ผู้วิจัย: ทรงเดช ทิพย์
ชื่อรายงานการวิจัย: โครงการย่อยที่ ๔ เรื่อง การพัฒนาเครือข่ายแหล่งท่องเที่ยววิถีศิลป์บน
เส้นทางบ้านศิลปินล้านนา
ผู้วิจัย: ทรงเดช ทิพย์ทอง, มานิตย์ โวฤทธิ์, ศตวรรษ หน่อแก้ว
นายมานิตย์ โกวฤทธิ์
นายศตวรรษ หน่อแก้ว
หน่วยงาน: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์เชียงราย
ปีงบประมาณ: ๒๕๖๒
ทุนอุดหนุนการวิจัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
การวิจัยครั้งนี้มี วัตถุประสงค์ ๓ ประการคือ ๑) เพื่อศึกษาการพัฒนาเส้นทางแหล่งท่องเที่ยวทางศิลปะของบ้านศิลปิน ๒) เพื่อวิเคราะห์ศักยภาพและความพร้อมในการพัฒนาบ้านศิลปินเป็นแหล่งเส้นทางท่องเที่ยว และ ๓) เพื่อพัฒนาเครือข่ายแหล่งท่องเที่ยววิถีศิลป์บนเส้นทางของบ้านศิลปินล้านนา โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) กับกลุ่มเป้าหมาย คือ บ้านศิลปินในจังหวัดเชียงราย จำนวน ๑๕ แห่ง
ผลของการศึกษา พบว่า เส้นทางแหล่งท่องเที่ยวทางศิลปะของบ้านศิลปิน มี ๓ เส้นทาง ๑๕ บ้านศิลปิน ดังนี้ ๑. เส้นทางหอศิลป์เวียงเชียงราย-เวียงชัย ๒. เส้นทางหอศิลป์แม่ลาว-พาน และ ๓. เส้นทางหอศิลป์แม่จัน-แม่สาย-เชียงแสน จากผลการดำเนินงานวิจัยควบคู่กับการพัฒนาเครือข่ายแหล่งท่องเที่ยววิถีศิลป์บนเส้นทางบ้านศิลปินล้านนาได้ก่อให้เกิดกิจกรรม “เปิดบ้านศิลปินเชียงราย” จำนวน ๓๐ หลัง ๑ หอศิลปะ และวัฒนธรรมอำเภอ เพื่อการท่องเที่ยวและส่งเสริมภาพลักษณ์ “เชียงรายเมืองศิลปะอย่างยั่งยืน” และการจัดทำเป็นแอปพลิเคชั่น (Application) บ้านศิลปิน
ศักยภาพในการพัฒนาบ้านศิลปินเป็นแหล่งเส้นทางท่องเที่ยว มี ๓ ด้าน คือ ๑. ศักยภาพด้านศิลปิน ๒. ศักยภาพด้านแหล่งเรียนรู้ และ ๓. ศักยภาพด้านสิ่งอำนวยความสะดวก, การพัฒนาความพร้อมของบ้านศิลปิน มี ๕ ด้าน คือ ๑. ความพร้อมด้านงบประมาณ ๒. ความพร้อมด้านสถานที่ ๓. ความพร้อมด้านเส้นทาง ๔. ความพร้อมด้านศิลปิน ๕. ความพร้อมด้านนักท่องเที่ยว
การพัฒนาเครือข่ายแหล่งท่องเที่ยววิถีศิลป์บนเส้นทางของบ้านศิลปินล้านนาของจังหวัดเชียงราย มี ๕ ประการ คือ ๑. การดำเนินกิจกรรมของเครือข่ายให้มีความต่อเนื่อง ๒. ความร่วมมือและการสนับสนุนจากหลายฝ่าย ๓. การพัฒนาฐานข้อมูลเครือข่ายที่ทันสมัย ๔. ความพร้อมของกลุ่มศิลปินภายในเครือข่าย และ ๕. การสร้างความร่วมมือกับเครือข่ายภายนอก
แนวทางในการพัฒนาเครือข่ายแหล่งท่องเที่ยววิถีศิลป์บนเส้นทางของบ้านศิลปินล้านนา มี ๔ องค์ประกอบ คือ ๑. การจัดหางบประมาณ ๒. การจัดสร้างบ้านศิลปินเพิ่มเติม ๓. การสร้างสรรค์งานศิลป์สู่ชุมชน และ ๔. การจัดสร้างเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงศิลป์
คำสำคัญ:
เครือข่าย, เส้นทางการท่องเที่ยว,
ศิลปิน
Research Title: The Network Development of Tourist Routes
on the Way Home Arts of Lanna Artists.
Researchers: Mr.Songdaj Thipthong
Mr.Manit Gowarit
Mr.Sattawat Norkaew
Department: Mahachulalongkornrajavidyalaya University,
Chiang Rai College.
Fiscal Year: 2562/2019
Research Scholarship Sponsor: Mahachulalongkornrajavidyalaya University
ABSTRACT
This
study has three objectives: 1. To study the development of tourist attraction
routes in the arts Of the artist’s house, 2. To analyze
the potential and readiness In the development of an artist’s house As a source
of tourism routes, 3. To develop the tourism network The way of art on the path
Lanna Artist House. By using Action Research with artists’ house groups in
Chiang Rai Province, consisting of 15 galleries.
The results were found as follows: There are 3 routes of tourist attraction in the artist’s house, total 15 galleries 1. the route of Wiang Chiang Rai – Wiang Chai 2. the route of Mae Lao – Phan 3. The route of Mae Chan – Mae Sai – Chiang Saen. After that, an activity occurred. “Chiang Rai Artist House Open”, 30 units, 1 Art Gallery for Tourism and Image Promotion “Chiang Rai Sustainable Art City” and the creation of an artist’s home application.
The potential of developing an artist house is a tourist
destination with 3aspects. 1)
Artists, 2) potential of learning resources and, 3) potential of facilities, And
development of the readiness of the artist’s house, there are 5 aspects
1) Budget readiness, 2) Location readiness, 3) Route readiness, 4) Artist
readiness,
5) Travel readiness.
Guidelines for the development of the art tourism attraction network There are 4 elements on the path to the artist’s house, 1) Budget procurement 2) Creating additional artist houses 3) Creating art in the community 4) Creating art tourism routes.
Keywords: Tourist attraction network, Artistic Travel Route, Artists.