งานวิจัยการพัฒนาจิตสำนึกสาธารณะเพื่อการอนุรักษ์โบราณสถานชุมชน

ผู้วิจัย:   ดร.ชยาภรณ์  สุขประเสริฐ พระครูศรีปัญญาวิกรม,ผศ.ดร. พระมหาพจน์ สุวโจ,ผศ.ดร. นายไว ชึรัมย์ ดร.สุวรรณี ฮ้อแสงชัย
ส่วนงาน:   มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์
ปีงบประมาณ:   ๒๕๖๒
ทุนอุดหนุนการวิจัย:   มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
             

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่องการพัฒนาจิตสำนึกสาธารณะเพื่อการอนุรักษ์โบราณสถานชุมชนจังหวัดบุรีรัมย์ มีวัตถุประสงค์ ๓ ข้อ คือ ๑) ศึกษาโบราณสถานชุมชน ในจังหวัดบุรีรัมย์  ๒) ศึกษาจิตสำนึกสาธารณะชุมชนเพื่อการอนุรักษ์โบราณสถานชุมชน ๓) เพื่อพัฒนาจิตสำนึกสาธารณะเพื่อการอนุรักษ์โบราณสถานชุมชน ของจังหวัดบุรีรัมย์  โดยมีวิธีการวิจัยแบบผสมผสาน ได้แก่การวิจัยเชิงคุณภาพ และการลงพื้นที่ปฏิบัติการทำกิจกรรมร่วมกับชุมชน ด้วยการสัมภาษณ์ เก็บแบบสอบถาม และการสร้างชุดความรู้ ประชาชกรกลุ่มตัวอย่างและผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้นำชุมชน ผู้ดูแลเกี่ยวข้อง  ปราชญ์ชาวบ้าน เยาวชน และพระภิกษุสงฆ์ จำนวนประมาณ ๔๙ รูป/คน ในอำเภอคูเมือง และอำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

 ผลการวิจัยพบว่า

 ๑)  จากการศึกษาเอกสารและลงพื้นที่สำรวจโบราณสถานชุมชนในจังหวัดบุรีรัมย์ พบเสมาที่มีอายุเก่าแก่ที่ทรงคุณค่ายิ่งทางโบราณคดี การสร้างนั้นย้อนไปได้ถึงสมัยทวารวดี ลองลงมาเป็นการสร้างในสมัยขอมเรืองอำนาจคือ ศิลปะขอมแบบไพรกเม็ง นับถือศาสนาพราหมณ์และใบเสมายุคสมัยกรุงศรีอยุธยา ที่มีคติความเชื่อแนวความคิด และเหตุผลในการสราง  คือใชเปนนิมิต หรือเครื่องหมาย เพื่อกําหนดขอบเขตของพระอุโบสถ  มีการสำรวจ ๗ พื้นที่ ซึ่งเป็นชุมชนโบราณของจังหวัดบุรีรัมย์ พบโบราณสถานจำนวน ๑๒ แห่ง แต่เลือกศึกษาโบราณสถานที่อำเภอคูเมืองและอำเภอเมือง  พบเสมาโบราณบ้านปะเคียบ  วัดทรงศิรินาวาส  อำเภอคูเมือง เป็นเสมาโบราณสมัยทวารวดีพบจำนวนมากกว่า ๕๐ ชิ้น บางชิ้นมีลวดลายที่ชัดเจนสมบูรณ์ และเริ่มที่จะเลื่อมสภาพลงและบางชิ้นถูกทำลายด้วยน้ำมือของมนุษย์เพราะ ความรู้เท่าไม่ถึง การณ์นั้น คือสาเหตุที่ต้องเร่งดำเนินการอนุรักษ์และสร้างจิต สำนึกสาธารณะเพื่อการอนุรักษ์โบราณสถานชุมชน

    ๒)จิตสำนึกสาธารณะเพื่อการอนุรักษ์โบราณสถานชุมชน  พบว่า คนในชุมชนมีการตระหนักรู้ในความรับผิดชอบต่อส่วนรวม มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโบราณสถาน เพื่อการอนุรักษ์โบราณสถานชุมชนของตนเอง ซึ่งโบราณสถานยังบอกความรุ่งเรืองในอดีตของชุมชน  ทุกคนควรช่วยกันดูแลเฝ้าระวังและรักษา และช่วยกันปลูกต้นไม้เพราะต้นไม้ช่วยให้สภาพอากาศดีขึ้น

๓) เพื่อพัฒนาจิตสำนึกสาธารณะเพื่อการอนุรักษ์โบราณสถานชุมชนจังหวัดบุรีรัมย์

โดยการทำกิจกรรมพัฒนาจิตสำนึกสาธารณะ เพื่อกระตุ้นสร้างพลังชีวิตและแรงจูงใจเสริมสร้างความรู้ต่างๆ เกี่ยวกับความสำคัญของโบราณสถานชุมชน และการเป็นเจ้าบ้านที่ดี ได้สร้างกลุ่มอาสาอนุรักษ์โบราณสถานชุมชน แก้ปัญหาและอนุรักษ์โบราณสถานชุมชนของตนเอง ให้ยั่งยืนต่อไป

Research Title:   The Development of Public Conscience Mind for the Conservation of ancient community in Buriram Province.
Researchers:   Dr. Chayaporn  Sukprasert PhrakruSripanyavikrom, Assist.Prof,Ph.D. Phramaha Phocana Suvaco, Assist.Prof,Ph.D. Mr.Wai  Chueram Dr.Suwannee Horsaengchai
Department:   Mahachulalongkornrajavidyalaya University,  Burirum Buddhist College
Fiscal Year:   2562/2019
Research Scholarship Sponsor:    Mahachulalongkornrajavidyalaya University 
     

ABSTRACT

      This research is aimed to (1) study the ancient community in Buriram Province,  (2) study the Public Conscience mind for the conservation of ancient community and (3) the Development of Public Conscience mind for the conservation of ancient community in Buriram Province. This research Mixed Methods  : qualitative metho and do activities with the community with  the interview ,questionnaires and knowledge building. The target group are the community leaders, relevant person, Wise man villagers, children, monks, and general public about 49 in Khu Mueang district and capital district in Buriram Province.

      The research found that,

          1) The community archaeological sites in Buri Ram Province found Sema archaeological Dvaravati period and Khmer period that built in the Ayutthaya period. The Sema in Buri Ram Province  built with the Beliefs and concepts reason about Buddhism which used as a sign or symbol to determine the scope of the temple. From the surveyed a total of 7 areas, an ancient community of Buriram province, found 12 archaeological sites, but chose to study archaeological sites in the area of KhuMueang and Mueang districts.     

      Find ancient Sema leaves at Ban Pak Kiab ,Song Sirinawat Temple are the ancient Dvaravati period.There are 50 sheets some sheets have complete patterns but began to degenerate  and some sheet destroyed by human. So this the reason must the conservation and create public awareness for the conservation of community historic sites.

      2) Public awareness for the conservation of community historic sites of sample groups and informants found that everyone should have awareness and responsibility to public, knowledge, understanding and thoughts about the historic sites for the preservation of their own historic sites with the opinion.

3) Conducting public awareness development activities through training on knowledge development to stimulate the creation of life force and motivation to enhance knowledge about the importance of archaeological sites, communities, being a good host, the importance of archeology, and creating inner strength which has created a group of community historic preservation volunteer to monitor security to prevent theft, will help explain to others sustainable continuously.

https://drive.google.com/file/d/12ISD-ZBTwlurz-8qdLdON2FLazetUtvb/view?usp=sharing

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *