หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศึกษา (๔ ปี) หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๒
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครพนม
๑. รหัสและชื่อหลักสูตร
รหัสหลักสูตร : ๒๕๕๐๑๘๕๑๑๐๐๓๒๖
ภาษาไทย : หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศึกษา
ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Education (Social Studies)
๒. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อเต็ม (ไทย) : ครุศาสตรบัณฑิต (สังคมศึกษา)
ชื่อย่อ (ไทย) : ค.บ. (สังคมศึกษา)
ชื่อเต็ม (อังกฤษ) : Bachelor of Education in Social Studies
ชื่อย่อ (อังกฤษ) : B.Ed. (Social Studies)
๓. วิชาเอกหรือความเชี่ยวชาญเฉพาะของหลักสูตร
เป็นหลักสูตรที่มุ่งสร้างความรู้ ความเข้าใจ และประสบการณ์ในการเรียนรู้สังคมศึกษา และนำความรู้ทางพุทธศาสตร์และสังคมศึกษา มาประยุกต์เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาสังคมแก่นิสิต โดยการจัดการเรียนการสอนทั้งภาคทฤษฏี ปฏิบัติ และวิชาชีพ เพื่อการทำงานร่วมกับผู้อื่น และถ่ายทอดวิชาชีพอย่างมีประสิทธิภาพ
๔. จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
จำนวน ๑๕๖ หน่วยกิต
๕. รูปแบบของหลักสูตร
๕.๑ รูปแบบ
หลักสูตรระดับปริญญาตรี หลักสูตร ๔ ปี
☐ หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการ
☐ หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการ
☐ หลักสูตรปริญญาตรีแบบก้าวหน้าทางวิชาการ
R หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาชีพ
R หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาชีพ
☐ หลักสูตรปริญญาตรีแบบก้าวหน้าทางวิชาชีพ
☐ หลักสูตรปริญญาตรีปฏิบัติการ
☐ หลักสูตรปริญญาตรีปฏิบัติการ
☐ หลักสูตรปริญญาตรีแบบก้าวหน้าปฏิบัติการ
๕.๒ ประเภทของหลักสูตร
หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาชีพ
๕.๓ ภาษาที่ใช้
การจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาไทย
๕.๔ การรับเข้าศึกษา
รับนิสิตไทยและนิสิตต่างประเทศที่สามารถใช้ภาษาไทยได้เป็นอย่างดี
๕.๕ ความร่วมมือกับสถาบันอื่น
เป็นหลักสูตรเฉพาะของมหาวิทยาลัยที่จัดการเรียนการสอนโดยตรง
๕.๖ การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา
ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว
๖. สถานภาพของหลักสูตรและการพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตร
๖.๑ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๒ ปรับปรุงจากหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา (๕ ปี) หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๑
๖.๒ เปิดสอนภาคการศึกษาที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๒
๖.๓ สภาวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เห็นชอบหลักสูตรในคราวประชุมครั้งที่ครั้งที่ ๔/๒๕๖๒ วันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๒
๖.๔ สภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อนุมัติหลักสูตรและอนุมัติให้เปิดสอนในคราวประชุมครั้งที่ ครั้งที่ ๔/๒๕๖๒ วันพุธที่ ๓๐ เดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๖๒
๗. ความพร้อมในการเผยแพร่หลักสูตรคุณภาพและมาตรฐาน
หลักสูตรมีความพร้อมที่จะเผยแพร่คุณภาพและมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาครุศาสตร์และสาขาศึกษาศาสตร์ (หลักสูตรสี่ปี) พ.ศ. ๒๕๖๒ ในปีการศึกษา ๒๕๖๔
๘. อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
ผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สามารถทำงานได้ทั้งภาครัฐและเอกชน ดังนี้
๑) ครูสอนสังคมศึกษา และวิชาที่เกี่ยวข้องกับสัมพันธ์กัน
๒) ครูสอนสังคมศึกษาทั้งในหน่วยงานราชการและเอกชน
๓) อาชีพด้านการบริการสังคมในหน่วยงานของรัฐและเอกชน
๔) อาชีพเจ้าหน้าที่พัฒนาสังคม/สังคมสงเคราะห์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
๕) อาชีพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับครุศาสตร์และสังคมศาสตร์
๙. ชื่อ เลขประจำตัวบัตรประชาชน ตำแหน่ง และคุณวุฒิการศึกษาของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
๙.๑ อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรและอาจารย์ประจำหลักสูตร
ตำแหน่งทางวิชาการ | ชื่อสกุล | คุณวุฒิ สาขาวิชา | สำเร็จการศึกษาจาก | |
สถาบัน | ปี | |||
อาจารย์ | นายปภังกร สายบัว ๒-๔๗๐๖-๐๐๐๑๗-๗๙-๙ | พธ.ม. (การสอนสังคมศึกษา) พธ.บ. (สังคมศึกษา) | ม.มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ม.มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย | ๒๕๖๐ ๒๕๕๗ |
อาจารย์ | นายมาวิน โทแก้ว ๒-๓๙๐๕-๐๐๐๐๑-๙๖-๔ | พธ.ม. (การสอนสังคมศึกษา) พธ.บ. (สังคมศึกษา) | ม.มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ม.มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย | ๒๕๖๑ ๒๕๕๘ |
อาจารย์ | พระวิรพันธ์ ติกฺขปญโญ (เสียงเย็น) ๕- ๔๙๐๓-๐๐๐๒๙-๑๘-๔ | พธ.ม. (การสอนสังคมศึกษา) พธ.บ. (พระพุทธศาสนา) | ม.มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ม.มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย | ๒๕๖๑ ๒๕๕๘ |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ | นายลิขสิทธิ์ สิงห์งอย ๓-๔๘๐๘-๐๐๐๖๓-๖๖-๑ | กศ.ม.(เทคโนโลยีการศึกษา) พธ.บ. (สังคมศึกษา) | มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ม.มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย | ๒๕๔๒ ๒๕๔๐ |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ | พระครูสิริเจติยานุกิจ (วรรณชัย ชยวณฺโณ),ดร. ๓-๔๘๐๑-๐๐๕๐๘-๐๒-๓ | ศษ.ด. (หลักสูตรและการสอน) M.A.(Linguistics) พธ.บ. (ภาษาอังกฤษ) | ม.เกษตรศาสตร์ Delhi University, India, ม.มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย | ๒๕๕๐ ๒๕๓๙ ๒๕๓๕ |
๑๐. สถานที่จัดการเรียนการสอน
สถานที่สำหรับจัดการเรียนการสอน : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครพนม
ที่อยู่ : ๓๓ หมู่ ๙ ตำบลธาตุพนม อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม ๔๘๑๑๐
๑๑. สถานการณ์ภายนอกหรือการพัฒนาที่จำเป็นต้องนำมาพิจารณาในการวางแผนหลักสูตร
๑๑.๑ สถานการณ์หรือการพัฒนาทางเศรษฐกิจ
สถานการณ์การพัฒนาหลักสูตรจะสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมตามแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๔) เนื่องจากในยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพคนและสังคม สู่สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ กล่าวคือ การพัฒนาคนให้มีคุณธรรมนำความรู้ เกิดภูมิคุ้มกัน โดยพัฒนาจิตใจควบคู่กับการพัฒนาการเรียนรู้ของคนทุกกลุ่มทุกวัยตลอดชีวิต เริ่มตั้งแต่วัยเด็กให้มีความรู้พื้นฐานเข้มแข็ง มีทักษะชีวิต พัฒนาสมรรถนะ ทักษะของกำลังแรงงานให้สอดคล้องกับความต้องการ พร้อมก้าวสู่โลกของการทำงานและการแข่งขันอย่างมีคุณภาพ สร้างและพัฒนากำลังคนที่เป็นเลิศโดยเฉพาะในการสร้างสรรค์นวัตกรรมและองค์ความรู้ ส่งเสริมให้คนไทยเกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต จัดการองค์ความรู้ทั้งภูมิปัญญาท้องถิ่นและองค์ความรู้สมัยใหม่ตั้งแต่ระดับชุมชนถึงประเทศ สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม พิจารณาด้านวงการศึกษาไทยในปัจจุบัน