การจัดการองค์ความรู้อาหารพื้นบ้านยอดนิยมเพื่อเสริมสร้างสุขภาพของ ผู้สูงอายุ เขตภาคเหนือตอนบน

ผู้วิจัย                     :  รองศาสตราจารย์พูนทรัพย์ เกตุวีระพงศ์

นางสายฝน อินศรีชื่น,นายธีรวัฒน์ จันทร์จำรัส

พระมหาสิมรัตน์ สิริธัมโม ดร.

                             มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่

ปีงบประมาณ          :   2562

ทุนอุดหนุนการวิจัย   :   มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

บทคัดย่อ

                   การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยเน้นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) และการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ศึกษาวิจัยในเชิงเอกสาร (Documentary Research)  โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัยดังนี้ 1.เพื่อรวบรวมวิเคราะห์การจัดการองค์ความรู้อาหารพื้นบ้านยอดนิยมตามหลักโภชนาการเพื่อเสริมสร้างสุขภาพของผู้สูงอายุเขตภาคเหนือตอนบน2.เพื่อพัฒนาการจัดการองค์ความรู้อาหารพื้นบ้านยอดนิยมตามหลักโภชนาการเพื่อเสริมสร้างสุขภาพของผู้สูงอายุ3.เพื่อประเมินผลการจัดการองค์ความรู้อาหารพื้นบ้านยอดนิยมตามหลักโภชนาการเพื่อเสริมสร้างสุขภาพของผู้สูงอายุเขตภาคเหนือตอนบน พื้นที่ในการเก็บข้อมูล 4 จังหวัด คือ แพร่ ลำปาง พะเยาและเชียงรายเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบสอบถาม (questionnaire)  แบบสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview )การสนทนากลุ่ม(Focus Groups Discussion)  กลุ่มตัวอย่างจำนวน 212 คน

          ผลการวิจัย พบว่า

          1. ผลของการศึกษารวบรวมวิเคราะห์การจัดการองค์ความรู้อาหารพื้นบ้านยอดนิยมตามหลักโภชนาการเพื่อเสริมสร้างสุขภาพของผู้สูงอายุเขตภาคเหนือตอนบน พบว่า ในอดีตการจัดการความรู้ผู้คนในท้องถิ่นล้านนาตอนบนได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้มาอย่างยาวนานในเชิงประจักษ์และเรียนรู้วิธีการปรุงอาหารจากบรรพบุรุษส่งต่อรุ่นสู่รุ่น จากงานประเพณีวิถีชุมชน และการบอกต่อกันมา ในปัจจุบันการจัดการความรู้ คือ การอบรม แผ่นป้ายโปสเตอร์ คลิปวิดีโอเอกสารคู่มืออาหารพื้นบ้าน  จากคำบอกเล่า การทดลองเชิงปฏิบัติการเมนูยอดนิยม การได้รับองค์ความรู้จากหน่วยงานภาครัฐ ผ่านสื่อ ในท้องถิ่น  ผ่านสื่อออนไลน์ทางสังคมยุคใหม่

   2. ผลการศึกษาการพัฒนาการจัดการองค์ความรู้อาหารพื้นบ้านยอดนิยมตามหลักโภชนาการเพื่อเสริมสร้างสุขภาพของผู้สูงอายุ ข้อมูลเชิงคุณภาพ พบว่า จากการเพิ่มความรู้ ผู้สูงอายุ มีประสบการณ์ และมีพื้นฐานกิจกรรมอาหารพื้นบ้านในแต่ละท้องถิ่น ทำให้รู้จักเกี่ยวกับอาหารพื้นบ้านมีกี่ชนิดชนิด เป็นเมนูประจำพื้นบ้านมีประโยชน์และหาได้ง่ายในท้องถิ่น นอกจากนี้ทำให้รู้เรื่องว่าอาหารพื้นบ้านมีความสำคัญเกี่ยวกับสุขภาพของผู้สูงอายุและคนวัยอื่นๆ เกิดความตระหนักเข้าใจตัดสินใจเลือกรับประทานอาหารพื้นบ้าน ทำให้เกิดการเรียนรู้ข้อมูลอาหารพื้นบ้านที่ดีต่อสุขภาพมากขึ้น และทำให้รู้จักคิด บอกต่อถึงสรรพคุณ และทำอย่างต่อเนื่อง ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบความรอบรู้เกี่ยวกับอาหารพื้นบ้านยอดนิยมที่ส่งเสริมสุขภาพในผู้สูงอายุก่อนได้รับกิจกรรมการจัดการองค์ความรู้อาหารพื้นบ้านส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุและหลังการได้รับกิจกรรมความรู้ พบว่า หลังได้รับกิจกรรมการจัดการองค์ความรู้อาหารพื้นบ้านส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ มีความรอบรู้ ดีกว่าก่อนการได้รับกิจกรรมการจัดการองค์ความรู้อาหารพื้นบ้านส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจ การจัดการองค์ความรู้อาหารพื้นบ้านยอดนิยมเพื่อเสริมสร้างสุขภาพของผู้สูงอายุ พบว่า ในภาพรวม ร้อยละ 90.38

                    3. ผลการศึกษาการประเมินผลการจัดการองค์ความรู้อาหารพื้นบ้านยอดนิยมตามหลักโภชนาการเพื่อเสริมสร้างสุขภาพของผู้สูงอายุเขตภาคเหนือตอนบน พบว่า ผู้สูงวัยทั้ง 4 จังหวัดภาคเหนือตอนบน มีประสบการณ์เกี่ยวกับความรู้อาหารพื้นบ้านเป็นอย่างดีผ่านกระบวนการจากกิจกรรมเชิงปฏิบัติการและการเรียนรู้ในชีวิตประจำวัน ได้รับความรู้จากหน่วยงานภาครัฐ และข้อมูลที่ผ่านสื่อในชุมชน และสื่อออนไลน์ทางสังคมยุคใหม่

คำสำคัญ  อาหารพื้นบ้านยอดนิยม,การจัดการองค์ความรู้สู่ชุมชน,ผู้สูงอายุเขตภาคเหนือตอนบน

Research Topic     :   Management of Body of Acknowledge of Highly Popular Local

Food base on Nutrition Principle for Enhancement Health of

Elder in Upper the North Part

 Researcher            : Associate Professor Phoonsrap Ketveerapong

Miss. SaifonInsrichuen

Mr. Theerawat Chanruam

Pramaha Simarat  Siritammo. Dr

Mahachulalongkornrajavidyalaya University Phare Campus

Fiscal Year           :   B.E 2562

Department         :    Mahachulalongkornrajavidyalaya University

Abstract

          The objectives of this research were 1) to analytical collection the knowledge management of Highly Popular Local Food base on Nutrition Principle for Enhancement Health of Elder in Upper the Northern Thailand, 2) to develop the knowledge management of Highly Popular Local Food base on Nutrition Principle for Enhancement Health of Elder in Upper the Northern Thailand and 3) to assess the result of knowledge management of Highly Popular Local Food base on Nutrition Principle for Enhancement Health of Elder in Upper the Northern Thailand. This research was a qualitative research by emphasizing the action research and quantitative research and documentary research. There were 4 areas for data collection as Phrae, Lumpang and Prayao Province. The tools used questionnaires, In-depth Interview and focus groups discussion. The sample groups were 212 by purposive selection. The data analysis was used content analysis. The results of research were as follows;

  1.  The result of analytical collection the knowledge management of Highly Popular Local Food base on Nutrition Principle for Enhancement Health of Elder in Upper the Northern Thailand was found that the local Lanna people had passed on knowledge a long time in empirical knowledge and learning from ancestor by the generation to a new generation. The knowledge managements and data disseminating were training, fixed poster, clip video, local food handbook, reporting, Highly Popular menu action tryout, got the knowledge from public sector, passed media in the local, passed social media and knowledge management development that had managed  counsel activities 3 sets along with the health promotion based on Ottava Charter for developing the knowledge management of Highly Popular Local Food base on Nutrition Principle for Enhancement Health of Elder in Upper the Northern Thailand.
  2. The result of the study developing of the knowledge management of Highly Popular Local Food base on Nutrition Principle for Enhancement Health of Elder in Upper the Northern Thailand
https://drive.google.com/file/d/11wgXDg2VUgDPtouA6j0s6jcbKiZvYx4R/view?usp=sharing

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *