การบริหารจัดการพื้นที่ทางวัฒนธรรมเวียงกาหลงโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคีชุมชน

ผู้วิจัย: พระครูสุธีสุตสุนทร (สมพงษ์ พอกพูน),ดร., ผศ.ดร. สมหวัง อินทร์ไชย, ผศ. จำเริญ ฐานันดร, ผศ.ดร. สหัทยา สิทธิวิเศษ, ผศ.ดร. ปฎิพันธ์ อุทยานุกุล, อานุรักษ์ สาแก้ว

ชื่อผู้วิจัย:          พระครูสุธีสุตสุนทร (สมพงษ์ พอกพูน), ดร.,

                     ผศ. ดร. สมหวัง อินทร์ไชย

                     ผศ. จำเริญ ฐานันดร,

                     ผศ. ดร.สหัทยา สิทธิวิเศษ,

                     ผศ. ดร.ปฏิพันธ์ อุทยานุกูล และ

                     นายอานุรักษ์ สาแก้ว

ส่วนงาน:           มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์เชียงราย

ปีงบประมาณ:      ๒๕๖๒

ทุนอุดหนุนการวิจัย:  มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

บทคัดย่อ

         งานวิจัยเรื่องการบริหารจัดการพื้นที่ทางวัฒนธรรมเวียงกาหลงโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคีชุมชน มีวัตถุประสงค์ คือ      เพื่อจัดทำแผนที่ทางวัฒนธรรมในเขตพื้นที่ทางวัฒนธรรมเวียงกาหลง อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย สร้างพื้นที่ทางวัฒนธรรมสำหรับการอนุรักษ์ และนำไปสู่การสร้างผู้ประกอบการทางวัฒนธรรมในเขตพื้นที่ทางวัฒนธรรมเวียงกาหลง อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย และเพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหน่วยงานการศึกษากับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนในเขตพื้นที่ทางวัฒนธรรมเวียงกาหลง อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย สำหรับการพัฒนาเชิงพื้นที่อย่างยั่งยืนผ่านศิลปะและวัฒนธรรมของชุมชน เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mix method) ทั้งเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) การวิจัยในเชิงเอกสาร (Documentary Research) และการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) มีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key-Informant) ที่เป็นตัวแทนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรภาครัฐ กลุ่มศิลปะเวียงกาหลง ผู้บริการสถานศึกษา ผู้นำชุมชน ผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน นักประวัติศาสตร์ ปราชญ์ท้องถิ่น ผู้นำทางศาสนา นักท่องเที่ยว ชาวบ้าน เยาวชน และผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ ผลวิจัย พบว่า

             การจัดทำแผนที่ทางวัฒนธรรมเวียงกาหลง เป็นแผนที่พื้นที่ที่เป็นศิลปะและวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับ ๓ กลุ่มใหญ่ ๆ คือ (๑) กลุ่มแหล่งโบราณสถานและพุทธศิลปกรรม (๒) กลุ่มธรรมชาติสร้างสรรค์ และ (๓) กลุ่มประกอบการนิทรรศการแสดงศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย และของฝาก         เวียงกาหลง และนำไปสู่การสร้างผู้ประกอบการทางวัฒนธรรมเพื่อการอนุรักษ์ ฟื้นฟู ส่งเสริมทั้งที่เป็นการอนุรักษ์ศิลปะเวียงกาหลงดั้งเดิมและศิลปะเวียงกาหลงร่วมสมัย และการสร้างเครือข่ายความร่วมมือสำหรับการพัฒนาเชิงพื้นที่อย่างยั่งยืนผ่านศิลปะและวัฒนธรรมของชุมชนกับหน่วยงาน องค์กร ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน

Title:              The Cultural Management in Wiang Ka Long Area  in the Local

                     Community by Participatory Action Research

Author:           Phrakhru Suteesutasuntorn (Sompong Phokphoon), Dr.

                     Assist. Prof. Dr. Somwang Inchai,

                     Assist. Prof. Chamroen Thanandorn

                     Assist. Prof. Dr. Sahataya Sithiwiset,

                     Assist. Prof. Dr. Pathipan Uthayanukul and

                     Mr. Anurak Sakaew

Division:            Mahachulalongkornrajavidyalaya University

                      Chiang Rai Buddhist College

Academic year: 2562/2019

Research Scholarship Sponsor:  Mahachulongkornrajvidhalaya University.

Abstract

             The Cultural Management in Wiang Ka Long Area  in the Local Community by Participatory Action Research aimed to create a cultural map in Wiang Kalong cultural area Wiang Pa Pao District Chiang Rai Province, to create a cultural conservation area leading to the creation of cultural entrepreneurs in the Wiang Kalong cultural area Wiang Pa Pao District Chiang Rai Province, and to create a cooperation network between the educational agencies and other public and private agencies in Wiang Kalong cultural area Wiang Pa Pao District Chiang Rai Province for sustainable area development through arts and culture of the communities. It was a mixed-method research: qualitative research, documentary research and action research. The key informants included the representatives of local administrative organizations, government organizations, Wiang Kalong Art Group, and educational institutions, as well as community leaders, community entrepreneurs, historians, local scholars, religious leaders, tourists, villagers, youths, and other concerned parties. The research found that

             To make Wiang Ka Long cultural map to be Art and Cutural area map related to 3 big groups (1) archaeological sites and Buddha art (2) natural creative groups and (3) contemporary art exhibition groups and Wiang Ka Long souvenirsand leading to conserve,recover and promote both primitive Wiang Ka Long  Art and contemporary Art to build co-operation net work through art and cultural community with governmental and non governmental units

https://drive.google.com/file/d/1yQBfgbvbVL-CFtORIm56donWwBgkqVK7/view?usp=sharing

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *