learning 5) Public participation 6) Creating partnerships with learning resources; 7) receiving support from the government.

Key Word: Local wisdom or folk wisdom, folk wisdom, innovative wisdom, temple development

https://drive.google.com/file/d/1XqzrLhIKlxc9lyz4eQ9otjJsh2tzZMts/view?usp=sharing

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *