หลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา

หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐

ชื่อสถาบันอุดมศึกษา     มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คณะ                       คณะพุทธศาสตร์

วิทยาเขต                  วิทยาลัยสงฆ์นครพนม

ภาควิชา                   พระพุทธศาสนา             

สถานที่ตั้ง                 ๑๘๓ หมู่ ๑๓ ตำบลธาตุพนม อำเภอธาตุพนม  จังหวัดนครพนม ๔๘๑๑๐

 

หมวดที่ ๑

ข้อมูลทั่วไป

๑.  รหัสและชื่อหลักสูตร

รหัสหลักสูตร         :         ๒๕๕๐๑๘๕๑๑๐๔๐๐๒๗

ภาษาไทย            :         พุทธศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา

๒.   ภาษาอังกฤษ                    :            Bachelor of Arts Program in Buddhist Studies

๓.  ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ชื่อเต็ม (ไทย)        :         พุทธศาสตรบัณฑิต (พระพุทธศาสนา)

ชื่อย่อ (ไทย)         :         พธ.บ. (พระพุทธศาสนา)

ชื่อเต็ม (อังกฤษ)     :         Bachelor of Arts in Buddhist Studies

๔.  ชื่อย่อ (อังกฤษ)                 :         B.A. (Buddhist Stusdies)

๕.  วิชาเอกหรือความเชี่ยวชาญเฉพาะของหลักสูตร

          เป็นหลักสูตรที่มุ่งสร้างความรู้ความเข้าใจและมีทักษะการประยุกต์ใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา  โดยมีการสอนทั้งทฤษฎีและหลักการปฏิบัติด้านพระพุทธศาสนา  เสริมสร้างศักยภาพให้นิสิตทั้งพระภิกษุสามเณรและคฤหัสถ์สามารถนำความรู้ด้านพุทธศาสนาไปประยุกต์ใช้บูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่แขนงต่าง ๆ เพื่อพัฒนาตนเอง องค์กรที่เกี่ยวข้องกับตนเอง สังคมประเทศชาติและปรับศักยภาพความรู้ความสามารถเข้าสู่ประชาคมอาเซียนและประชาคมโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ

๖. จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร       จำนวน  ๑๔๐ หน่วยกิต

๗.  รูปแบบของหลักสูตร

๕.๑ รูปแบบ              หลักสูตรระดับปริญญาตรี ภาษาไทย หลักสูตร ๔ ปี 

      ๕.๒ ประเภทหลักสูตร หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการ

๕.๓  ภาษาที่ใช้          ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ  

๕.๔ การรับเข้าศึกษา   รับนิสิตไทยและนิสิตต่างประเทศที่สามารถใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดี

๕.๕ ความร่วมมือกับสถาบันอื่น  เป็นหลักสูตรเฉพาะของมหาวิทยาลัยที่จัดการเรียนการสอนโดยตรง

๕.๖ การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา   ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว  คือ สาขาวิชาพระพุทธศาสนา

๖. สถานภาพของหลักสูตรและการพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตร

          ๖.๑ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐  ปรับปรุงจากหลักสูตร พ.ศ. ๒๕๕๕

                เปิดสอน ภาคการศึกษาที่ ๑  ปี พ.ศ. ๒๕๖๐

           ๖.๒ สภาวิชาการ  มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  อนุมัติหลักสูตรในการประชุมครั้งที่ ๑       เมื่อวันที่ ๖ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๖๐

           ๖.๖  สภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  อนุมัติหลักสูตรในการประชุม ครั้งที่ ๑  เมื่อวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์  พุทธศักราช  ๒๕๖๐

๗. ความพร้อมในการเผยแพร่หลักสูตรคุณภาพและมาตรฐาน

หลักสูตรมีความพร้อมเผยแพร่คุณภาพและมาตรฐานตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๒              ในปีการศึกษา ๒๕๖๑    

๘. อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

         ผู้ที่จบการศึกษาปริญญาตรีสาขาวิชาพระพุทธศาสนา  สามารถสอบเข้าทำงานราชการในตำแหน่งที่ ก.พ. กำหนดว่าเป็นผู้สำเร็จการศึกษาพุทธศาสตรบัณฑิต  หรือทำงานในหน่วยงานของรัฐและเอกชนที่ต้องการบุคลากรที่มีคุณวุฒิด้านพระพุทธศาสนา โดยสามารถเข้าทำงานในหน้าที่ต่าง ๆ ได้ดังนี้

        (๑) บุคลากรทางการศึกษา        (๒) นักวิชาการศาสนา                (๓) อนุศาสนาจารย์

        (๔) กรมราชทัณฑ์                  (๕) กรมสุขภาพจิต                    (๖)เจ้าหน้าที่ฝึกอบรมบุคลากร

        (๗)  สังคมสงเคราะห์ฟื้นฟูพัฒนาจิตใจ

 

 

๘.      ตำแหน่งทางวิชาการ ชื่อ ฉายา/นามสกุล/เลขประจำตัวบัตรประชาชน คุณวุฒิการศึกษา สถาบันที่สำเร็จการศึกษา และปีที่สำเร็จของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

๙. 

ตำแหน่ง

ทางวิชาการ

ชื่อ-ฉายา/นามสกุล/  

เลขประจำตัวประชาชน

คุณวุฒิ/สาขาวิชา

สถาบันที่สำเร็จการศึกษา

ปีที่สำเร็จ

อาจารย์

พระครูศรีปริยัติการ

(อรุณ ฐิตเมโธ)

๓-๔๙๐๕-๐๐๑๙๕-๘๓-๙

พธ.ม.(พระพุทธศาสนา)

พธ.บ.(พุทธจิตวิทยา)

 

ม.มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยม.มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

 

๒๕๕๕

๒๕๔๒

 

อาจารย์

พระมหาคาวี  ญาณสาโร

(สร้อยสาคำ)
๓-๔๗๐๑-๐๐๙๒๐-๖๑-๗

ศศ.ม.(พุทธศาสนศึกษา)      

พธ.บ.เกียรตินิยม(บริหารการศึกษา)

ม.ธรรมศาสตร์

ม.มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

 

๒๕๔๔

๒๕๓๘

 

อาจารย์

พระอธิการทัศเทพ ฐานกโร

(โลสันตา)

๓-๔๘๐๖-๐๐๓๕๙-๕๖-๖

พธ.ม.(พุทธศาสนา)

พธ.บ.(สังคมศึกษา)

ม.มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

ม.มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

๒๕๕๖

๒๕๕๐

อาจารย์

พระครูปริยัติรัตนานุยุต

(ประสาร  จนฺทสาโร)
๓-๔๘๐๖-๐๐๓๕๖-๘๙-๓

M.A.(ปรัชญา)

พธ.บ. (ศาสนา)

 

Nagpur University

ม.มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

 

๒๕๔๐

๒๕๓๗

 

อาจารย์

ดร.บูรกรณ์  บริบูรณ์

๓-๔๙๐๑-๐๐๓๔๓-๕๒-๑

ปร.ด.(ประชากร)

อม.(ศาสนาเปรียบเทียบ)

พธ.บ.(ภาษาอังกฤษ)

ม.มหิดล

ม.มหิดล

ม.มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

๒๕๕๓

๒๕๓๙

๒๕๓๕

 

๑๐. สถานที่จัดการเรียนการสอน

      สถานที่เปิดสอน

ที่อยู่

 วิทยาลัยสงฆ์นครพนม

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

วิทยาลัยสงฆ์นครพนม เลขที่ ๑๘๓ หมู่ ๑๓ ตำบลธาตุพนม อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม ๔๘๑๑๐

๑๑. สถานการณ์ภายนอกหรือการพัฒนาที่จำเป็นต้องนำมาพิจารณาในการวางแผนหลักสูตร

๑๑.๑ สถานการณ์หรือการพัฒนาทางเศรษฐกิจ

       การพัฒนาหลักสูตรจะสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐–๒๕๖๔)       และ พระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ และ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๓     ที่กล่าวถึงการพัฒนาในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๒ จึงจำเป็นต้องยึดกรอบแนวคิดและหลักการในการวางแผนที่สำคัญ      การน้อมนำและประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วม การสนับสนุนและส่งเสริมแนวคิดการปฏิรูปประเทศ และการพัฒนาสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน สังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข และการจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดารงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ในกระบวนการเรียนรู้ต้องมุ่งปลูกฝังจิตสานึก       ที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รู้จักรักษาและส่งเสริมสิทธิ หน้าที่ เสรีภาพ ความเคารพกฎหมาย ความเสมอภาค และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ มีความภาคภูมิใจในความเป็นไทย รู้จักรักษาผลประโยชน์ส่วนรวมและของประเทศชาติ รวมทั้งส่งเสริมศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมของชาติ การกีฬา ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย และความรู้อันเป็นสากล ตลอดจนอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีความสามารถในการประกอบอาชีพ รู้จักพึ่งตนเอง มีความริเริ่มสร้างสรรค์ ใฝ่รู้และเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง

       การบริหารจัดการองค์ความรู้อย่างเป็นระบบเป็นสิ่งจำเป็น รวมถึงการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทางพุทธศาสตร์ที่เหมาะสมที่จะผสมผสานกับจุดแข็งในสังคมไทย เป้าหมายยุทธศาสตร์กระทรวงศึกษาธิการ แผนกลยุทธ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และหลักสูตรนี้ เป็นหลักสูตรที่ตอบสนองพันธกิจหลักของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งคณะสงฆ์ไทย ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕       ได้ทรงสถาปนาขึ้นเพื่อเป็นสถานศึกษาพระไตรปิฎกและวิชาชั้นสูง สำหรับพระภิกษุสามเณรและคฤหัสถ์ทั่วไป โดยเป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นการศึกษา ค้นคว้า วิจัย แสวงหาความรู้ เกี่ยวกับวิชาการทางพระพุทธศาสนาและประยุกต์เข้ากับศาสตร์สาขาต่างๆ อันจะเป็นประโยชน์ ต่อการพัฒนาวิชาการของมหาวิทยาลัยและพระพุทธศาสนา เพื่อนำไปสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการด้านพระพุทธศาสนาและเป็นมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาแห่งโลก

๑๑.๒ สถานการณ์หรือการพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรม

      การวางแผนหลักสูตรจะคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงด้านสังคมยุคโครงสร้างประชากรเปลี่ยนแปลงเข้าสู่การเป็นสังคมสูงวัย แต่ยังคงมีปัญหาทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพของประชากรในทุกช่วงวัย เนื่องจากประชากรวัยเด็กของไทยมีจานวนลดลงอย่างรวดเร็ว มีพัฒนาการไม่สมวัยและการตั้งครรภ์ในกลุ่มวัยรุ่นที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น กาลังแรงงานมีแนวโน้มลดลง และแรงงานกว่าร้อยละ ๓๐ เป็นประชากรกลุ่มเจเนอเรชั่น Y (Gen Y) ขณะที่ผลิตภาพแรงงานยังเพิ่มขึ้นช้า ซึ่งจะเป็นข้อจากัด    ต่อการพัฒนาในระยะต่อไปกลุ่มผู้สูงอายุวัยกลางและวัยปลายมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น สะท้อนถึงภาระค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพที่เพิ่มมากขึ้น ขณะที่ผู้สูงอายุจานวนมากยังมีรายได้ไม่เพียงพอในการยังชีพ การผลิตบุคลากรที่รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคม ที่มุ่งไปสู่สังคมแห่งความรู้ ที่แข่งขันกันด้วยความรู้ความสามารถและมีความเป็นมืออาชีพ มีความเข้าใจในผลกระทบทางสังคมและวัฒนธรรม มีคุณธรรม จริยธรรม ที่จะช่วยชี้นำและขับเคลื่อนให้การเปลี่ยนแปลงนี้เป็นไปในรูปแบบที่สอดคล้องและเหมาะสมกับวิถีชีวิตของสังคมไทย

     หลักสูตรนี้จึงเป็นหลักสูตรที่ตอบสนองการพัฒนาจิตใจและสังคมตามการเรียนรู้ทางพระพุทธศาสนา เพื่อดำรงสืบสานพระพุทะศาสนาและพระราชปณิธานของรัชกาลที่ ๕ และเพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความเป็นเลิศทางวิชาการด้านพระพุทธศาสนา ภูมิปัญญาท้องถิ่น สามารถประยุกต์หลักพุทธธรรมเข้ากับศาสตร์ในสาขาต่าง ๆ โดยใช้หลักการทางพระพุทธศาสนาเป็นปัจจัยหลักในการเรียนรู้โดยมีรูปแบบและการเรียนการสอนที่มีมาตรฐานเพื่อเป็นพระพุทธศาสนาในระดับชาติและนานาชาติ

๑๒. ผลกระทบจาก ข้อ ๑๑ ต่อการพัฒนาหลักสูตรและความเกี่ยวข้องกับพันธกิจของสถาบัน

 ๑๒.๑ การพัฒนาหลักสูตร

       จากผลกระทบจากสถานการณ์ภายนอก ในการพัฒนาหลักสูตรจึงจำเป็นต้องพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐ สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามวิวัฒนาการของกระแสโลกาภิวัฒน์และรองรับการแข่งขันทางสังคมเศรษฐกิจทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ โดยการผลิตบุคลากรทางพระพุทธศาสนาที่จำเป็นต้องมีความพร้อมที่จะปฏิบัติงานได้ทันที และมีศักยภาพสูงในการพัฒนาตนเองให้เข้ากับลักษณะงานทั้งด้านวิชาการและวิชาชีพ รวมถึงความเข้าใจในผลกระทบของบริบทของสังคม โดยต้องปฏิบัติตนอย่างมืออาชีพ มีคุณธรรม จริยธรรม ซึ่งเป็นไปตามนโยบายและวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยด้านมุ่งสู่ ความเป็นเลิศในการเป็นศูนย์กลางการศึกษาพระพุทธศาสนา บูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่ พัฒนาจิตใจและสังคม

          ดังนั้น  การพัฒนาหลักสูตรที่มุ่งเน้นการพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านพระพุทธศาสนาทั้งในระดับปัจเจกบุคคล องค์กรทางพระพุทธศาสนา และสังคม ให้มีความรอบรู้และเชี่ยวชาญในพระพุทธศาสนา สามารถวิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์ และศึกษาวิจัยวิชาการด้านพระพระพุทธศาสนาได้อย่างแตกฉาน มีคุณธรรมและจริยธรรม เป็นผู้นำสังคมด้านจิตใจและปัญญา สามารถนำพุทธธรรมไปประยุกต์ใช้ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา พัฒนาชีวิตและสังคมได้อย่างเหมาะสม

๑๒.๒  ความเกี่ยวข้องกับพันธกิจของสถาบัน

ผลกระทบจากสถานการณ์หรือการพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรมที่มีต่อพันธกิจของมหาวิทยาลัยที่มุ่งสู่ความเป็นเลิศ  ในการเป็นศูนย์กลางการศึกษาพระพุทธศาสนา บูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่ พัฒนาจิตใจและสังคม และมุ่งธำรงปณิธาน    ในการศึกษาพระไตรปิฎกและวิชาชั้นสูงสำหรับพระภิกษุสามเณรและคฤหัสถ์ เพื่อผลิตบัณฑิตที่เป็นคนดีและเก่งอย่างมีสมรรถภาพ การจัดการศึกษาและวิจัยดีอย่างมีคุณภาพ บริการวิชาการดีอย่างมีสุขภาพ และบริหารดีอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งส่งเสริมพระพุทธศาสนาและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมให้คงไว้สืบไป

เนื่องจากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยมุ่งเน้นเป็นสถาบันที่จัดการศึกษาด้านพระพุทธศาสนา บูราการกับศาสตร์สมัยใหม่เพื่อพัฒนาจิตใจและสังคม ดังนั้น จึงมีการบูรณาการกับพันธกิจของมหาวิทยาลัยด้านการผลิตบัณฑิต การวิจัย การส่งเสริมพระพุทธศาสนา การบริการวิชาการแก่สังคม และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม โดยมุ่งการผลิตบัณฑิตให้มีความเป็นเลิศทางวิชาการด้านพระพุทธศาสนา สามารถประยุกต์เข้ากับศาสตร์สาขาต่าง ๆ มีปฏิปทาน่าเลื่อมใส ใฝ่รู้ใฝ่คิด มีความเป็นผู้นำทางจิตใจและปัญญา มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีโลกทัศน์กว้างไกล สามารถก้าวทันความเปลี่ยนแปลงของโลก       มีศรัทธาที่จะอุทิศตนเพื่อพระพุทธศาสนา มีคุณธรรม จริยธรรม และเสียสละเพื่อส่วนรวม ด้วยรูปแบบและเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่มีมาตรฐานระดับสากล

๑๓. ความสัมพันธ์กับหลักสูตรอื่นที่เปิดสอนในคณะ/ภาควิชาอื่นของสถาบัน

 ๑๓.๑ กลุ่มวิชา/รายวิชาในหลักสูตรนี้ที่เปิดสอนโดยคณะครุศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มีจำนวน  ๗ รายวิชา ดังนี้

๑๐๑  ๔๑๕   จิตวิทยาในพระไตรปิฎก              

๑๐๑  ๓๑๙   ศึกษาศาสตร์ในพระไตรปิฎก

๑๐๑  ๓๐๑   พระพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์    

๑๐๑  ๓๐๒   พระพุทธศาสนากับสังคมสงเคราะห์

๑๐๑  ๓๐๓   พระพุทธศาสนากับนิเวศวิทยา       

๑๐๑  ๔๒๗   รัฐศาสตร์ในพระไตรปิฎก             

๑๐๑  ๔๓๗   พระพุทธศาสนากับสาธารณสุข

      ๑๓.๒  กลุ่มวิชา/รายวิชาในหลักสูตรที่เปิดสอนให้ภาควิชา/หลักสูตรอื่นต้องมาเรียน

      หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ได้แก่ กลุ่มวิชาพระพุทธศาสนา  

      ๑๓.๓ การบริหารจัดการ

     สาขาวิชาพระพุทธศาสนา เป็นผู้รับผิดชอบหลักสูตรทำหน้าที่ประสานงานกับอาจารย์ผู้บรรยายจากสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้อง ด้านเนื้อหาสาระ การจัดตารางเรียนและสอบ และความสอดคล้องกับมาตรฐานผลการเรียนรู้ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาวิชาพระพุทธศาสนา

 

หมวดที่ ๒

ข้อมูลเฉพาะของหลักสูตร

๑. ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

๑.๑. ปรัชญาของหลักสูตร

 ภาควิชาพระพุทธศาสนา คณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีความมุ่งมั่นที่เสริมสร้างความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ให้มีความรอบรู้อย่างกว้างขวาง เข้าใจ และเห็นคุณค่าของตนเอง ผู้อื่น สังคม ศิลปวัฒนธรรมและธรรมชาติ ใส่ใจต่อความเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่ง พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ดำเนินชีวิตอย่างมีคุณธรรม พร้อมให้ความช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ และเป็นพลเมืองที่มีคุณค่าของสังคมไทยและสังคมโลก เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความรู้  ความเข้าใจ        และมีความสามารถด้านพระพุทธศาสนาทั้งด้านวิชาการและภาคปฏิบัติ มีหลักวิชาการที่นิสิตสามารถศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้านอื่น ๆ  ตามหลักการศึกษาสมัยใหม่อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถประยุกต์ใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาในการแก้ปัญหาชีวิตและพัฒนาสังคมประเทศชาติได้เป็นอย่างดีและมีประสิทธิภาพ

๑.๒ ความสำคัญของหลักสูตร

          มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทร           มหาจุฬาลงกรณ์พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ได้ทรงสถาปนาขึ้นเพื่อเป็นสถานศึกษาพระไตรปิฎกและวิชาชั้นสูง สำหรับพระภิกษุสามเณรและคฤหัสถ์ทั่วไป มหาวิทยาลัย มีปณิธานอันมั่งคงในการที่จะเป็นศูนย์รวมแห่งวิทยาการด้านต่างๆ     ที่มีคุณค่าต่อมวลมนุษย์ มุ่งมั่นในการทำหน้าที่ให้การศึกษา ค้นคว้า วิจัย แสวงหาความรู้ เกี่ยวกับวิชาการทางพระพุทธศาสนาและสามารถเล่าเรียนวิชาการทางด้านการประยุกต์ใช้กับศาสตร์สาขาต่างๆ ตอบสนองความต้องการของสังคม อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาวิชาการของมหาวิทยาลัยและพระพุทธศาสนา เพื่อนำไปสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการและความเป็นสากล อีกทั้งจะทำหน้าที่เป็นแหล่งให้บริการความรู้เกี่ยวกับกับวิชาการทางพระพุทธศาสนา ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ อันจะก่อให้เกิดการพัฒนามวลมนุษย์ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

๑.๓ วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

     ๑.๓.๑  เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความรอบรู้และเชี่ยวชาญในพระพุทธศาสนา สามารถวิเคราะห์ วิพากษ์    และวิจัยวิชาการด้านพระพระพุทธศาสนาได้อย่างแตกฉาน

๑.๓.๒  เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีคุณธรรมและจริยธรรม เป็นผู้นำสังคมไทยและสังคมโลก ด้านจิตใจและปัญญา             

๑.๓.๓  เพื่อผลิตบัณฑิตให้สามารถนำพุทธธรรมไปประยุกต์ใช้ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาและพัฒนาชีวิตในระดับชาติและนานาชาติ

 

 

. แผนพัฒนาปรับปรุง

             คาดว่าจะดำเนินการให้แล้วเสร็จครบถ้วนในรอบการศึกษา (๕ ปี)

แผนการพัฒนา/เปลี่ยนแปลง

กลยุทธ์

หลักฐาน/ตัวบ่งชี้

๑.    แผนการพัฒนาการเรียนการสอนที่เน้นความเป็นเลิศทางด้านพระพุทธศาสนา

๑.    เพิ่มพูนทักษะอาจารย์ในการสอนที่เน้นความเป็นเลิศติดตามประเมินหลักสูตรอย่างสม่ำเสมอ

๒.    ส่งเสริมการทำวิจัยและการบริการแก่สังคม

๓.    ใช้ชุมชนเป็นฐานในการจัดการเรียนการสอน

๑.    ผลการประเมินของผู้เรียนต่อประสิทธิภาพการสอน

๒.    จำนวนงานวิจัยและโครงงานบริการวิชาการ

๓.    ความพึงพอใจของบุคลากรที่เกี่ยวข้อง

๒.      แผนการพัฒนาเรื่องการ บูรณาการการสร้างเสริมความรู้ทางด้านพระพุทธศาสนา

๑.   บูรณาการ/เพิ่มเนื้อหาเรื่องการประยุกต์พุทธรรมไปใช้ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาและพัฒนาชีวิต

๒.   ส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านโครงงาน/กิจกรรม

๓.   พัฒนานวัตกรรมและสื่อที่ใช้ในการสอน

๑.   จำนวนรายวิชาที่บูรณาการ/เพิ่มเนื้อหาเฉพาะสาขาพระพุทธศาสนา

๒.   จำนวนโครงงาน/กิจกรรมที่เน้นด้านพระพุทธศาสนา      

๓.   จำนวนนวัตกรรมและสื่อที่ใช้ในการสอนเรื่องพระพุทธศานนา

๓.      แผนการส่งเสริมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

๑.      เพิ่มพูนทักษะอาจารย์ในการส่งเสริมผู้เรียนเป็นสำคัญในการเรียนรู้

๒.      พัฒนา/ปรับปรุงระบบอาจารย์ที่ปรึกษาและกิจกรรมให้สะท้อนความเอื้ออาทรและให้ความสำคัญต่อผู้เรียน

๓.      พัฒนาระบบสารสนเทศที่สนับสนุนการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง

๔.      ส่งเสริมการประเมินที่เน้นพัฒนาทักษะผู้เรียน

๑.      ผลการประเมินประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

๒.      ความพึงพอใจของผู้เรียนต่อระบบอาจารย์ที่ปรึกษาและกิจกรรมเสริมหลักสูตรของคณะ

๓.      ความพึงพอใจของผู้เรียนต่อระบบสารสนเทศที่สนับสนุนการเรียนรู้ด้วยตนเอง

๔.      จำนวนรายวิชาที่ใช้การประเมินผลที่เน้นพัฒนาการของผู้เรียน

๕.      ผลการประเมินการมีส่วนร่วมของผู้เรียนในการจัดการเรียนการสอน กิจกรรมทางวิชาการ และกิจกรรมอื่น ๆ ของคณะ

 

 

 

หมวดที่

ระบบการจัดการศึกษา การดำเนินการ และโครงสร้างของหลักสูตรระบบการจัดการศึกษา

 

๑. ระบบการจัดการศึกษา

๑.๑ ระบบ

การจัดการศึกษาเป็นแบบทวิภาค โดย  ๑  ปีการศึกษาแบ่งออกเป็น  ๒  ภาคการศึกษา  หนึ่งภาคการศึกษาปกติ  มีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า  ๑๕  สัปดาห์  การศึกษาภาคฤดูร้อนกำหนดให้มีระยะเวลาและจำนวนหน่วยกิต เทียบเคียงกันได้กับการศึกษาภาคปกติ  ทั้งนี้ข้อกำหนดต่าง ๆ  ให้เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี (ตามเอกสารในภาคผนวก)

๑.๒ การจัดการศึกษาภาคฤดูร้อน                                                                                                          

       มีการจัดการเรียนการสอนภาคฤดูร้อน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของคณะกรรมการประจำหลักสูตร

๑.๓ การเทียบเคียงหน่วยกิตในระบบทวิภาค

                  – ไม่มี

 

๒. การดำเนินการหลักสูตร

.๑ วัน – เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน

        ภาคการศึกษาที่ ๑           เดือนมิถุนายน     – ตุลาคม 

        ภาคการศึกษาที่ ๒           เดือนพฤศจิกายน – มีนาคม

        ภาคฤดูร้อน                  เดือนเมษายน     –  พฤษภาคม

         ๒.๒. การเปิดโอกาสให้ผู้เข้าศึกษา

                – เฉพาะแบบศึกษาเต็มเวลา

         ๒.๓. คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

 ๒.๓.๑ คุณสมบัติของผู้สมัครเข้าศึกษาที่เป็นพระภิกษุ สามเณร

                             ๑)  ต้องสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่า

                             ๒)  ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ว่าด้วยการศึกษาระดับ

                                    ปริญญาตรี พ.ศ. ๒๕๔๒, (ฉบับที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๕๐, (ฉบับที่ ๓) แก้ไขเพิ่มเติม

                                    พ.ศ. ๒๕๕๑

                               ๓) หรือ ต้องผ่านการคัดเลือกตามเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

                                   กำหนด                                   

 ๒.๓.๒ คุณสมบัติของผู้สมัครเข้าศึกษาที่เป็นคฤหัสถ์

            (๑)  ต้องสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่า

           (๒)  ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ว่าด้วยการศึกษา

                  ระดับปริญญาตรี พ.ศ.๒๕๔๒, (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐, (ฉบับที่ ๓) แก้ไข เพิ่มเติม  

                  พ.ศ.๒๕๕๑          

           (๓)  หรือ ต้องผ่านการคัดเลือกตามเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

                   กำหนด

๒.๔ ปัญหาของนิสิตแรกเข้า

             นิสิตที่สมัครเข้าเรียนในหลักสูตรอาจจะมีพื้นฐานการเรียนรู้ด้านพระพุทธศาสนาไม่เพียงพอ รวมทั้งทักษะและความสามารถการใช้ภาษาไทยของนิสิตชาวต่างประเทศอาจจะไม่เพียงพอ เนื่องจากตำรา เอกสารและข้อสอบเป็นภาษาไทย สำหรับนิสิตที่เรียนภาคภาษาอังกฤษ อาจจะมีทักษะและความสามารถการใช้ภาษาอังกฤษไม่เพียงพอ

.๕ กลยุทธ์ในการดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหา / ข้อจำกัดของนักศึกษาในข้อ ๒.๔

มีการจัดหลักสูตรเรียนปรับวิชาพื้นฐานด้านพระพุทธศาสนาให้กับนิสิตที่เข้าเรียนในหลักสูตร สำหรับนิสิตชาวต่างประเทศที่เข้ามาศึกษาเพื่อเสริมทักษะในภาคภาษาไทย และสำหรับนิสิตที่เข้าศึกษาในหลักสูตรภาคภาษาอังกฤษ

.๖ แผนการรับนิสิตและผู้สำเร็จการศึกษาในระยะ ๕ ปี

           ๒.๖.๑  วิทยาลัยสงฆ์นครพนม    มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

จำนวนนิสิต

จำนวนนักศึกษาแต่ละปีการศึกษา

๒๕๕๖๐

๒๕๖๑

๒๕๖๒

๒๕๖๓

๒๕๖๔

ปีที่ ๑

๓๐

๓๐

๓๐

๓๐

๓๐

ปีที่ ๒

 

๓๐

๓๐

๓๐

๓๐

ปีที่ ๓

 

 

๓๐

๓๐

๓๐

ปีที่ ๔

 

 

 

๓๐

๓๐

รวม

๓๐

๖๐

๙๐

๑๒๐

๑๒๐

คาดว่าจะจบการศึกษา

๓๐

๖๐

๙๐

๑๒๐

๑๒๐

         

 

.๗ งบประมาณตามแผน

๒.๗.๑  งบประมาณรายรับ  

                   ๑)  จากงบประมาณของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

                   ๒)  จากการเก็บค่าธรรมเนียมการศึกษา     

                   ๓)  จากการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร                          

        ๔)  จากการบริจาค       

 

        ๒.๗.๒  งบประมาณรายจ่าย (เฉพาะส่วนกลาง)

 

หมวดเงิน

ประมาณการงบประมาณรายจ่ายประจำปี

หมายเหตุ

๒๕๖๐

๒๕๖๑

๒๕๖๒

๒๕๖๓

๒๕๖๔

 

ค่าตอบแทน

๙๐๐,๐๐๐

๑,๕๐๐,๐๐๐

๒,๐๐๐,๐๐๐

๒,๕๐๐,๐๐๐

๓,๐๐๐,๐๐๐

 

ค่าใช้สอย

๕๐,๐๐๐

๖๐,๐๐๐

๗๐,๐๐๐

๘๐,๐๐๐

๙๐,๐๐๐

 

ค่าวัสดุ

๑๐๐,๐๐๐

๑๐๐,๐๐๐

๑๐๐,๐๐๐

๑๐๐,๐๐๐

๑๐๐,๐๐๐

 

ค่าครุภัณฑ์

๑๐๐,๐๐๐

๑๐๐,๐๐๐

๑๐๐,๐๐๐

๑๐๐,๐๐๐

๑๐๐,๐๐๐

 

รวมค่าดำเนินการ

๑,๑๕๐,๐๐๐

๑,๗๖๐,๐๐๐

๒,๒๗๐,๐๐๐

๒,๗๘๐,๐๐๐

๓,๒๙๐,๐๐๐

๑๑,๒๕๐,๐๐๐

ค่าที่ดิน

ค่าสิ่งก่อสร้าง

รวมงบลงทุน

รวมทั้งสิ้น

๑,๑๕๐,๐๐๐

๑,๗๖๐,๐๐๐

๒,๒๗๐,๐๐๐

๒,๗๘๐,๐๐๐

๓,๗๘๐,๐๐๐

๑๑,๒๕๐,๐๐๐

 

 

.๘ ระบบการศึกษา

             ระบบการศึกษาเป็นแบบชั้นเรียน

.๙ การเทียบโอนหน่วยกิต รายวิชาและการลงทะเบียนเรียนข้ามสถาบันอุดมศึกษา

          นิสิตที่เคยศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาอื่นมาก่อน เมื่อเข้าศึกษาในหลักสูตรนี้ สามารถเทียบโอนหน่วยกิตได้ ทั้งนี้เป็นไปตามข้อบังคับที่มหาวิทยาลัยกำหนด โดยให้เป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ว่าด้วยการโอนและการเทียบโอนผลการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ.๒๕๔๗ ระเบียบมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ว่าด้วยการโอนและการเทียบโอนผลการศึกษาระดับปริญญาตรี (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และประกาศมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เรื่อง หลักเกณฑ์การโอนและการเทียบโอนผลการศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๑

๒.๑๐ หลักสูตรและอาจารย์ผู้สอน

     ๒.๑๐.๑. หลักสูตร

         ๒.๑๐.๑.๑. จำนวนหน่วยกิต                                   รวมตลอดหลักสูตร ๑๔๐ หน่วยกิต

          ๒.๑๐.๑.๒. โครงสร้างหลักสูตร

                       โครงสร้างหลักสูตร แบ่งเป็นหมวดวิชาที่สอดคล้องกับประกาศกระทรวงสึกษาธิการ เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. ๒๕๕๘  ดังนี้

            ๑) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป                              ๓๐      หน่วยกิต

                 ๑.๑ วิชาบังคับ                                        ๑๘      หน่วยกิต

                 ๑.๒ วิชาเลือก                                       ๑๒      หน่วยกิต

            ๒) หมวดวิชาเฉพาะ                                    ๑๐๔   หน่วยกิต

                 ๒.๑ วิชากลุ่มพระพุทธศาสนา                       ๓๐      หน่วยกิต

                 ๒.๒ วิชาแกนพระพุทธศาสนา                      ๓๓      หน่วยกิต

                ๒.๓ วิชาเฉพาะด้านพระพุทธศาสนา                ๓๒     หน่วยกิต

                                    ๒.๔ วิชาเลือกเฉพาะสาขาพระพุทธศาสนา          ๙      หน่วยกิต

            ๓) หมวดวิชาเลือกเสรี                                  ๖      หน่วยกิต

                                        รวม                                            ๑๔๐    หน่วยกิต

          ๒.๑๐.๑.๓  รายวิชา

๑) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป

หมวดวิชาศึกษาทั่วไป แบ่งเป็นวิชาบังคับ ๑๘ หน่วยกิต ซึ่งนิสิตหลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา คณะพุทธศาสตร์ ต้องศึกษาให้ครบทุกรายวิชา และวิชาเลือกอีก ๑๒ หน่วยกิต  รวมเป็น  ๓๐ หน่วยกิต

หมวดวิชาศึกษาทั่วไป          จำนวน                                ๓๐      หน่วยกิต

                  (๑) วิชาบังคับ              จำนวน                                 ๑๘       หน่วยกิต

              (๒) วิชาเลือก              จำนวน                                   ๑๒      หน่วยกิต

๑. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป  จำนวน  ๓๐  หน่วยกิต

              วิชาบังคับ  จำนวน   ๑๘  หน่วยกิต

๐๐๐ ๑๐๑       มนุษย์กับสังคม                                ๒(๒-๐-๔)

                             ๐๐๐ ๑๐๒       กฎหมายทั่วไป                                ๒(๒-๐-๔)

                             ๐๐๐ ๑๐๗       เทคนิคการศึกษาระดับอุดมศึกษา*           (๒)(๒-๐-๔)

                             ๐๐๐ ๑๐๘       ปรัชญาเบื้องต้น                               ๒(๒-๐-๔)

                             ๐๐๐ ๑๐๙       ศาสนาทั่วไป                                  ๒(๒-๐-๔)

                            ๐๐๐ ๑๑๔       ภาษากับการสื่อสาร                           ๒(๒-๐-๔)

                             ๐๐๐ ๑๑๕       ภาษาศาสตร์เบื้องต้น                          ๒(๒-๐-๔)

                             ๐๐๐ ๑๓๙       คณิตศาสตร์เบื้องต้น                           ๒(๒-๐-๔)

                             ๐๐๐ ๒๑๐       ตรรกศาสตร์เบื้องต้น                          ๒(๒-๐-๔)

                             ๐๐๐ ๒๓๘       สถิติเบื้องต้นและการวิจัย                     ๒(๒-๐-๔)

                             หมายเหตุ  : * วิชาไม่นับหน่วยกิต

วิชาเลือก   จำนวน  ๑๒  หน่วยกิต

                               ๐๐๐ ๑๐๓       การเมืองกับการปกครองของไทย             ๒(๒-๐-๔)

                             ๐๐๐ ๑๐๔       เศรษฐศาสตร์ในชีวิตประจำวัน               ๒(๒-๐-๔)

                             ๐๐๐ ๑๐๕       มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม                          ๒(๒-๐-๔)

                             ๐๐๐ ๑๐๖       เหตุการณ์โลกปัจจุบัน                         ๒(๒-๐-๔)

                             ๐๐๐ ๑๑๖       ภาษาอังกฤษเบื้องต้น                         ๒(๒-๐-๔)

                             ๐๐๐ ๑๑๗       ภาษาอังกฤษชั้นสูง                            ๒(๒-๐-๔)

                             ๐๐๐ ๑๑๘       ภาษาสันสกฤตเบื้องต้น                       ๒(๒-๐-๔)

                             ๐๐๐ ๑๑๙       ภาษาสันสกฤตชั้นสูง                          ๒(๒-๐-๔)

                             ๐๐๐ ๑๒๐       ภาษาไทยเบื้องต้น                             ๒(๒-๐-๔)

                             ๐๐๐ ๑๒๑       ภาษาไทยชั้นสูง                               ๒(๒-๐-๔)

                             ๐๐๐ ๑๒๘       ภาษาจีนเบื้องต้น                              ๒(๒-๐-๔)

                             ๐๐๐ ๑๒๙       ภาษาจีนชั้นสูง                                ๒(๒-๐-๔)

                             ๐๐๐ ๑๓๐       ภาษาญี่ปุ่นเบื้องต้น                           ๒(๒-๐-๔)

                             ๐๐๐ ๑๓๑       ภาษาญี่ปุ่นชั้นสูง                             ๒(๒-๐-๔)

                             ๐๐๐ ๑๓๕       ภาษาฮินดีเบื้องต้น                            ๒(๒-๐-๔)

                             ๐๐๐ ๑๓๖       ภาษาฮินดีชั้นสูง                              ๒(๒-๐-๔)

                             ๐๐๐ ๒๑๑       วัฒนธรรมไทย                                ๒(๒-๐-๔)

                             ๐๐๐ ๒๑๒       มนุษย์กับอารยธรรม                          ๒(๒-๐-๔)

๐๐๐ ๒๑๓       ชีวิตกับจิตวิทยา                              ๒(๒-๐-๔)

                             ๐๐๐ ๒๔๑       วิทยาศาสตร์กายภาพและประยุกตวิทยา    ๒(๒-๐-๔)

                             ๐๐๐ ๒๔๒       พื้นฐานคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ๒(๒-๐-๔)

                             ๐๐๐ ๒๖๔       สันติศึกษา                                    ๒(๒-๐-๔)

                             ๐๐๐ ๒๖๕       ภาวะผู้นำ                                     ๒(๒-๐-๔)

                             ๐๐๐ ๒๖๖       หลักธรรมาภิบาล                             ๒(๒-๐-๔)

๒)  หมวดวิชาเฉพาะ  ๑๐๔  หน่วยกิต

๒.๑ วิชากลุ่มพระพุทธศาสนา  จำนวน  ๓๐  หน่วยกิต 

               นิสิตหลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา คณะพุทธศาสตร์ ต้องศึกษาวิชากลุ่มพระพุทธศาสนา  จำนวน  ๓๐  หน่วยกิต  ประกอบด้วยกลุ่มวิชาภาษาบาลีและพระพุทธศาสนา  ๑๔  หน่วยกิต  กลุ่มวิชาพระพุทธศาสนาทั่วไป  ๑๒  หน่วยกิต และกลุ่มวิชาวิปัสสนาธุระ  ๔  หน่วยกิต 

           ก. กลุ่มวิชาภาษาบาลีและพุทธศาสนา  ๑๔  หน่วยกิต

                             ๐๐๐ ๑๔๔       วรรณคดีบาลี                                  ๒(๒-๐-๔)

                             ๐๐๐ ๑๔๕       บาลีไวยากรณ์                                 ๒(๒-๐-๔)

                             ๐๐๐ ๑๔๖       แต่งแปลบาลี                                  ๒(๒-๐-๔)

                       ๐๐๐ ๑๔๗       พระไตรปิฎกศึกษา                            ๒(๒-๐-๔)

                              ๐๐๐ ๑๔๘       พระวินัยปิฎก                                 ๒(๒-๐-๔)

                              ๐๐๐ ๑๔๙       พระสุตตันตปิฎก                             ๒(๒-๐-๔)

                              ๐๐๐ ๑๕๐       พระอภิธรรมปิฎก                              ๒(๒-๐-๔)

        ข. กลุ่มวิชาพระพุทธศาสนาทั่วไป  ๑๒  หน่วยกิต

                              ๐๐๐ ๑๕๘       ประวัติพระพุทธศาสนา                      ๒(๒-๐-๔)

                              ๐๐๐ ๒๕๙       เทศกาลและพิธีกรรมพระพุทธศาสนา        ๒(๒-๐-๔)

                              ๐๐๐ ๒๖๐       การปกครองคณะสงฆ์ไทย                     ๒(๒-๐-๔)

                              ๐๐๐ ๒๖๑       ธรรมะภาคภาษาอังกฤษ                      ๒(๒-๐-๔)

                              ๐๐๐ ๒๖๒       ธรรมนิเทศ                                    ๒(๒-๐-๔)

                              ๐๐๐ ๒๖๓       งานวิจัยและวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา  ๒(๒-๐-๔)

                   ค. กลุ่มวิชาวิปัสสนาธุระ  ๔   หน่วยกิต

                             ๐๐๐ ๑๕๑       ธรรมะภาคปฏิบัติ ๑*                         (๒)(๑-๒-๔)

                              ๐๐๐ ๑๕๒       ธรรมะภาคปฏิบัติ ๒                         ๑(๑-๒-๔)

                              ๐๐๐ ๒๕๓       ธรรมะภาคปฏิบัติ ๓*                         (๒)(๑-๒-๔)

                              ๐๐๐ ๒๕๔       ธรรมะภาคปฏิบัติ ๔                          ๑(๑-๒-๔)

๐๐๐ ๓๕๕       ธรรมะภาคปฏิบัติ ๕*                         (๒)(๑-๒-๔)

                              ๐๐๐ ๓๕๖       ธรรมะภาคปฏิบัติ ๖                          ๑(๑-๒-๔)

                              ๐๐๐ ๔๕๗       ธรรมะภาคปฏิบัติ ๗                          ๑(๑-๒-๔)

หมายเหตุ  : *วิชาไม่นับหน่วยกิต

๒.๒.  วิชาแกนพระพุทธศาสนา      ๓๓        หน่วยกิต

                             ๑๐๑ ๓๐๖   หลักพุทธธรรม                                    ๓(๓-๐-๖)

                             ๑๐๑ ๓๐๗   พุทธปรัชญาเถรวาท                               ๓(๓-๐-๖)

                             ๑๐๑ ๓๐๘   ธรรมบทศึกษา                                    ๓(๓-๐-๖)

                             ๑๐๑ ๓๐๙   วิสุทธิมัคคศึกษา                                  ๓(๓-๐-๖)

                             ๑๐๑ ๓๑๐   นิเทศศาสตร์ในพระไตรปิฎก                     ๓(๓-๐-๖)

                             ๑๐๑ ๓๑๑   พระพุทธศาสนามหายาน                          ๓(๓-๐-๖)

                             ๑๐๑ ๔๑๓   พุทธศิลปะ                                         ๓(๓-๐-๖)

                             ๑๐๑ ๔๑๔   ธรรมะภาคภาษาอังกฤษชั้นสูง                    ๓(๓-๐-๖)

                             ๑๐๑ ๔๑๕   จิตวิทยาในพระไตรปิฎก                          ๓(๓-๐-๖)

                             ๑๐๑ ๔๑๖   ศึกษาอิสระทางพระพุทธศาสนา                 ๓(๐-๖-๖)

                              ๑๐๑ ๔๑๗   สัมมนาพระพุทธศาสนา                            ๓(๓-๐-๖)

             ๒.๓ วิชาเฉพาะด้านพระพุทธศาสนา     ๓๒  หน่วยกิต        

                             ๑๐๑ ๓๐๑  พระพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์                  ๒(๒-๐-๔)

                             ๑๐๑ ๓๐๒  พระพุทธศาสนากับสังคมสงเคราะห์              ๒(๒-๐-๔)

                              ๑๐๑ ๓๑๙  ศึกษาศาสตร์ในพระไตรปิฎก                       ๒(๒-๐-๔)

                              ๑๐๑ ๓๒๑   ชาดกศึกษา                                         ๒(๒-๐-๔)

          

                             

                             ๑๐๑ ๓๒๒  พระพุทธศาสนากับภูมิปัญญาไทย                ๒(๒-๐-๔)

                             ๑๐๑  ๓๒๓   พระพุทธศาสนาในโลกปัจจุบัน                 ๒(๒-๐-๔)

                            ๑๐๑  ๓๒๔   ชีวิตและผลงานของปราชญ์ทางพระพุทธศาสนา   ๒(๒-๐-๔)

                             ๑๐๑  ๔๐๓   พระพุทธศาสนากับนิเวศวิทยา                  ๒(๒-๐-๔)        

                              ๑๐๑  ๔๐๔   ธรรมประยุกต์                                   ๒(๒-๐-๔)

                              ๑๐๑  ๔๐๕   พระพุทธศาสนากับเศรษฐศาสตร์               ๒(๒-๐-๔)

                             ๑๐๑   ๔๒๗  รัฐศาสตร์ในพระไตรปิฎก                       ๒(๒-๐-๔)

                             ๑๐๑ ๔๓๐  พระพุทธศาสนากับสิทธิมนุษยชน                  ๒(๒-๐-๔)

                             ๑๐๑ ๔๓๑   พระพุทธศาสนากับการพัฒนาที่ยั่งยืน            ๒(๒-๐-๔)

                             ๑๐๑ ๔๓๒   มังคลัตถทีปนีศึกษา                                  ๒(๒-๐-๔)

                             ๑๐๑ ๔๓๗   พระพุทธศาสนากับสาธารณสุข                    ๒(๒-๐-๔)

                            ๑๐๑  ๔๓๘   มิลินทปัญหาศึกษา                                ๒(๒-๐-๔)

            ๒.๔ วิชาเลือกเฉพาะสาขาพระพุทธศาสนา   ๙   หน่วยกิต

                           ๑๐๑ ๓๑๘   เปรียบเทียบเถรวาทกับมหายาน                   ๓(๓-๐-๖)

                           ๑๐๑ ๓๒๐   อักษรจารึกพระไตรปิฎก                             ๓(๓-๐-๖)

                           ๑๐๑ ๔๒๙    พระพุทธศาสนากับสันติภาพ                       ๓(๓-๐-๖)

           ๓. หมวดวิชาเลือกเสรี   ๖    หน่วยกิต

               นิสิตหลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา คณะพุทธศาสตร์ ต้องเลือกศึกษารายวิชาต่าง ๆ ที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  เป็นวิชาเลือกเสรี  จำนวนไม่น้อยกว่า  ๖  หน่วยกิต โดยความเห็นชอบของอาจารย์ที่ปรึกษา

๓.๑.๔  แสดงแผนการศึกษา สาขาวิชาพระพุทธศาสนา

ชั้นปีที่  ๑

ชั้นปีที่  ๑  ภาคการศึกษาที่ ๑

รหัสวิชา

รายวิชา

หน่วยกิต

 

หมวดวิชาศึกษาทั่วไป (บังคับ)

 

๐๐๐ ๑๐๗

เทคนิคการศึกษาระดับอุดมศึกษา*

(๒)

๐๐๐ ๑๐๘

ปรัชญาเบื้องต้น

๐๐๐ ๑๑๕

๐๐๐ ๑๓๙ 

ภาษาศาสตร์เบื้องต้น

คณิตศาสตร์เบื้องต้น                

หมวดวิชาศึกษาทั่วไป (เลือก)

๐๐๐ ๑๑๖

ภาษาอังกฤษเบื้องต้น

 

วิชากลุ่มพระพุทธศาสนา

 

๐๐๐ ๑๕๘

ประวัติพระพุทธศาสนา

๐๐๐ ๑๔๗

พระไตรปิฎกศึกษา

๐๐๐ ๑๕๑

ธรรมะภาคปฏิบัติ ๑*

(๒)

 

รวม

๑๒

หมายเหตุ :  * วิชาไม่นับหน่วยกิต

 

      

ชั้นปีที่  ๑

ชั้นปีที่  ๑  ภาคการศึกษาที่ ๒

รหัสวิชา

รายวิชา

หน่วยกิต

 

หมวดวิชาศึกษาทั่วไป (บังคับ)

 

๐๐๐ ๑๐๙

ศาสนาทั่วไป

๐๐๐ ๒๑๐

ตรรกศาสตร์เบื้องต้น

หมวดวิชาศึกษาทั่วไป (เลือก)

๐๐๐ ๑๑๗

ภาษาอังกฤษชั้นสูง

 

วิชากลุ่มพระพุทธศาสนา

 

๐๐๐ ๑๔๘

พระวินัยปิฎก

๐๐๐ ๑๔๙

พระสุตตันตปิฎก

๐๐๐ ๑๕๒

ธรรมะภาคปฏิบัติ ๒

๐๐๐ ๒๕๙

เทศกาลและพิธีกรรมพระพุทธศาสนา

๐๐๐ ๒๖๒

ธรรมนิเทศ

 

รวม

๑๕

หมายเหตุ :   * วิชาไม่นับหน่วยกิต

 

ชั้นปีที่  ๒

ชั้นปีที่  ๒  ภาคการศึกษาที่ ๑

รหัสวิชา

รายวิชา

หน่วยกิต

 

หมวดวิชาศึกษาทั่วไป (บังคับ)

 

๐๐๐ ๑๐๒

กฎหมายทั่วไป

หมวดวิชาศึกษาทั่วไป (เลือก)

๐๐๐  ๑๑๘

ภาษาสันสกฤตเบื้องต้น

 

วิชากลุ่มพระพุทธศาสนา

 

๐๐๐ ๑๔๔

วรรณคดีบาลี

๐๐๐ ๒๖๐

การปกครองคณะสงฆ์ไทย

๐๐๐ ๒๕๓

ธรรมะภาคปฏิบัติ ๓*

(๒)

๐๐๐ ๒๖๑

ธรรมะภาคภาษาอังกฤษ

๐๐๐ ๒๖๓

งานวิจัยและวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา

 

 

 

 

รวม

๑๒

          หมายเหตุ : * วิชาไม่นับหน่วยกิต

 

 

 

ชั้นปีที่  ๒

ชั้นปีที่  ๒  ภาคการศึกษาที่ ๒

รหัสวิชา

รายวิชา

หน่วยกิต

 

๐๐๐ ๑๐๑

๐๐๐ ๑๑๔

๐๐๐ ๒๓๘

 

หมวดวิชาศึกษาทั่วไป (บังคับ)

มนุษย์กับสังคม  

ภาษากับการสื่อสาร

สถิติเบื้องต้นและการวิจัย

หมวดวิชาศึกษาทั่วไป (เลือก)

 

๐๐๐ ๑๑๙

ภาษาสันสกฤตชั้นสูง

๐๐๐ ๒๑๑

วัฒนธรรมไทย

๐๐๐  ๒๔๒

พื้นฐานคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ

 

วิชากลุ่มพระพุทธศาสนา

 

๐๐๐ ๑๔๕

บาลีไวยากรณ์

๐๐๐ ๑๔๖

แต่งแปลบาลี

๐๐๐ ๒๕๐

พระอภิธรรมปิฎก

๐๐๐ ๒๕๔

ธรรมะภาคปฏิบัติ ๔

 

รวม

๑๙

ชั้นปีที่  ๓

ภาคการศึกษาที่  ๑

รหัสวิชา

รายวิชา

หน่วยกิต

 

. วิชากลุ่มพระพุทธศาสนา

 

๐๐๐ ๓๕๕

ธรรมะภาคปฏิบัติ ๕*

(๒)

 

. วิชาแกนพระพุทธศาสนา

 

๑๐๑  ๓๐๖

๑๐๑  ๓๐๗
๑๐๑  ๓๐๘

หลักพุทธธรรม  

พุทธปรัชญาเถรวาท

ธรรมบทศึกษา                           

 

๑๐๑ ๓๒๑

๑๐๑  ๓๐๑

๑๐๑  ๓๐๒
๑๐๑ ๓๑๙

 

๑๐๑ ๓๑๘

 

xxx xxx

. วิชาเฉพาะด้านพระพุทธศาสนา

ชาดกศึกษา

พระพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์

พระพุทธศาสนากับสังคมสงเคราะห์

ศึกษาศาสตร์ในพระไตรปิฎก                         

. วิชาเลือกเฉพาะสาขาพระพุทธศาสนา

เปรียบเทียบเถรวาทกับมหายาน

จ. วิชาเลือกเสรี

เลือกวิชาที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัย

 

 

 

             

รวม

๒๒

ชั้นปีที่  ๓

ภาคการศึกษาที่  ๒

รหัสวิชา

รายวิชา

หน่วยกิต

 

๐๐๐ ๓๕๖

 

๑๐๑ ๓๐๙

๑๐๑ ๓๑๐

๑๐๑ ๓๑๑

 

๑๐๑ ๓๒๒

๑๐๑ ๓๒๓

๑๐๑ ๓๒๔

 

๑๐๑ ๓๒๐

 

xxx xxx

. วิชากลุ่มพระพุทธศาสนา

ธรรมะภาคปฏิบัติ ๖

. วิชาแกนพระพุทธศาสนา

วิสุทธิมัคคศึกษา

นิเทศศาสตร์ในพระไตรปิฎก

พระพุทธศาสนามหายาน

. วิชาเฉพาะด้านพระพุทธศาสนา

พระพุทธศาสนากับภูมิปัญญาไทย

พระพุทธศาสนาในโลกปัจจุบัน

ชีวิตและผลงานของปราชญ์ทางพระพุทธศาสนา

. วิชาเลือกเฉพาะสาขาพระพุทธศาสนา

อักษรจารึกพระไตรปิฎก

จ. วิชาเลือกเสรี

เลือกวิชาที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัย

 

 

 

 

 

 

รวม

๒๑

 

ชั้นปีที่  ๔

ภาคการศึกษาที่  ๑

รหัสวิชา

รายวิชา

หน่วยกิต

 

. วิชากลุ่มพระพุทธศาสนา

 

๐๐๐ ๔๕๗

ธรรมะภาคปฏิบัติ ๗

 

. วิชาแกน

 

๑๐๑ ๔๑๓

๑๐๑ ๔๑๔

พุทธศิลปะ

ธรรมะภาคภาษาอังกฤษชั้นสูง

 

. วิชาเฉพาะด้านพระพุทธศาสนา

 

๑๐๑ ๔๐๓

๑๐๑ ๔๐๔

๑๐๑ ๔๐๕

๑๐๑ ๔๒๗

พระพุทธศาสนากับนิเวศวิทยา

ธรรมประยุกต์

พระพุทธศาสนากับเศรษฐศาสตร์

รัฐศาสตร์ในพระไตรปิฎก

 

. วิชาเลือกเฉพาะสาขาพระพุทธศาสนา

 

๑๐๑ ๔๒๙

พระพุทธศาสนากับสันติภาพ

 

xxx xxx

. วิชาเลือกเลือกเสรี

เลือกวิชาที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัย

 

 

รวม

๒๐


ชั้นปีที่  ๔

ภาคการศึกษาที่  ๒

รหัสวิชา

รายวิชา

หน่วยกิต

 

. วิชาแกน

 

๑๐๑  ๔๑๖

ศึกษาอิสระทางพระพุทธศาสนา

๑๐๑  ๔๑๗

สัมมนาพระพุทธศาสนา

๑๐๑ ๔๑๕

จิตวิทยาในพระไตรปิฎก

 

. วิชาเฉพาะด้าน

 

๑๐๑ ๔๓๐

๑๐๑  ๔๓๑

๑๐๑ ๔๓๒

๑๐๑ ๔๓๗

๑๐๑ ๔๓๘

พระพุทธศาสนากับสิทธิมนุษยชน

พระพุทธศาสนากับการพัฒนาที่ยั่งยืน

มังคลัตถทีปนีศึกษา

พุทธศาสนากับสาธารณสุข

มิลินทปัญหาศึกษา

            

รวม

๑๙

รวมทั้งสิ้น         ๑๔๐     หน่วยกิต

 

๓.๑.๕ คำอธิบายรายวิชา    คำอธิบายรายวิชาในสาขาวิชาพระพุทธศาสนา  ปรากฏตามเอกสารในภาคผนวก ก

.๒ อาจารย์ผู้สอน

      ๓.๒.๑. อาจารย์สอนประจำหลักสูตร

               เป็นไปตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๘

.๒.๒ อาจารย์พิเศษ

         เป็นไปตามที่คณะกรรมการบริหารหลักสูตรพิจารณาเห็นสมควร

 

     

. องค์ประกอบเกี่ยวกับประสบการณ์ภาคสนาม 

          ไม่มี

๕. ข้อกำหนดเกี่ยวกับการทำโครงงานหรืองานวิจัย

ข้อกำหนดในการทำโครงงาน ต้องเป็นหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์พระพุทธศาสนากับศาสตร์สมัยใหม่ โดยต้องมีผลงานออกมาสู่สาธารณะชนและคาดว่าจะนำไปใช้งานหากโครงงานสำเร็จ โดยมีจำนวนผู้ร่วมโครงงาน   ๒-๓ คน   และมีรายงานที่ต้องนำส่งตามรูปแบบและระยะเวลาที่หลักสูตรกำหนด อย่างเคร่งครัด หรือเป็นโครงงานที่มุ่งเน้นการสร้างผลงานวิจัยเพื่อพัฒนางานด้านพระพุทธศาสนา

.๑. คำอธิบายโดยย่อ

   โครงงานภาควิชาพระพุทธศาสนาที่นิสิตสนใจ สามารถอธิบายทฤษฎีที่นำมาใช้ในการทำโครงงาน ประโยชน์ที่จะได้รับจากการทำโครงงาน มีขอบเขตโครงงานที่สามารถทำเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด

๕.๒. มาตรฐานผลการเรียนรู้

   นิสิตสามารถทำงานเป็นทีม มีความเชี่ยวชาญในการใช้เครื่องมือ โปรแกรม ในการทำโครงงาน และโครงงานสามารถเป็นต้นแบบในการพัฒนาต่อได้

๕.๓. ช่วงเวลา

   ภาคการศึกษาที่ ๒ ของปีการศึกษาที่ ๔

.๔. จำนวนหน่วยกิต

   ๓ หน่วยกิต

๕.๕. การเตรียมการ

  มีการกำหนดชั่วโมงการให้คำปรึกษา จัดทำบันทึกการให้คำปรึกษา ให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโครงงานทางเว็บไซต์ และปรับปรุงให้ทันสมัยเสมอ อีกทั้งมีตัวอย่างโครงงานให้ศึกษา

.๖. กระบวนการประเมินผล

๕.๖.๑  ผู้สอนและผู้เรียนกำหนดหัวข้อและเกณฑ์การประเมินผลทวนสอบมาตรฐาน  โดยกำหนดเกณฑ์/มาตรฐานการประเมินผลรายวิชา

๕.๖.๒ ผู้เรียนประเมินผลการเรียนรู้ของตนตามแบบฟอร์ม

๕.๖.๓ ผู้สอนประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนตามแบบฟอร์ม

๕.๖.๔ ผู้สอนและผู้เรียนประเมินผลการเรียนรู้ร่วมกัน

๕.๖.๕ ผู้เรียนนำเสนอผลการศึกษาและรับการประเมินโดยผู้สอนประจำรายวิชา 

            ๕.๖.๖ ผู้สอนเข้าฟังการนำเสนอผลการศึกษาของผู้เรียน

๕.๖.๗ มีการนำคะแนนแต่ละรายวิชาเสนอขอความเห็นจากอาจารย์ประจำวิชา  ผ่านคณะกรรมการหลักสูตรและคณะกรรมการบริหารคณะ

 

หมวดที่ ๔

ผลการเรียนรู้ กลยุทธ์การสอนและการประเมินผล

 

  • การพัฒนาคุณลักษณะพิเศษของนิสิต

คุณลักษณะพิเศษ

กลยุทธ์หรือกิจกรรมของนิสิต

ด้านบุคลิกภาพ

มีการสอดแทรกเรื่อง การสำรวมในสมณภาวะ การครองจีวรหรือการแต่งกาย การเข้าสังคมและศาสนพิธี เทคนิคการเจรจา สื่อสาร การมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี และการวางตัวในการทำงานในบางรายวิชาที่เกี่ยวข้อง และในกิจกรรมปัจฉิมนิเทศ ก่อนที่นิสิตจะสำเร็จการศึกษา

ด้านภาวะผู้นำ และความรับผิดชอบตลอดจนมีวินัยในตนเอง

– กำหนดให้มีรายวิชาซึ่งนิสิตต้องทำงานเป็นกลุ่ม และมีการกำหนดหัวหน้ากลุ่มในการทำรายงานตลอดจน กำหนดให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการนำเสนอรายงาน เพื่อเป็นการฝึกให้นิสิตได้สร้างภาวะผู้นำและการเป็นสมาชิกกลุ่มที่ดี

– มีกิจกรรมนิสิตที่มอบหมายให้นิสิตหมุนเวียนกันเป็นหัวหน้าในการดำเนินกิจกรรม เพื่อฝึกให้นิสิตมีความรับผิดชอบ

– มีกติกาที่จะสร้างวินัยในตนเอง เช่น การเข้าเรียนตรงเวลาเข้าเรียนอย่างสม่ำเสมอการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน เสริมความกล้าในการแสดงความคิดเห็น

จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ

มีการให้ความรู้ถึงแก่นิสิตในการนำเอาความรู้ทางด้านภาษาบาลีสันสกฤตไปใช้ในการทำงานที่จะทำให้นิสิตอยู่ร่วมกับคนอื่นและคนในสังคมได้

 

๒. การพัฒนาผลการเรียนรู้ในแต่ละด้าน 

    ๒.๑. หมวดวิชาศึกษาทั่วไปและวิชากลุ่มพระพุทธศาสนา

         ๑) ด้านคุณธรรม  จริยธรรม

             ผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรม  จริยธรรม

                     (๑) มีศีลธรรม และศรัทธาอุทิศตนเพื่อพระพุทธศาสนา

                   (๒) มีจิตสาธารณะและเสียสละเพื่อส่วนรวม

                   (๓) เคารพสิทธิ  ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์  และรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

                   (๔) เห็นคุณค่าศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น

                   (๕) ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีต่อสังคม ชาติ ศาสนา

             กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม

                   (๑) สอดแทรกเรื่องศีลธรรม ศรัทธา จิตสาธารณะและการเสียสละเพื่อส่วนรวมในการเรียนการสอน

                   (๒) การเป็นต้นแบบที่ดีของผู้สอน

                        (๓)  เรียนรู้จากกรณีตัวอย่างประเด็นปัญหาทางด้านศีลธรรม เพื่อให้ผู้เรียนฝึกการแก้ปัญหา

                      (๔) เรียนรู้จากสถานการณ์จริง และจัดกิจกรรมในชั้นเรียนหรือนอกชั้นเรียน

                 กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม

                    (๑) สังเกตพฤติกรรมของนิสิตในชั้นเรียนหรือนอกชั้นเรียนอย่างต่อเนื่อง

                   (๒) อภิปราย รายงาน การนำเสนอและการตอบคำถาม

                   (๓) พิจารณาจากผลการเข้าร่วมกิจกรรมของนิสิต

                     (๔) นิสิตประเมินตนเอง เพื่อนประเมินเพื่อน

         ๒) ด้านความรู้

             ผลการเรียนรู้ด้านความรู้

                    (๑) มีความรู้  ความเข้าใจหลักการ  ทฤษฎีและเนื้อหา

                   (๒) ใช้ความรู้มาอธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างมีเหตุผล

                   (๓) สามารถนำความรู้มาปรับใช้ในการดำเนินชีวิตได้

                    (๔) มีความรอบรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงทั้งของไทยและของโลก

                     (๕) รู้จักแสวงหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

             กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้ด้านความรู้

                   (๑) สอนแบบบรรยายและใช้โจทย์ปัญหา

                   (๒) สอนโดยใช้กรณีศึกษา

                   (๓) เรียนรู้โดยการปฏิบัติ

                   (๔) เรียนรู้แบบร่วมมือ

                   (๕) ศึกษาดูงาน

             กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านความรู้

                   ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  และการปฏิบัติของผู้เรียนด้านต่างๆ คือ

                     (๑) ทดสอบย่อย

                   (๒) สอบกลางภาคและปลายภาคเรียน

                   (๓) ผลการรายงานหรืองานที่มอบหมาย

                     (๔) นำเสนอผลงาน

         ๓) ด้านทักษะทางปัญญา

             ผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา

                     (๑) สามารถค้นหาข้อมูล ทำความเข้าใจ และประเมินข้อมูลจากหลักฐาน

                   (๒) สามารถวิเคราะห์และสังเคราะห์อย่างเป็นระบบและมีเหตุผล

                     (๓) สามารถประยุกต์ความรู้และทักษะเพื่อแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม

             กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา

                     (๑) สอนแบบบรรยายโดยใช้ภาพประกอบ

                   (๒) สอนโดยใช้กรณีศึกษา

                   (๓) เรียนรู้โดยการปฏิบัติ

                   (๔) เรียนรู้แบบร่วมมือ

                    (๕) ศึกษาดูงาน

             กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา

                    (๑) ทดสอบย่อย

                   (๒) สอบกลางภาคและปลายภาคเรียน

                   (๓) ผลการรายงานหรืองานที่มอบหมาย

                   (๔) นำเสนอผลงาน

         ๔) ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ                

             ผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ

                     (๑) สามารถทำงานเป็นทีม

                   (๒) เป็นสมาชิกที่ดีของกลุ่มทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตาม 

                   (๓) มีมนุษยสัมพันธ์  รู้จักควบคุมอารมณ์และยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล

                     (๔) รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม

             กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และความรับผิดชอบ

                     (๑) มอบหมายงานกลุ่ม                                

                   (๒) สอนจากสภาพจริงที่เกิดขึ้นในชุมชนและสังคม

                   (๓) จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียน

                    (๔) ศึกษาดูงาน

             กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และความรับผิดชอบ

                    (๑) สังเกตพฤติกรรมและการแสดงออกระหว่างการเรียนการสอนและการทำงานร่วมกับเพื่อน

                   (๒) ประเมินผลงานที่ได้รับมอบหมาย

                   (๓) พิจารณาจากผลการเข้าร่วมกิจกรรมของนิสิต

         ๕) ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ           

             ผลการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข  การสื่อสาร  และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

                     (๑) ใช้ทักษะวิเคราะห์เชิงตัวเลขได้

                   (๒) ใช้ภาษาในการติดต่อสื่อความหมายได้ดี ทั้งการฟัง พูด  อ่านและเขียน

                   (๓) ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสม

             กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร  และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

                    (๑) สอนโดยการฝึกปฏิบัติ

                   (๒) มอบหมายงานค้นคว้าความรู้จากแหล่งข้อมูลต่างๆ

                    (๓) นำเสนองานโดยใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ

             กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข  การสื่อสาร  และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

                    (๑) ทดสอบย่อย

                   (๒) สอบกลางภาคและปลายภาคเรียน

                   (๓) ผลการรายงานหรืองานที่มอบหมาย

                    (๔) นำเสนอผลงาน

 

   ๒.๒ หมวดวิชาเฉพาะด้าน

๑) ด้านคุณธรรม จริยธรรม

   ผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม

       (๑) ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ ซื่อสัตย์สุจริต

(๒) มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพและสังคม

(๓) มีภาวะผู้นำและผู้ตาม สามารถทํางานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้

(๔) เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์

(๕) ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีต่อสังคม ชาติ และพระพุทธศาสนา

              กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม

       (๑) มีการสอดแทรกเรื่องคุณธรรม  จริยธรรมในการเรียนการสอน

       (๒) การเป็นต้นแบบที่ดีของผู้สอน

       (๓) เรียนรู้จากกรณีตัวอย่างประเด็นปัญหาทางด้านคุณธรรม จริยธรรม เพื่อให้ผู้เรียนฝึกการแก้ปัญหาการเรียนรู้จากสถานการณ์จริง การจัดกิจกรรมในชั้นเรียนหรือนอกชั้นเรียน

             กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม

     (๑) ประเมินโดยผู้สอนและเพื่อน  สังเกตพฤติกรรมผู้เรียน

     (๒) ประเมินจากผลงาน  และความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย

                  (๓) ประเมินคุณธรรม  จริยธรรมของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาโดยหน่วยงานผู้ใช้บัณฑิต

     

       ๒) ด้านความรู้

ผลการเรียนรู้ด้านความรู้

(๑) มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาสาขาวิชาพระพุทธศาสนา

(๒) สามารถวิเคราะห์ปัญหาทางสังคมโดยใช้แนวคิดทางด้านพระพุทธศาสนารวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะ และการใช้เครื่องมือทางบาลีสันสกฤตที่เหมาะสมกับการแก้ไขปัญหาในสังคม

(๓) สามารถติดตามความก้าวหน้าแนวคิดใหม่ๆทางด้านพระพุทธศาสนา พร้อมทั้งเข้าใจวิธีการนำไปประยุกต์ใช้

(๔) มีความรู้ ความเข้าใจในกระบวนการวิจัยและใช้เป็นเครื่องมือในการแสวงหาวิทยาการใหม่ๆทางด้านพระพุทธศาสนา

(๕) สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาพระพุทธศาสนากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

             กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้ด้านความรู้

                 (๑) สอนแบบบรรยายโดยใช้ภาพประกอบ

                 (๒) สอนโดยใช้กรณีศึกษา

                 (๓) เรียนรู้โดยการปฏิบัติ

                 (๔) เรียนรู้แบบร่วมมือ

        (๕) ศึกษาดูงาน

             กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านความรู้

             ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  และการปฏิบัติของผู้เรียนด้านต่างๆ คือ

(๑) การทดสอบย่อย

(๒) การสอบกลางภาคและปลายภาคเรียน

(๓) ประเมินจากรายงานหรืองานที่มอบหมาย

(๔) ประเมินจากการนำเสนอผลงาน

) ด้านทักษะทางปัญญา

  ผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา

(๑) คิดอย่างมีวิจารณญาณและอย่างเป็นระบบ

(๒) สามารถสืบค้น ตีความ และประเมินสารสนเทศ เพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์

(๓) สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ

(๔) สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ทางบาลีสันสกฤตได้อย่างเหมาะสม

  กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา

(๑) เรียนรู้กรณีศึกษาและร่วมกันอภิปรายกลุ่ม

(๒) รายวิชาปฏิบัติ  ผู้เรียนต้องฝึกปฏิบัติเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้

(๓) มีการศึกษาค้นคว้าในรูปรายงาน  โครงงาน  และนำเสนอ

(๔) ศึกษาดูงาน  เรียนรู้จากสภาพจริงเพื่อให้เกิดประสบการณ์ตรง

 กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา

(๑) การทดสอบย่อย

(๒) การสอบกลางภาค  และปลายภาคเรียน

(๓) ประเมินจากรายงาน  หรืองานที่มอบหมาย

(๔) ประเมินจากการนำเสนอผลงาน

) ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ

ผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ

(๑) สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งในบทบาทของผู้นำ หรือในบทบาทของผู้ร่วมทีมทำงาน

(๒) มีความรับผิดชอบในการกระทำของตนเองและรับผิดชอบงานในกลุ่ม

(๓) สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม

 กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล  และความรับผิดชอบ

(๑) มีการมอบหมายงานให้ผู้เรียนทำงานเป็นกลุ่มเพื่อเรียนรู้ความรับผิดชอบ  และการเป็นสมาชิกที่ดีของกลุ่ม

(๒) กลยุทธ์การสอนที่เน้นการสร้างความสัมพันธ์ที่เอื้อต่อการเรียนรู้  ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียนและผู้เรียนกับผู้สอน

(๓) จัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนเรียนรู้การปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ การจัดการอารมณ์  การมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับบุคลอื่น

 กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และความรับผิดชอบ

(๑) ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกของผู้เรียน  ระหว่างการเรียนการสอน  และการทำงานร่วมกับเพื่อน

(๒) ประเมินจากผลงานของผู้เรียนที่นำเสนอตามที่ได้รับมอบหมาย

) ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

     ผลการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข กสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

(๑) สามารถใช้เทคนิคทางคณิตศาสตร์และสถิติ ในการวิเคราะห์ข้อมูลและแปลความหมายข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ

(๒) สามารถแปลงข้อมูลเป็นข่าวสารที่มีคุณภาพและเหมาะสมต่อการสื่อสารทั้งกับบุคคลและกลุ่มคนในสถานการณ์ที่หลากหลาย

(๓) สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งการพูด การฟัง และการเขียน พร้อมทั้งเลือกใช้รูปแบบของสื่อการนำเสนอได้อย่างเหมาะสม

(๔) สามารถใช้สารสนเทศและเทคโนโลยีสื่อสารอย่างเหมาะสม

    กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร  และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

(๑) จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะการสื่อสารระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน  และบุคคลอื่นในสถานการณ์ที่หลากหลาย

(๒) จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเลือกและใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่หลากหลายรูปแบบ

(๓) จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ใช้การวิเคราะห์ข้อมูล  และการสื่อสารข้อมูลได้อย่างเหมาะสม

    กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข  การสื่อสาร  และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

(๑) ประเมินจากความสามารถในการนำเสนอต่อชั้นเรียนโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ                                                                          หรือคณิตศาสตร์

(๒)  ประเมินจากความสามารถในการสื่อสาร  การอธิบาย  การอภิปรายกรณีศึกษาต่างๆ

(๓)  ประเมินจากผลงานตามกิจกรรมการเรียนการสอนที่ผู้สอนมอบหมาย

. แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสูตรสู่รายวิชา (Curriculum Mapping) (ตามที่ระบุในหมวดที่ ๔ ข้อ ๒)

๓.๑ หมวดวิชาศึกษาทั่วไป และวิชากลุ่มพระพุทธศาสนา

๑) ด้านคุณธรรม จริยธรรม

(๑) มีศีลธรรม และศรัทธาอุทิศตนเพื่อพระพุทธศาสนา

(๒) มีจิตสาธารณะและเสียสละเพื่อส่วนรวม

(๓) เคารพสิทธิ  ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์  และรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

(๔) เห็นคุณค่าศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น

(๕) ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีต่อสังคม ชาติ ศาสนา

๒) ด้านความรู้

(๑) มีความรู้  ความเข้าใจหลักการ  ทฤษฎีและเนื้อหา

(๒) ใช้ความรู้มาอธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างมีเหตุผล

(๓) สามารถนำความรู้มาปรับใช้ในการดำเนินชีวิตได้

(๔) มีความรอบรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงทั้งของไทยและของโลก

(๕) รู้จักแสวงหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

๓) ด้านทักษะทางปัญญา

๑) สามารถค้นหาข้อมูล ทำความเข้าใจ และประเมินข้อมูลจากหลักฐาน

(๒) สามารถวิเคราะห์และสังเคราะห์อย่างเป็นระบบและมีเหตุผล

(๓) สามารถประยุกต์ความรู้และทักษะเพื่อแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม

๔) ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ

ผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ

(๑) สามารถทำงานเป็นทีม

(๒) เป็นสมาชิกที่ดีของกลุ่มทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตาม 

(๓) มีมนุษยสัมพันธ์  รู้จักควบคุมอารมณ์และยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล

(๔) รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม

๕) ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

ผลการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

(๑) ใช้ทักษะวิเคราะห์เชิงตัวเลขได้

(๒) ใช้ภาษาในการติดต่อสื่อความหมายได้ดี ทั้งการฟัง พูด  อ่านและเขียน

(๓) ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสม

๓.๒ หมวดวิชาเฉพาะ

๑) ด้านคุณธรรม จริยธรรม

(๑) ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ ซื่อสัตย์สุจริต

(๒) มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพและสังคม

(๓) มีภาวะผู้นำและผู้ตาม สามารถทํางานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้

(๔) เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์

(๕) ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีต่อสังคม ชาติ และพระพุทธศาสนา

๒) ด้านความรู้

(๑) มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาสาขาวิชาพระพุทธศาสนา

(๒) สามารถวิเคราะห์ปัญหาทางสังคมโดยใช้แนวคิดทางด้านบาลีสันสกฤตรวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะ และการใช้เครื่องมือทางพระพุทธศาสนาที่เหมาะสมกับการแก้ไขปัญหาในสังคม

(๓) สามารถติดตามความก้าวหน้าแนวคิดใหม่ๆทางด้านพระพุทธศาสนา พร้อมทั้งเข้าใจวิธีการนำไปประยุกต์ใช้

 (๔) มีความรู้ ความเข้าใจในกระบวนการวิจัยและใช้เป็นเครื่องมือในการแสวงหาวิทยาการใหม่ๆทางด้านพระพุทธศาสนา

 (๕) สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาพระพุทธศาสนากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

๓) ด้านทักษะทางปัญญา

(๑) คิดอย่างมีวิจารณญาณและอย่างเป็นระบบ

(๒) สามารถสืบค้น ตีความ และประเมินสารสนเทศ เพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์

(๓) สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ

(๔) สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ทางบาลีสันสกฤตได้อย่างเหมาะสม

๔) ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ

 (๑) สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งในบทบาทของผู้นำ หรือในบทบาทของผู้ร่วมทีมทำงาน

 (๒) มีความรับผิดชอบในการกระทำของตนเองและรับผิดชอบงานในกลุ่ม

 (๓) สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม

๕) ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ  

 (๑)  สามารถใช้เทคนิคทางคณิตศาสตร์และสถิติ ในการวิเคราะห์ข้อมูลและแปลความหมายข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ

(๒) สามารถแปลงข้อมูลเป็นข่าวสารที่มีคุณภาพและเหมาะสมต่อการสื่อสารทั้งกับบุคคลและกลุ่มคนในสถานการณ์ที่หลากหลาย

(๓) สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งการพูด การฟัง และการเขียน พร้อมทั้งเลือกใช้รูปแบบของสื่อการนำเสนอได้อย่างเหมาะสม

(๔) สามารถใช้สารสนเทศและเทคโนโลยีสื่อสารอย่างเหมาะสม