พบว่าเกิดปัญหาการขาดแคลนครู และการที่ครูสอนไม่ตรงสาขาวิชาที่จบมา โดยเฉพาะสาขาวิชาสังคมศึกษา ซึ่งเป็นสาขาวิชาที่ไม่ควรจะขาดแคลนครูที่จบด้านสังคมศึกษา สังคมศึกษาถือว่าเป็นรายวิชาที่มีกลุ่มสาระความรู้ครอบคลุมในการพัฒนานักเรียนให้เป็นคนที่สมบูรณ์มีคุณภาพประสิทธิภาพ มีทักษะในการดำเนินชีวิตในสังคมปัจจุบันได้ด้วยดีมีความสุข อีกทั้งการที่ประเทศไทยเป็นสมาชิกประชาคมอาเซียน ก็ต้องมีการเตรียมความพร้อมของคนไทยและเด็กไทยในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนต่อไป
๑๑.๒ สถานการณ์หรือการพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรม
การวางแผนพัฒนาหลักสูตร ได้คำนึงถึงสถานการณ์ของการพัฒนาสังคมและวัฒนธรรมเนื่องจากสังคมยุคการสื่อสารไร้พรมแดน เสรีทางการค้า ทำให้เกิดการแข่งขันทั้งภายในและภายนอกประเทศการผลิตบุคลากรที่รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคม ที่มุ่งไปสู่สังคมแห่งความรู้ ที่แข่งขันกันด้วยความรู้ ความสามารถ และมีความเข้าใจในผลกระทบทางสังคมและวัฒนธรรม มีคุณธรรม จริยธรรม ซึ่งจะช่วยชี้นำและขับเคลื่อนให้การเปลี่ยนแปลงนี้เป็นไปในรูปแบบที่สอดคล้องและเหมาะสมกับวิถีชีวิตของสังคมไทย
๑๒. ผลกระทบจาก ข้อ ๑๑ ต่อการพัฒนาหลักสูตรและความเกี่ยวข้องกับพันธกิจของสถาบัน
๑๒.๑ การพัฒนาหลักสูตร
ผลกระทบจากสถานการณ์ภายนอกต่อการศึกษา จำเป็นต้องพัฒนาหลักสูตรในเชิงรุกที่มีศักยภาพและสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามวิวัฒนาการของสังคม และรองรับการสื่อสารทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ โดยการผลิตบุคลากรทางวิชาชีพครูซึ่งถือว่าเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาเยาวชนสู่สังคมแห่งการแข่งขันที่ต้องมีภูมิคุ้มกันทางจิตใจที่มั่นคง ซึ่งต้องมีความพร้อมที่จะปฏิบัติงานได้ทันทีและมีศักยภาพสูงในการพัฒนาตนเองให้เข้ากับลักษณะงานทั้งด้านวิชาการและวิชาชีพ รวมถึงความเข้าใจในผลกระทบทางด้านต่างๆ ที่มีต่อสังคม โดยต้องปฏิบัติตนอย่างมืออาชีพ มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ ซึ่งเป็นไปตามนโยบายและวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยด้านมุ่งจัดการศึกษาพระพุทธศาสนา บูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่พัฒนาจิตใจและสังคม
๑๒.๒ ความเกี่ยวข้องกับพันธกิจของสถาบัน
ผลกระทบจากสถานการณ์หรือการพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรมที่มีต่อพันธกิจของมหาวิทยาลัยที่มุ่งสู่ความเป็นเลิศในการจัดการศึกษาพระพุทธศาสนา บูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่ พัฒนาจิตใจ และสังคม และมุ่งธำรงปณิธานในการศึกษาพระไตรปิฎกและวิชาชั้นสูงสำหรับพระภิกษุสามเณรและคฤหัสถ์เพื่อผลิตบัณฑิตที่เป็นคนดีและเก่งอย่างมีสมรรถภาพ การจัดการศึกษาและวิจัยดีอย่างมีคุณภาพ บริการวิชาการดีอย่างมีสุขภาพ และบริหารดีอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งส่งเสริมพระพุทธศาสนาและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมให้คงไว้สืบไป
๑๓. ความสัมพันธ์กับหลักสูตรอื่นที่เปิดสอนในคณะ/ภาควิชาอื่นของสถาบัน
๑๓.๑ กลุ่มวิชา/รายวิชาในหลักสูตรนี้ที่เปิดสอนโดยคณะ/ภาควิชา/หลักสูตรอื่น
R หมวดวิชาศึกษาทั่วไป
R หมวดวิชาเฉพาะ กลุ่มวิชาชีพครู และกลุ่มวิชาฝึกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา
R หมวดวิชาเลือกเสรี
๑๓.๒ กลุ่มวิชา/รายวิชาในหลักสูตรที่เปิดสอนให้ภาควิชา/หลักสูตรอื่นต้องมาเรียน
R หมวดวิชาเฉพาะ กลุ่มวิชาเอก สามารถนำไปเปิดเป็นวิชาเลือกเสรีให้นิสิตจากสาขาวิชาอื่นเลือกเรียนได้ตามความเหมาะสม โดยมีคณะกรรมการบริหารหลักสูตรทำหน้าที่กำกับดูแลและประสานงาน
Rหมวดวิชาเลือกเสรี
๑๓.๓ การบริหารจัดการ
อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร ต้องประสานงานกับอาจารย์ผู้แทนจากคณะอื่นที่เกี่ยวข้อง ด้านเนื้อหาสาระ การจัดตารางเรียนและสอบ และความสอดคล้องกับมาตรฐานผลการเรียนรู้ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติและมาตรฐานวิชาชีพครูที่คุรุสภากำหนด ตลอดถึงความสอดคล้องกับการประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา
หมวดที่ ๒
ข้อมูลเฉพาะของหลักสูตร
๑. ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
๑.๑ ปรัชญา
บัณฑิตสาขาวิชาสังคมศึกษา เป็นผู้มีความใฝ่รู้ด้านวิชาการและเทคโนโลยี มีจิตวิญญาณความเป็นครู มีจรรยาบรรณวิชาชีพตามหลักพุทธธรรม มีจิตอาสา เป็นแบบอย่างที่ดีของสังคม และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
๑.๒ วัตถุประสงค์
เพื่อผลิตบัณฑิตสาขาวิชาสังคมศึกษาให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ดังนี้
๑. เป็นครูสังคมศึกษาที่มีจิตวิญญาณความเป็นครู และดำรงตนตามหลักกัลยาณมิตรธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพครู
๒. มีความรอบรู้ด้านสังคมศึกษา รูปแบบการสอนสังคมศึกษาที่หลากหลาย และมีความรู้ความสามารถในการใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารตามมาตรฐาน
๓. สามารถวิจัยและบูรณาการความรู้ทางสังคมศึกษาและศาสตร์พระราชาเพื่อประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานวิชาชีพครูและพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน
๔. มีจิตอาสา เมตตาธรรม และสัมพันธภาพที่ดีกับชุมชนและสังคม สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างสร้างสรรค์
๕. มีทักษะการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงตัวเลข และการใช้เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องทางสังคมศึกษาสำหรับผู้เรียน บุคคล และกลุ่มต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วถูกต้องและเหมาะสม
๖. สามารถจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบวิธีการที่หลากหลายอย่างมีประสิทธิภาพ สร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ร่วมกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้องและนำทักษะศตวรรษที่ ๒๑ และเทคโนโลยี มาใช้ในการจัดการเรียนรู้เพื่อผู้เรียนและพัฒนาตนเองได้อย่างเหมาะสม
๒. แผนพัฒนาปรับปรุง
คาดว่าจะดำเนินการให้แล้วเสร็จครบถ้วนภายในรอบปีการศึกษา (๔ ปี)
แผนการพัฒนา/เปลี่ยนแปลง | กลยุทธ์ | หลักฐาน/ตัวบ่งชี้ |
ปรับปรุงหลักสูตรสังคมศึกษาให้มีมาตรฐานตามกรอบคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติและคุรุสภากำหนด | – เชิญองค์กรวิชาชีพ ผู้ใช้บัณฑิต และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตร – ประเมินหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง | – คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตร – บันทึกการวิพากษ์หลักสูตร – รายงานผลการประเมินหลักสูตร |
ปรับปรุงหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของสังคม อย่างบูรณาการ | – ประเมินความพึงพอใจและความต้องการของผู้ใช้บัณฑิต
– ติดตามความเปลี่ยนแปลงความต้องการของสังคมและแนวโน้มในอนาคต | – รายงานผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต
– รายงานผลการประเมินหลักสูตร
|
พัฒนาบุคลากรด้านการเรียนการสอนและบริการวิชาการ ให้มีประสบการณ์จากการนำความรู้ทางสังคมไปปฏิบัติงานจริง | – จัดอบรมทักษะทางภาษาอังกฤษ และเทคนิคการสอน และรูปแบบการสอนสมัยใหม่ให้กับอาจารย์ประจำหลักสูตรและอาจารย์ผู้บรรยาย – จัดอบรมการพัฒนาผลงานทางวิชาการให้กับอาจารย์ประจำหลักสูตรและอาจารย์ผู้บรรยาย – สนับสนุนให้คณาจารย์นำความรู้และทักษะที่ตนเองมีความเชี่ยวชาญให้บริการวิชาการแก่สังคม | – รายงานผลการประเมินการสอน – หนังสือ/ตำรา/เอกสารประกอบการสอน
– ผลงานวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์และเผยแพร่ – งานวิจัยพัฒนาเทคนิควิธีการสอนรูปแบบการสอน |
หมวดที่ ๓
ระบบการจัดการศึกษา การดำเนินการและโครงสร้างของหลักสูตร
ระบบการจัดการศึกษา
๑. ระบบการจัดการศึกษา
๑.๑ ระบบ
ระบบการศึกษาใช้ระบบการศึกษาแบบทวิภาค โดย ๑ ปีการศึกษา แบ่งออกเป็น ๒ ภาคการศึกษาหนึ่งภาคการศึกษาปกติมีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า ๑๕ สัปดาห์ การศึกษาภาคฤดูร้อนกำหนดให้มีระยะเวลาและจำนวนหน่วยกิตเทียบเคียงกันได้กับการศึกษาภาคปกติ ทั้งนี้ข้อกำหนดต่าง ๆ ให้เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. ๒๕๖๑ (ตามเอกสารในภาคผนวก)
๑.๒ การจัดการศึกษาภาคฤดูร้อน
อาจจัดการศึกษาภาคฤดูร้อนโดยกำหนดให้มีระยะเวลาและจำนวนหน่วยกิตเทียบเคียงกันได้กับการศึกษาภาคปกติ การจัดการศึกษาภาคฤดูร้อน ไม่น้อยกว่า จำนวน ๘ สัปดาห์ ระหว่างเดือน มีนาคม – พฤษภาคม
๑.๓ การเทียบเคียงหน่วยกิตในระบบทวิภาค
– ไม่มี
๒. การดำเนินการหลักสูตร
๒.๑ วัน-เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน
ภาคต้น เดือนมิถุนายน – ตุลาคม
ภาคปลาย เดือนพฤศจิกายน – มีนาคม
๒.๒ การเปิดโอกาสให้ผู้เข้าศึกษา
– เฉพาะแบบศึกษาเต็มเวลา
๒.๓ คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
๒.๓.๑ คุณสมบัติของผู้สมัครเข้าศึกษาที่เป็นพระภิกษุ/สามเณร
๑) ต้องสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่า
๒) ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. ๒๕๖๑
๓) หรือ ต้องผ่านการคัดเลือกตามเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษากำหนด
๒.๓.๒ คุณสมบัติของผู้สมัครเข้าศึกษาที่เป็นคฤหัสถ์
๑) ต้องสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่า
๒) ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. ๒๕๖๑
๓) หรือ ต้องผ่านการคัดเลือกตามเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษากำหนด
๒.๔ ปัญหาของนิสิตแรกเข้า
นิสิตแรกเข้าศึกษาตามหลักสูตร มีพื้นฐานการเรียนรู้ที่ต่างกัน เนื่องจากระดับการศึกษาเทียบเท่าเพื่อสมัครเข้าศึกษามีมาตรฐานที่ต่างกัน ดังนี้
๒.๔.๑ วุฒิการศึกษาที่ใช้สมัครเรียนแตกต่างกัน
๒.๔.๒ ความแตกต่างด้านอายุ
๒.๔.๓ วิธีการเรียนรู้ในมหาวิทยาลัย
๒.๔.๔ ปัญหาการปรับตัวทางสังคม
๒.๔.๕ วิถีชีวิตประจำวัน
๒.๔.๖ ทักษะทางคณิตศาสตร์ ภาษาบาลีและภาษาอังกฤษ
๒.๔.๗ ความคาดหวังและเป้าหมายของการศึกษา
๒.๕ กลยุทธ์ในการดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหา / ข้อจำกัดของนิสิตในข้อ ๒.๓
๒.๕.๑ แยกกลุ่มนิสิตออกตามวุฒิการศึกษาที่ใช้สมัครเพื่อกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้เฉพาะกลุ่ม
๒.๕.๒ จัดกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเข้าศึกษา
๒.๕.๓ ประชาสัมพันธ์เทคนิคการสืบค้นข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย
๒.๕.๔ สร้างกลไกการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการปรับตัวทางสังคม
๒.๕.๕ จัดตั้งชมรมหรือหน่วยงานเพื่อให้นิสิตได้ให้ความช่วยเหลือกันและกัน
๒.๕.๖ จัดตารางสอนเสริมหรือจัดกิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อนเพื่อพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์ ภาษาบาลีและภาษาอังกฤษ
๒.๕.๗ ทำการศึกษาถึงความคาดหวังหรือเป้าหมายของการศึกษาของนิสิตเพื่อเป็นฐานข้อมูล
สำหรับการบริหารจัดการด้านวิชาการ
๒.๖ แผนการรับนิสิตและผู้สำเร็จการศึกษาในระยะ ๔ ปี
จำนวนนิสิต | จำนวนนิสิตแต่ละปีการศึกษา | ||||
๒๕๖๒ | ๒๕๖๓ | ๒๕๖๔ | ๒๕๖๕ | ๒๕๖๖ | |
ชั้นปีที่ ๑ | ๖๐ | ๖๐ | ๖๐ | ๖๐ | ๖๐ |
ชั้นปีที่ ๒ | – | ๖๐ | ๖๐ | ๖๐ | ๖๐ |
ชั้นปีที่ ๓ | – | – | ๖๐ | ๖๐ | ๖๐ |
ชั้นปีที่ ๔ | – | – | – | ๖๐ | ๖๐ |
รวม | ๖๐ | ๑๒๐ | ๑๘๐ | ๒๔๐ | ๒๔๐ |
คาดว่าจะจบการศึกษา | – | – | – | ๖๐ | ๖๐ |
๒.๗ งบประมาณตามแผน
๒.๗.๑ งบประมาณรายรับ (หน่วย : บาท)
รายละเอียดรายรับ | ปีงบประมาณ
| ||||
๒๕๖๒ | ๒๕๖๓ | ๒๕๖๔ | ๒๕๖๕ | ๒๕๖๖ | |
ค่าบำรุงการศึกษา | ๖๔๒,๐๐๐ | ๑,๑๖๗,๐๐๐ | ๑,๖๙๒,๐๐๐ | ๒,๒๑๗,๐๐๐ | ๒,๗๔๒,๐๐๐ |
ค่าลงทะเบียน | ๓๒๔,๐๐๐ | ๖๖๐,๐๐๐ | ๙๑๘,๐๐๐ | ๑,๑๗๖,๐๐๐ | ๑,๕๓๖,๐๐๐ |
เงินอุดหนุนจากรัฐบาล | ๔๘๐,๐๐๐ | ๙๖๐,๐๐๐ | ๑,๔๔๐,๐๐๐ | ๑,๙๒๐,๐๐๐ | ๒,๔๐๐,๐๐๐ |
รวมรายรับ | ๑,๔๔๖,๐๐๐ | ๒,๗๘๗,๐๐๐ | ๔,๐๕๐,๐๐๐ | ๕,๓๑๓,๐๐๐ | ๖,๖๗๘,๐๐๐ |
๒.๗.๒ งบประมาณรายจ่าย (หน่วย: บาท)
หมวด เงิน | ปีงบประมาณ | |||||
๒๕๖๒ | ๒๕๖๓ | ๒๕๖๔ | ๒๕๖๕ | ๒๕๖๖ | ||
ก. งบดำเนินการ | ||||||
๑. ค่าใช้จ่ายบุคลากร | ๑,๐๘๐,๐๐๐ | ๑,๐๘๐,๐๐๐ | ๑,๒๙๖,๐๐๐ | ๑,๗๒๘,๐๐๐ | ๒,๑๖๐,๐๐๐ | |
๒. ค่าใช้จ่ายดำเนินงาน | ๒๐๐,๐๐๐ | ๔๐๐,๐๐๐ | ๖๐๐,๐๐๐ | ๘๐๐,๐๐๐ | ๑,๐๐๐,๐๐๐ | |
๓. ทุนการศึกษา | ๓๐,๐๐๐ | ๖๐,๐๐๐ | ๙๐,๐๐๐ | ๑๒๐,๐๐๐ | ๑๕๐,๐๐๐ | |
๔. รายจ่ายระดับมหาวิทยาลัย | ๓๐๐,๐๐๐ | ๓๕๐,๐๐๐ | ๔๐๐,๐๐๐ | ๔๕๐,๐๐๐ | ๕๐๐,๐๐๐ | |
รวม (ก) | ๑,๖๑๐,๐๐๐ | ๑,๘๙๐,๐๐๐ | ๒,๓๘๖,๐๐๐ | ๓,๐๙๘,๐๐๐ | ๓,๘๑๐,๐๐๐ | |
ข. งบลงทุน | ||||||
ค่าครุภัณฑ์ | ๑๕,๐๐๐ | ๓๐,๐๐๐ | ๔๕,๐๐๐ | ๖๐,๐๐๐ | ๗๕,๐๐๐ | |
รวม (ข) | ๑๕,๐๐๐ | ๓๐,๐๐๐ | ๔๕,๐๐๐ | ๖๐,๐๐๐ | ๗๕,๐๐๐ | |
รวม (ก) + (ข) | ๑,๖๒๕,๐๐๐ | ๑,๙๒๐,๐๐๐ | ๒,๔๓๑,๐๐๐ | ๓,๑๕๘,๐๐๐ | ๓,๘๘๕,๐๐๐ | |
จำนวนนิสิต * | ๖๐ | ๑๒๐ | ๑๘๐ | ๒๔๐ | ๓๐๐ | |
ค่าใช้จ่ายต่อหัวนิสิต | ๒๗,๐๘๓ | ๑๖,๐๐๐ | ๑๓,๕๐๖ | ๑๓,๑๕๘ | ๑๒,๙๕๐ | |
๒.๘ ระบบการศึกษา
ระบบการศึกษาเป็นแบบชั้นเรียน และเป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. ๒๕๖๑
๒.๙ การเทียบโอนหน่วยกิต รายวิชาและการลงทะเบียนเรียนข้ามสถาบันอุดมศึกษา
นิสิตที่เคยศึกษาในหลักสูตรระดับเดียวกัน ซึ่งเป็นหลักสูตร ๔ ปี จากสถาบันอุดมศึกษาอื่นมาก่อน เมื่อเข้าศึกษาในหลักสูตรนี้ สามารถเทียบโอนหน่วยกิตได้ ทั้งนี้ เป็นไปตามข้อบังคับที่มหาวิทยาลัยกำหนด โดยให้เป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ว่าด้วยการโอนและการเทียบโอนผลการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ.๒๕๔๗ ระเบียบมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ว่าด้วยการโอนและการเทียบโอนผลการศึกษาระดับปริญญาตรี (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๕๑ และประกาศมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เรื่อง หลักเกณฑ์การโอนและการเทียบโอนผลการศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๑
๓. หลักสูตรและอาจารย์ผู้สอน
๓.๑ หลักสูตร
หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศึกษา ใช้ระยะเวลาในการสำเร็จการศึกษาไม่เกิน ๘ ปี
๓.๑.๑ จำนวนหน่วยกิต
จำนวนหน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตร ๑๕๖ หน่วยกิต
๓.๑.๒ โครงสร้างหลักสูตร
โครงสร้างหลักสูตร แบ่งเป็นหมวดวิชาที่สอดคล้องกับประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. ๒๕๕๘ ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาครุศาสตร์และสาขาศึกษาศาสตร์ (หลักสูตรสี่ปี) พ.ศ. ๒๕๖๒ ดังนี้
โครงสร้างหลักสูตร
๑. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป จำนวน ๓๐ หน่วยกิต
๑.๑ วิชาบังคับ ๑๘ หน่วยกิต
