ศิลปะเชิงพุทธสู่วิถีชุมชนบนผนังพื้นที่สาธารณะในจังหวัดเชียงใหม่

ผู้วิจัย: มานิตย์ โกวฤทธิ์, ประเสริฐ บุปผาสุข

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการคือ (๑) เพื่อศึกษาการสร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะในผนังพื้นที่สาธารณะของเมืองท่องเที่ยว (๒) เพื่อสร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะเชิงพุทธสู่วิถีชุมชนในผนังพื้นที่สาธารณะในรูปแบบการสร้างภาพ ๓ มิติ ที่มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับวัฒนธรรมท้องถิ่น (๓) เพื่อพัฒนาเมืองให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางศิลปะ และแหล่งเรียนรู้เชิงศิลปวัฒนธรรม วิถีชุมชนแนวพุทธ ในรูปแบบที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research)  โดยการสร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะในรูปแบบการสร้างภาพสามมิติ (3D) บนผนังพื้นที่สาธารณะ จำนวน ๖ แห่ง

ผลของการศึกษา พบว่า เมืองท่องเที่ยวทางศิลปะในญี่ปุ่นและในประเทศแถบยุโรปมีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะในผนังพื้นที่สาธารณะของเมืองท่องเที่ยวไทยปัจจุบัน เช่น ศิลปะแนวสตรีทอาร์ต เทศบาลนครลำปาง ศิลปะบนผนังชุมชน ศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยง เมืองปัตตานี ศิลปะสตรีทอาร์ต “ถนนนางงาม” เทศบาลนครยะลา และศิลปะสตรีทอาร์ต เทศบาลนครสงขลา

การสร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะในผนังพื้นที่สาธารณะของเมืองท่องเที่ยวและการศึกษาประวัติศาสตร์ชุมชนและอัตลักษณ์ของท้องถิ่นนำไปสู่การสร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะในรูปแบบภาพ ๓ มิติ (3D) จำนวน ๖ แห่ง คือ ๑. หมู่บ้านดอนไชย อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน ๒. หมู่บ้านป่าตาล อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ๓. หมู่บ้านแม่สูนน้อย อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ๔. หมู่บ้านเหล่าพัฒนา อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย ๕. หมู่บ้านทุ่งเสี้ยว อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ ๖.หมู่บ้านบ้านดง อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่

การจัดกิจกรรมถ่ายทอดความรู้ด้านศิลปะ (Art Workshop) ได้แก่ เวทีเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างข้าราชการ นักวิชาการ ศิลปิน ผู้นำชุมชน และชาวบ้านในชุมชน การขับเคลื่อนผลงานศิลปะไปสู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยว และการจัดกิจกรรม “ป้ายสี แต้มฝัน ปันจินตนาการ” เพื่อให้ความรู้ในเชิงปฏิบัติการด้านศิลปะภาพ ๓ มิติ (3D) แก่กลุ่มเยาวชน การใช้สื่อสารมวลชนและสื่อสารสนเทศเพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยและประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวของชุมชน

คำสำคัญ: ศิลปะ, วิถีชุมชน, พื้นที่สาธารณะ

Research Title:                   Buddhist art to the folkways on the wall of public areas

in Chiang Mai

Researchers:                    Mr. Manit Gowarit

Mr. Prasert Buphasut

Department:                      Mahaculalongkornrajavidyalaya University,

Chiang Mai Campus

Fiscal Year:                       2562/2019

Research Scholarship Sponsor: Mahaculalongkornrajavidyalaya University

ABSTRACT

This research has three objectives: (1) to study the artistic creations of the city’s public areas of tourism, (2) to create works of art to the Buddhist community in the way of wall space in the form of 3D visualization are appropriate and consistent with local cultures and (3) to develop a city as an artistic and educational attraction, the cultural way of a Buddhist community in a abilities unique style. This research is an action research by creating artistic expression in three-dimensional (3D) image-building models of 6 public spaces.

             The results were found as follows: The city of art tourism in Japan and in the European countries has influenced the creative work of art in the public areas of the current Thai tourist city, such as: The art street art of Lampang, the art of the community, the shrine of Mae Niang, Pattani City Street art Art “Nang Ngam Road”, Yala Municipality and Art Street Arts, Songkhla municipality.

             The creation of artworks in the public areas of the tourist city and the study of community history and local identity led to the creation of an artistic contribution of 3D. 1.Wiang Tai District, Nan Provincial Park, 2. Chang Tan Village, San Kamphaeng District, Chiang Mai province, 3. Mae Mae Noi village, Amphoe Fang, Chiangmai, 4. Mae Suai village, Chiang Rai province, 5. Thung-Si village, San Pa Tong, Chiang Mai and 6. Village ban Dong, San Pa Tong, Chiang Mai.

             Art Workshop is a learning forum to learn about the government, academics, artists, community leaders, and communities. Driving art works as a tourist attraction and event “color badge, dream sharing”, to provide operational knowledge of 3d art to the youth. The use of mass media and information media to disseminate research and publicity of the tourist attraction of the community.

Keywords: Art, Way of Community, Public Space.

https://drive.google.com/file/d/1XFgIGE-cQz1VfTiVXvqy4X64l1nlBkeX/view?usp=sharing

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *