รายละเอียดของหลักสูตร
หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ (๔ ปี) หลักสูตร พ.ศ. ๒๕๖๒
ชื่อสถาบันอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
วิทยาเขต/คณะ/ภาควิชา วิทยาลัยสงฆ์นครพนม
๑. รหัสและชื่อหลักสูตร
รหัสหลักสูตร : ๒๕๕๐๑๘๕๑๑๐๔๐๑๖
ภาษาไทย : หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ
ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Education Program in Teaching English
๒. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อเต็ม (ไทย) : ครุศาสตรบัณฑิต (การสอนภาษาอังกฤษ)
ชื่อย่อ (ไทย) : ค.บ. (การสอนภาษาอังกฤษ)
ชื่อเต็ม (อังกฤษ) : Bachelor of Education (Teaching English)
ชื่อย่อ (อังกฤษ) : B.Ed. (Teaching English)
๓. วิชาเอกหรือความเชี่ยวชาญเฉพาะของหลักสูตร
เป็นหลักสูตรที่มุ่งสร้างความรู้ความเข้าใจในหลักภาษาและทักษะในการสอนภาษาอังกฤษซึ่งเป็นภาษาสากล โดยจัดการเรียนการสอนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ และวิชาชีพเพื่อการสื่อสารทำงานร่วมกับคนอื่น และถ่ายทอดวิชาชีพอย่างมีประสิทธิภาพ
๔. จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
จำนวน ๑๕๖ หน่วยกิต
๕. รูปแบบของหลักสูตร
๕.๑ รูปแบบ
หลักสูตรระดับปริญญาตรี หลักสูตร ๔ ปี
๕.๒ ประเภทของหลักสูตร
หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาชีพ
๕.๓ ภาษาที่ใช้
การจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาไทยและ/หรือภาษาอังกฤษ
๕.๔ การรับเข้าศึกษา
รับนิสิตไทยและนิสิตต่างประเทศที่สามารถใช้ภาษาไทย/หรือภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดี
๕.๕ ความร่วมมือกับสถาบันอื่น
เป็นหลักสูตรเฉพาะของมหาวิทยาลัยที่จัดการเรียนการสอนโดยตรง
๕.๖ การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา
ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว
๖. อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
ผู้ที่จบปริญญาตรีสาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ สามารถประกอบวิชาชีพครู และสามารถสอบทำงานราชการในตำแหน่ง ก.พ. กำหนดว่าเป็นผู้สำเร็จการศึกษาครุศาสตรบัณฑิต หรือทำงานอื่นได้ทั้งภาครัฐและเอกชน โดยสามารถเข้าทำงานในหน้าที่ต่างๆ ได้ดังนี้
๑) ครูสอนภาษาอังกฤษระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
๒) อาจารย์สอนภาษาอังกฤษระดับอาชีวะศึกษา
๓) นักวิชาชีพในสถานประกอบการที่ใช้ภาษาอังกฤษ
๔) พนักงานของรัฐและเอกชน
๕) บุคลากรทางการศึกษา
๖) มัคคุเทศก์
๗) บุคลากรด้านการผลิตสื่อการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ
๘) พระธรรมทูตสายต่างประเทศ
๗. ชื่อ เลขประจำตัวบัตรประชาชน ตำแหน่ง และคุณวุฒิการศึกษาของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
๙.๑ อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
- นายศตพล ใจสบาย ปร.ด. (วิจัยหลักสูตรและการสอน) มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ๒๕๖๑
กศ.ม. (การสอนภาษาอังกฤษ) ม.ศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร ๒๕๔๒
ศน.บ. (ภาษาอังกฤษ) มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ๒๕๓๘
- นางเอื้องฟ้า สารสิทธิ์ กศ.ม. (ภาษาอังกฤษ) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ๒๕๔๔
ค.บ. (ภาษาอังกฤษ) วิทยาลัยครูสกลนคร ๒๕๒๖
- นางสาวศศิธร ล่องเลิศ ศศ.ม. (ภาษาศาสตร์ประยุกต์) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ๒๕๔๗
ค.บ. (ภาษาอังกฤษ) สถาบันราชภัฏสงขลา ๒๕๔๓
- Mr.Yukesh Shakya ศศ.ม. (ภาษาอังกฤษ) มหาวิทยาลัยขอนแก่น ๒๕๕๘
ศน.บ. (ภาษาอังกฤษ) มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ๒๕๕๒
- นายพิบูลย์ศักดิ์ เมืองโคตร M.A. (Linguistics) Mysore University, India ๒๕๓๗
พธ.บ. (ศาสนา) ม.มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๒๕๓๓
- พระมนตรี ปภสฺสโร (แสนสุภา) พธ.ม. (ภาษาอังกฤษ) ม.มหาจุฬาลงกรราชวิทยาลัย 2562
๘. สถานที่จัดการเรียนการสอน อาจารย์
สถานที่สำหรับจัดการเรียนการสอน : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
วิทยาลัยสงฆ์นครพนม
ที่อยู่ : ๓๓หมู่ ๙ ตำบลธาตุพนม อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม๔๘๑๑๐
๙. ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
๑. ปรัชญา
หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นหลักสูตรมุ่งสร้างบัณฑิตให้มีความรอบรู้และทักษะด้านการสอนภาษาอังกฤษ มีความเป็นครูมืออาชีพรวมทั้งบูรณาการภาษาอังกฤษเพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนา รู้สำนึกในจรรยาบรรณบนพื้นฐานด้านคุณธรรม ศีลธรรม มีจิตอาสา และเป็นแบบอย่างที่ดีต่อสังคม
๒. วัตถุประสงค์
๒.๑ มีศักยภาพด้านการสอนภาษาอังกฤษและความเป็นครูมืออาชีพ
๒.๒ สามารถบูรณาการการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
๒.๓ มีคุณธรรม ศีลธรรม จิตอาสา และเป็นแบบอย่างที่ดีต่อสังคม
๒.๔ พัฒนาองค์ความรู้ใหม่เพื่อสร้างนวัตกรรม ด้านการสอนภาษาอังกฤษ
๑๐. หลักสูตรและอาจารย์ผู้สอน
๑. หลักสูตร
๑.๑. จำนวนหน่วยกิต
รวมตลอดหลักสูตร ๑๕๖ หน่วยกิต
๑.๒. โครงสร้างหลักสูตร
โครงสร้างหลักสูตร แบ่งเป็นหมวดวิชาที่สอดคล้องกับประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. ๒๕๕๘ ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาครุศาสตร์และศึกษาศาสตร์ พ.ศ.๒๕๖๒ และประกาศคุรุสภา เรื่อง การรับรองปริญญาและประกาศนียบัตรบัณฑิตทางการศึกษาเพื่อการประกอบวิชาชีพ พ.ศ.๒๕๕๗ ดังนี้
โครงสร้างหลักสูตร
๑. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป จำนวน ๓๐ หน่วยกิต
๑.๑ วิชาบังคับ ๑๘ หน่วยกิต
๑.๒ วิชาเลือก ๑๒ หน่วยกิต
๒. หมวดวิชาเฉพาะด้าน จำนวน ๑๒๐ หน่วยกิต
๒.๑ วิชากลุ่มพระพุทธศาสนา จำนวน ๒๔ หน่วยกิต
๒.๑.๑ กลุ่มวิชาภาษาบาลีและพระพุทธศาสนา ๘ หน่วยกิต
๒.๑.๒ กลุ่มวิชาพระพุทธศาสนาทั่วไป ๑๒ หน่วยกิต
๒.๑.๓ กลุ่มวิชาวิปัสสนาธุระ ๔ หน่วยกิต
๒.๒ วิชาชีพครู จำนวน ๓๖ หน่วยกิต
๒.๒.๑ วิชาบังคับ ๒๔ หน่วยกิต
๒.๒.๒ วิชาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ๑๒ หน่วยกิต
๒.๓ วิชาเฉพาะสาขา จำนวน ๖๐ หน่วยกิต
๒.๓.๑ วิชาเอก ๖๐ หน่วยกิต
๑) วิชาบังคับ ๔๐ หน่วยกิต
๒) วิชาเลือกเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะและศักยภาพความลุ่มลึกในวิชาเอก
๒๐ หน่วยกิต
๓. หมวดวิชาเลือกเสรี จำนวน ๖ หน่วยกิต
รวมตลอดหลักสูตร จำนวน ๑๕๖ หน่วยกิต
๓.๑.๓ รายวิชาในหลักสูตร
๑) หมวดศึกษาทั่วไป
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ปรับปรุงจากโครงสร้างตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรปริญญาตรี พ.ศ. ๒๕๔๘ จาก ๔ กลุ่มวิชา คือ กลุ่มวิชาภาษา กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ และกลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ให้รวมเป็นวิชาบังคับ ๑๘ หน่วยกิต ซึ่งนิสิตทุกคณะต้องศึกษาให้ครบทุกรายวิชาและวิชาเลือกอีก ๑๒ หน่วยกิต รวมเป็น ๓๐ หน่วยกิต
๑. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ไม่น้อยกว่า๓๐หน่วยกิต
นิสิตทุกคณะต้องศึกษาหมวดวิชาศึกษาทั่วไป จำนวน ๓๐ หน่วยกิต ได้แก่
ก. วิชาบังคับ จำนวน ๑๘ หน่วยกิต
๐๐๐ ๑๐๑ มนุษย์กับสังคม ๒(๒-๐-๔)
๐๐๐ ๑๐๒ กฎหมายทั่วไป ๒(๒-๐-๔)
๐๐๐ ๑๐๗ เทคนิคการศึกษาระดับอุดมศึกษา (๒)(๒-๐-๔)
๐๐๐ ๑๐๘ ปรัชญาเบื้องต้น ๒(๒-๐-๔)
๐๐๐ ๑๐๙ ศาสนาทั่วไป ๒(๒-๐-๔)
๐๐๐ ๑๑๔ ภาษากับการสื่อสาร ๒(๒-๐-๔)
๐๐๐ ๑๑๕ ภาษาศาสตร์เบื้องต้น ๒(๒-๐-๔)
๐๐๐ ๑๓๙ คณิตศาสตร์เบื้องต้น ๒(๒-๐-๔)
๐๐๐ ๒๑๐ ตรรกศาสตร์เบื้องต้น ๒(๒-๐-๔)
๐๐๐ ๒๓๘ สถิติเบื้องต้นและการวิจัย ๒(๒-๐-๔)
ข. วิชาเลือก ไม่น้อยกว่า จำนวน ๑๒ หน่วยกิต
๐๐๐ ๑๐๓ การเมืองกับการปกครองของไทย ๒(๒-๐-๔)
๐๐๐ ๑๐๔ เศรษฐศาสตร์ในชีวิตประจำวัน ๒(๒-๐-๔)
๐๐๐ ๑๐๕ มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม ๒(๒-๐-๔)
๐๐๐ ๑๐๖ เหตุการณ์โลกปัจจุบัน ๒(๒-๐-๔)
๐๐๐ ๑๑๖ ภาษาอังกฤษเบื้องต้น ๒(๒-๐-๔)
๐๐๐ ๑๑๗ ภาษาอังกฤษชั้นสูง ๒(๒-๐-๔)
๐๐๐ ๑๑๘ ภาษาสันสกฤตเบื้องต้น ๒(๒-๐-๔)
๐๐๐ ๑๑๙ ภาษาสันสกฤตชั้นสูง ๒(๒-๐-๔)
๐๐๐ ๑๒๐ ภาษาไทยเบื้องต้น ๒(๒-๐-๔)
๐๐๐ ๑๒๑ ภาษาไทยชั้นสูง ๒(๒-๐-๔)
๐๐๐ ๑๒๘ ภาษาจีนเบื้องต้น ๒(๒-๐-๔)
๐๐๐ ๑๒๙ ภาษาจีนชั้นสูง ๒(๒-๐-๔)
๐๐๐ ๑๓๐ ภาษาญี่ปุ่นเบื้องต้น ๒(๒-๐-๔)
๐๐๐ ๑๓๑ ภาษาญี่ปุ่นชั้นสูง ๒(๒-๐-๔)
๐๐๐ ๑๓๕ ภาษาฮินดีเบื้องต้น ๒(๒-๐-๔)
๐๐๐ ๑๓๖ ภาษาฮินดีชั้นสูง ๒(๒-๐-๔)
๐๐๐ ๒๑๑ วัฒนธรรมไทย ๒(๒-๐-๔)
๐๐๐ ๒๑๒ มนุษย์กับอารยธรรม ๒(๒-๐-๔)
๐๐๐ ๒๑๓ ชีวิตกับจิตวิทยา ๒(๒-๐-๔)
๐๐๐ ๒๔๑ วิทยาศาสตร์กายภาพและประยุกตวิทยา ๒(๒-๐-๔)
๐๐๐ ๒๔๒ พื้นฐานคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ๒(๒-๐-๔)
๐๐๐ ๒๖๔ สันติศึกษา ๒(๒-๐-๔)
๐๐๐ ๒๖๕ ภาวะผู้นำ ๒(๒-๐-๔)
๐๐๐ ๒๖๖ หลักธรรมาภิบาล ๒(๒-๐-๔)
๒. หมวดวิชาเฉพาะด้าน ๑๒๐ หน่วยกิต
๒.๑ วิชากลุ่มพระพุทธศาสนา จำนวน ไม่น้อยกว่า ๒๔ หน่วยกิต
นิสิตหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ต้องศึกษาวิชากลุ่มพระพุทธศาสนา จำนวนไม่น้อยกว่า ๑๘ หน่วยกิต ประกอบด้วย กลุ่มวิชาบาลีและพระพุทธศาสนา ๘ หน่วยกิต กลุ่มวิชาพระพุทธศาสนาทั่วไป ๖ หน่วยกิต และกลุ่มวิชาวิปัสสนาธุระ ๔ หน่วยกิต
ก. กลุ่มวิชาบาลีและพระพุทธศาสนา ๘ หน่วยกิต
๐๐๐ ๑๔๗ พระไตรปิฎกศึกษา ๒(๒-๐-๔)
๐๐๐ ๑๔๘ พระวินัยปิฎก ๒(๒-๐-๔)
๐๐๐ ๑๔๙ พระสุตตันตปิฎก ๒(๒-๐-๔)
๐๐๐ ๑๕๐ พระอภิธรรมปิฎก ๒(๒-๐-๔)
ข. กลุ่มวิชาพระพุทธศาสนาทั่วไป ๑๒ หน่วยกิต
๐๐๐ ๑๕๘ ประวัติพระพุทธศาสนา ๒(๒-๐-๔)
๐๐๐ ๒๕๙ เทศกาลและพิธีกรรมพระพุทธศาสนา ๒(๒-๐-๔)
๐๐๐ ๒๖๐ การปกครองคณะสงฆ์ไทย ๒(๒-๐-๔)
๐๐๐ ๒๖๑ ธรรมะภาคภาษาอังกฤษ ๒(๒-๐-๔)
๐๐๐ ๒๖๒ ธรรมนิเทศ ๒(๒-๐-๔)
๐๐๐ ๒๖๓ งานวิจัยและวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา ๒(๒-๐-๔)
ค. กลุ่มวิชาวิปัสสนาธุระ ๔ หน่วยกิต
๐๐๐ ๑๕๑ ธรรมะภาคปฏิบัติ ๑ (๒)(๑-๒-๔)
๐๐๐ ๑๕๒ ธรรมะภาคปฏิบัติ ๒ ๑(๑-๒-๔)
๐๐๐ ๒๕๓ ธรรมะภาคปฏิบัติ ๓ (๒) (๑-๒-๔)
๐๐๐ ๒๕๔ ธรรมะภาคปฏิบัติ ๔ ๑(๑-๒-๔)
๐๐๐ ๓๕๕ ธรรมะภาคปฏิบัติ ๕ (๒)(๑-๒-๔)
๐๐๐ ๓๕๖ ธรรมะภาคปฏิบัติ ๖ ๑(๑-๒-๔)
๐๐๐ ๔๕๗ ธรรมะภาคปฏิบัติ ๗ ๑(๑-๒-๔)
๒.๒ วิชาชีพครู ไม่น้อยกว่า ๓๖ หน่วยกิต
๒.๒.๑ วิชาบังคับ ๒๔ หน่วยกิต
๒๐๐ ๑๐๑ ความเป็นครูวิชาชีพ ๓(๓-๐-๖)
๒๐๐ ๑๐๒ ภาษาและวัฒนธรรม ๓(๒-๒-๕)
๒๐๐ ๑๐๓ จิตวิทยาสำหรับครู ๓(๓-๐-๖)
๒๐๐ ๒๐๔ ปรัชญาการศึกษาและการพัฒนาหลักสูตร ๓(๒-๒-๕)
๒๐๐ ๒๐๕ การออกแบบการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน ๓(๒-๒-๕)
๒๐๐ ๓๐๖ นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา ๓(๒-๒-๕)
๒๐๐ ๓๐๗ การวัดประเมินการเรียนรู้และคุณภาพของผู้เรียน ๓(๒-๒-๕)
๒๐๐ ๓๐๘ การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ๓(๒-๒-๕)
๒.๒.๒ วิชาการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา ๑๒ หน่วยกิต
๒๐๐ ๑๐๙ ปฏิบัติวิชาชีพในสถานศึกษา ๑ ๒(๑๒๐ ชั่วโมง)
๒๐๐ ๒๑๐ ปฏิบัติวิชาชีพในสถานศึกษา ๒ ๒(๑๒๐ ชั่วโมง)
๒๐๐ ๓๑๑ ปฏิบัติวิชาชีพในสถานศึกษา ๓ ๒(๑๒๐ ชั่วโมง)
๒๐๐ ๔๑๒ ปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา ๖(๕๔๐ ชั่วโมง) ๒.๓.๑ วิชาเอก ๖๐ หน่วยกิต
๑) วิชาบังคับ ๔๐ หน่วยกิต
๒๐๕ ๒๐๑ ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ ๒(๒-๐-๔)
๒๐๕ ๒๐๒ สัทศาสตร์และสรวิทยาภาษาอังกฤษ ๓(๓-๐-๖)
๒๐๕ ๒๐๓ ระบบคำและวากยสัมพันธ์ภาษาอังกฤษ ๒(๒-๐-๔)
๒๐๕ ๒๐๔ ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ๒(๑-๒-๓)
๒๐๕ ๔๐๕ หลักการแปลและการตีความ ๓(๓-๐-๖)
๒๐๕ ๓๐๖ เทคนิคการสอนฟังและพูดภาษาอังกฤษ ๒(๒-๐-๔)
๒๐๕ ๓๐๗ เทคนิคการสอนอ่านและเขียนภาษาอังกฤษ ๒(๒-๐-๔)
๒๐๕ ๔๐๘ การเขียนภาษาอังกฤษเชิงวิชาการ ๒(๑-๒-๓)
๒๐๕ ๒๐๙ ภาษาอังกฤษสำหรับวัฒนธรรมไทย ๓(๓-๐-๖)
๒๐๕ ๓๑๐ การออกแบบและพัฒนาสื่อการสอนภาษาอังกฤษ ๓(๒-๒-๕)
๒๐๕ ๓๑๑ การสอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ ๓(๒-๒-๕)
๒๐๕ ๓๑๒ ภาษาอังกฤษในห้องเรียน ๒(๑-๒-๓)
๒๐๕ ๓๑๓ การประเมินผลทางการสอนภาษาอังกฤษ ๓(๒-๒-๕)
๒๐๕ ๔๑๔ วรรณคดีอังกฤษและอเมริกัน ๓(๓-๐-๖)
๒๐๕ ๔๑๕ วรรณกรรมภาษาอังกฤษสำหรับเด็ก ๒(๑-๒-๓)
๒๐๕ ๓๑๖ การวิจัยเพื่อการจัดการเรียนรู้การสอนภาษาอังกฤษ ๓(๒-๒-๕)
๒) วิชาเลือกเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะและศักยภาพความลุ่มลึกในวิชาเอก ๒๐ หน่วยกิต
กลุ่มทักษะการจัดการภาษาต่างประเทศ
กลุ่มทักษะการจัดการภาษาต่างประเทศ
๒๐๕ ๓๑๗ การวิเคราะห์ภาษาอังกฤษสำหรับกลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ ๓(๓-๐-๖)
๒๐๕ ๔๑๘ ภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว ๓(๓-๐-๖)
๒๐๕ ๔๑๙ ภาษาอังกฤษสำหรับบุคลากรสำนักงาน ๒(๒-๐-๔)
๒๐๕ ๔๒๐ สัมมนาการสอนภาษาอังกฤษ ๒(๑-๒-๓) กลุ่มภาษาศาสตร์เพื่อการสอนภาษาต่างประเทศ
๒๐๕ ๔๒๑ ภาษาศาสตร์เชิงประวัติ ๒(๒-๐-๔)
๒๐๕ ๓๒๒ ภาษาศาสตร์ประยุกต์ ๓(๓-๐-๖)
กลุ่มวัฒนธรรม
๒๐๕ ๔๒๓ ภาษาอังกฤษเชิงวัฒนธรรมและสังคม ๒(๒-๐-๔)
๒๐๕ ๓๒๔ การสื่อสารพหุวัฒนธรรม ๓(๓-๐-๖)
๒๐๕ ๔๒๕ การพัฒนาทักษะการคิดเชิงกลยุทธ์สำหรับครู ๒(๑-๒-๓) กลุ่มวรรณคดี
๒๐๕ ๓๒๖ ภาษาและวรรณคดี ๓(๓-๐-๖)
๒๐๕ ๔๒๗ เรื่องสั้นภาษาอังกฤษ ๒(๒-๐-๔)
๒๐๕ ๔๒๘ กวีนิพนธ์ภาษาอังกฤษ ๒(๒-๐-๔)
กลุ่มการแปลภาษาต่างประเทศ
๒๐๕ ๔๒๙ การแปลวรรณกรรมพระพุทธศาสนา ๒(๑-๒-๓) กลุ่มวิทยาการจัดการเรียนรู้ ๒๐๕ ๔๓๐ ศึกษาอิสระทางการสอนภาษาอังกฤษ ๓(๐-๖-๖)
๒๐๕ ๔๓๑ กิจกรรมสำหรับการสอนภาษาอังกฤษ ๒(๑-๒-๓)
๒๐๕ ๓๓๒ การจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน ๓(๒-๒-๕)
๓. หมวดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า ๖ หน่วยกิต
นิสิตสาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ ต้องเลือกศึกษารายวิชาเอก หรือวิชาการสอนวิชาเอก หรือวิชาเลือกวิชาเอก หรือรายวิชาอื่นๆ ที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จำนวนไม่น้อยกว่า ๖ หน่วยกิต โดยความเห็นชอบของอาจารย์ที่ปรึกษา