๑.๒ วิชาเลือก ๑๒ หน่วยกิต
๒. หมวดวิชาเฉพาะด้าน จำนวน ๑๒๐ หน่วยกิต
๒.๑ วิชากลุ่มพระพุทธศาสนา จำนวน ๒๔ หน่วยกิต
๒.๒ วิชาชีพครู จำนวน ๓๖ หน่วยกิต
๒.๒.๑ วิชาบังคับ ๒๔ หนว่ยกิต
๒.๒.๒ วิชาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ๑๒ หน่วยกิต
๒.๓ วิชาเฉพาะสาขา จำนวน ๖๐ หน่วยกิต
๒.๓.๑ วิชาเอก ๖๐ หน่วยกิต
๑) วิชาบังคับ ๔๐ หน่วยกิต
๒) วิชาเลือก ๒๐ หน่วยกิต
๓. หมวดวิชาเลือกเสรี จำนวน ๖ หน่วยกิต
รวมตลอดหลักสูตร จำนวน ๑๕๖ หน่วยกิต
๓.๑.๓ รายวิชาในหลักสูตร
๑) หมวดศึกษาทั่วไป
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ปรับปรุงจากโครงสร้างตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรปริญญาตรี พ.ศ. ๒๕๔๘ จาก ๔ กลุ่มวิชา คือ กลุ่มวิชาภาษา กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ และกลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ให้รวมเป็นวิชาบังคับ ๑๘ หน่วยกิต ซึ่งนิสิตทุกคณะต้องศึกษาให้ครบทุกรายวิชาและวิชาเลือกอีก ๑๒ หน่วยกิต รวมเป็น ๓๐ หน่วยกิต
๑. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ๓๐ หน่วยกิต
นิสิตทุกคณะต้องศึกษาหมวดวิชาศึกษาทั่วไป จำนวน ๓๐ หน่วยกิต ได้แก่
๑.๑ วิชาบังคับ จำนวน ๑๘ หน่วยกิต
๐๐๐ ๑๐๑ มนุษย์กับสังคม ๒(๒-๐-๔)
๐๐๐ ๑๐๒ กฎหมายทั่วไป ๒(๒-๐-๔)
๐๐๐ ๑๐๗ เทคนิคการศึกษาระดับอุดมศึกษา (๒)(๒-๐-๔)
๐๐๐ ๑๐๘ ปรัชญาเบื้องต้น ๒(๒-๐-๔)
๐๐๐ ๑๐๙ ศาสนาทั่วไป ๒(๒-๐-๔)
๐๐๐ ๑๑๔ ภาษากับการสื่อสาร ๒(๒-๐-๔)
๐๐๐ ๑๑๕ ภาษาศาสตร์เบื้องต้น ๒(๒-๐-๔)
๐๐๐ ๑๓๙ คณิตศาสตร์เบื้องต้น ๒(๒-๐-๔)
๐๐๐ ๒๑๐ ตรรกศาสตร์เบื้องต้น ๒(๒-๐-๔)
๐๐๐ ๒๓๘ สถิติเบื้องต้นและการวิจัย ๒(๒-๐-๔)
๑.๒ วิชาเลือก จำนวน ๑๒ หน่วยกิต
๐๐๐ ๑๐๓ การเมืองกับการปกครองของไทย ๒(๒-๐-๔)
๐๐๐ ๑๐๔ เศรษฐศาสตร์ในชีวิตประจำวัน ๒(๒-๐-๔)
๐๐๐ ๑๐๕ มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม ๒(๒-๐-๔)
๐๐๐ ๑๐๖ เหตุการณ์โลกปัจจุบัน ๒(๒-๐-๔)
๐๐๐ ๑๑๖ ภาษาอังกฤษเบื้องต้น ๒(๒-๐-๔)
๐๐๐ ๑๑๗ ภาษาอังกฤษชั้นสูง ๒(๒-๐-๔)
๐๐๐ ๑๑๘ ภาษาสันสกฤตเบื้องต้น ๒(๒-๐-๔)
๐๐๐ ๑๑๙ ภาษาสันสกฤตชั้นสูง ๒(๒-๐-๔)
๐๐๐ ๑๒๐ ภาษาไทยเบื้องต้น ๒(๒-๐-๔)
๐๐๐ ๑๒๑ ภาษาไทยชั้นสูง ๒(๒-๐-๔)
๐๐๐ ๑๒๘ ภาษาจีนเบื้องต้น ๒(๒-๐-๔)
๐๐๐ ๑๒๙ ภาษาจีนชั้นสูง ๒(๒-๐-๔)
๐๐๐ ๑๓๐ ภาษาญี่ปุ่นเบื้องต้น ๒(๒-๐-๔)
๐๐๐ ๑๓๑ ภาษาญี่ปุ่นชั้นสูง ๒(๒-๐-๔)
๐๐๐ ๑๓๕ ภาษาฮินดีเบื้องต้น ๒(๒-๐-๔)
๐๐๐ ๑๓๖ ภาษาฮินดีชั้นสูง ๒(๒-๐-๔)
๐๐๐ ๒๑๑ วัฒนธรรมไทย ๒(๒-๐-๔)
๐๐๐ ๒๑๒ มนุษย์กับอารยธรรม ๒(๒-๐-๔)
๐๐๐ ๒๑๓ ชีวิตกับจิตวิทยา ๒(๒-๐-๔)
๐๐๐ ๒๔๑ วิทยาศาสตร์กายภาพและประยุกต์วิทยา ๒(๒-๐-๔)
๐๐๐ ๒๔๒ พื้นฐานคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ๒(๒-๐-๔)
๐๐๐ ๒๖๔ สันติศึกษา ๒(๒-๐-๔)
๐๐๐ ๒๖๕ ภาวะผู้นำ ๒(๒-๐-๔)
๐๐๐ ๒๖๖ หลักธรรมาภิบาล ๒(๒-๐-๔)
๒. หมวดวิชาเฉพาะด้าน ๑๒๐ หน่วยกิต
๒.๑ วิชากลุ่มพระพุทธศาสนา จำนวน ๒๔ หน่วยกิต
นิสิตหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ต้องศึกษาวิชากลุ่มพระพุทธศาสนา จำนวนไม่น้อยกว่า ๒๔ หน่วยกิต ประกอบด้วย กลุ่มวิชาบาลีและพระพุทธศาสนา ๘ หน่วยกิต กลุ่มวิชาพระพุทธศาสนาทั่วไป ๑๒ หน่วยกิต และกลุ่มวิชาวิปัสสนาธุระ ๔ หน่วยกิต
ก. กลุ่มวิชาบาลีและพระพุทธศาสนา ๘ หน่วยกิต
๐๐๐ ๑๔๗ พระไตรปิฎกศึกษา ๒(๒-๐-๔)
๐๐๐ ๑๔๘ พระวินัยปิฎก ๒(๒-๐-๔)
๐๐๐ ๑๔๙ พระสุตตันตปิฎก ๒(๒-๐-๔)
๐๐๐ ๑๕๐ พระอภิธรรมปิฎก ๒(๒-๐-๔)
ข. กลุ่มวิชาพระพุทธศาสนาทั่วไป ๑๒ หน่วยกิต
๐๐๐ ๑๕๘ ประวัติพระพุทธศาสนา ๒(๒-๐-๔)
๐๐๐ ๒๕๙ เทศกาลและพิธีกรรมพระพุทธศาสนา ๒(๒-๐-๔)
๐๐๐ ๒๖๐ การปกครองคณะสงฆ์ไทย ๒(๒-๐-๔
๐๐๐ ๒๖๑ ธรรมะภาคภาษาอังกฤษ ๒(๒-๐-๔)
๐๐๐ ๒๖๒ ธรรมนิเทศ ๒(๒-๐-๔)
๐๐๐ ๒๖๓ งานวิจัยและวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา ๒(๒-๐-๔)
ค. กลุ่มวิชาวิปัสสนาธุระ ๔ หน่วยกิต
๐๐๐ ๑๕๑ ธรรมะภาคปฏิบัติ ๑ (๒)(๑-๒-๔)
๐๐๐ ๑๕๒ ธรรมะภาคปฏิบัติ ๒ ๑(๑-๒-๔)
๐๐๐ ๒๕๓ ธรรมะภาคปฏิบัติ ๓ (๒) (๑-๒-๔)
๐๐๐ ๒๕๔ ธรรมะภาคปฏิบัติ ๔ ๑(๑-๒-๔)
๐๐๐ ๓๕๕ ธรรมะภาคปฏิบัติ ๕ (๒)(๑-๒-๔)
๐๐๐ ๓๕๖ ธรรมะภาคปฏิบัติ ๖ ๑(๑-๒-๔)
๐๐๐ ๔๕๗ ธรรมะภาคปฏิบัติ ๗ ๑(๑-๒-๔)
๒.๒ วิชาชีพครู จำนวน ๓๖ หน่วยกิต
๒.๒.๑ วิชาบังคับ ๒๔ หน่วยกิต
๒๐๐ ๑๐๑ ความเป็นครูวิชาชีพ ๓(๓-๐-๖)
๒๐๐ ๑๐๒ ภาษาและวัฒนธรรม ๓(๒-๒-๕)
๒๐๐ ๑๐๔ จิตวิทยาสำหรับครู ๓(๒-๒-๕)
๒๐๐ ๒๐๔ ปรัชญาการศึกษาและการพัฒนาหลักสูตร ๓(๒-๒-๕)
๒๐๐ ๒๐๕ การออกแบบการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน ๓(๒-๒-๕)
๒๐๐ ๓๐๖ นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา ๓(๒-๒-๕)
๒๐๐ ๓๐๗ การวัดประเมินการเรียนรู้และคุณภาพของผู้เรียน ๓(๒-๒-๕)
๒๐๐ ๓๐๘ การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ๓(๒-๒-๕)
๒.๒.๒ วิชาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ๑๒ หน่วยกิต
๒๐๐ ๑๐๙ ปฏิบัติวิชาชีพในสถานศึกษา ๑ ๒ (๑-๒-๓)
๒๐๐ ๒๑๐ ปฏิบัติวิชาชีพในสถานศึกษา ๒ ๒ (๑-๒-๓)
๒๐๐ ๓๑๑ ปฏิบัติวิชาชีพในสถานศึกษา ๓ ๒ (๐-๔-๒)
๒๐๐ ๔๑๒ ปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา ๖ (๐-๑๘-๐)
๒.๓ วิชาเฉพาะสาขา ๖๐ หน่วยกิต
๒.๓.๑ วิชาเอก ๖๐ หน่วยกิต
๑) วิชาบังคับ ๔๐ หน่วยกิต
๒) วิชาเลือก ๒๐ หน่วยกิต
๑) วิชาบังคับ ๔๐ หน่วยกิต
๒๐๓ ๒๐๑ สังคมสมัยใหม่ ๓(๓-๐-๖)
๒๐๓ ๒๐๒ เศรษฐศาสตร์ร่วมสมัย ๓(๓-๐-๖)
๒๐๓ ๒๐๓ ประวัติศาสตร์ไทยเชิงวิเคราะห์ ๓(๓-๐-๖)
๒๐๓ ๒๐๔ ภูมิศาสตร์ประเทศไทย ๓(๓-๐-๖)
๒๐๓ ๓๐๕ พระพุทธศาสนากับการพัฒนาสังคม ๓(๓-๐-๖)
๒๐๓ ๓๐๖ ประวัติศาสตร์ร่วมสมัย ๓(๓-๐-๖)
๒๐๓ ๓๐๗ วิทยาการจัดการเรียนรู้ทางสังคมศึกษา ๒(๑-๒-๓)
๒๐๓ ๓๐๘ ความรู้ทั่วไปทางรัฐศาสตร์ ๓(๓-๐-๖)
๒๐๓ ๓๐๙ เทคโนโลยีภูมิศาสตร์สารสนเทศ ๓(๒-๒-๕)
๒๐๓ ๓๑๐ พลเมืองกับการพัฒนาสังคม ๓(๓-๐-๖)
๒๐๓ ๓๑๑ สื่อและนวัตกรรมการสอนสังคมศึกษา ๒(๑-๒-๓)
๒๐๓ ๓๑๒ ภาษาอังกฤษทางสังคมศึกษา ๓(๓-๐-๖)
๒๐๓ ๔๑๓ สัมมนาสังคมศึกษา ๓(๒-๒-๕)
๒๐๓ ๔๑๔ ศึกษาอิสระทางสังคมศึกษา ๓(๐-๖-๖)
๒) วิชาเลือก ๒๐ หน่วยกิต
๒๐๓ ๒๑๕ ภาษาอังกฤษสำหรับครูสังคมศึกษา ๑ ๒(๒-๐-๔)
๒๐๓ ๓๑๖ ภาษาอังกฤษสำหรับครูสังคมศึกษา ๒ ๒(๒-๐-๔)
๒๐๓ ๓๑๗ ภูมิศาสตร์กายภาพ ๒(๒-๐-๔)
๒๐๓ ๓๑๘ พุทธวิธีการสอน ๒(๑-๒-๓)
๒๐๓ ๓๑๙ ศาสนาสัมพันธ์ ๒(๒-๐-๔)
๒๐๓ ๔๒๐ ศาสตร์พระราชากับการพัฒนาสังคม ๒(๑-๒-๓)
๒๐๓ ๔๒๑ ท้องถิ่นศึกษา ๒(๑-๒-๓)
๒๐๓ ๔๒๒ พัฒนาการทางสังคมและวัฒนธรรมสมัยใหม่ ๒(๒-๐-๔)
๒๐๓ ๔๒๓ ประชากรกับสิ่งแวดล้อม ๒(๒-๐-๔)
๒๐๓ ๔๒๔ เพศวิถีกับความสัมพันธ์ยุคดิจิทัล ๒(๒-๐-๔)
๒๐๓ ๓๒๕ ประวัติศาสตร์เอเชีย ๒(๒-๐-๔)
๒๐๓ ๓๒๖ ประวัติศาสตร์อเมริกา ๒(๒-๐-๔)
๒๐๓ ๓๒๗ ประวัติศาสตร์ยุโรป ๒(๒-๐-๔)
๒๐๓ ๓๒๘ ภูมิศาสตร์โลก ๒(๒-๐-๔)
๒๐๓ ๓๒๙ อารยธรรมโลก ๒(๒-๐-๔)
๒๐๓ ๓๓๐ การใช้สื่อและเทคโนโลยีทางสังคมศึกษา ๒(๑-๒-๓)
๒๐๓ ๔๓๑ ภาวะผู้นำทางสังคม ๒(๒-๐-๔)
๒๐๓ ๔๓๒ การวิจัยทางสังคมศึกษา ๒(๑-๒-๓)
๒๐๓ ๔๓๓ จริยศาสตร์และจริยธรรมสิ่งแวดล้อม ๒(๒-๐-๔)
๒๐๓ ๔๓๔ การปกครองส่วนท้องถิ่น ๒(๒-๐-๔)
๒๐๓ ๔๓๕ การสอนเพื่อพัฒนาทักษะการคิด ๒(๒-๐-๔)
๒๐๓ ๔๓๖ เศรษฐกิจไทยกับเศรษฐกิจโลก ๒(๒-๐-๔)
๒๐๓ ๔๓๗ การจัดการทรัพยากรท้องถิ่น ๒(๒-๐-๔)
๒๐๓ ๔๓๘ อาเซียนศึกษา ๒(๒-๐-๔)
๒๐๓ ๔๓๙ ทรัพยากรธรรมชาติกับการพัฒนาประชากร ๒(๑-๒-๓)
๒๐๓ ๔๔๐ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ๒(๑-๒-๓)
๒๐๓ ๔๔๑ เศรษฐกิจพอเพียง ๒(๑-๒-๓)
๒๐๓ ๔๔๒ ศิลปกรรมในพระพุทธศาสนา ๒(๑-๒-๓)
๒๐๓ ๔๔๓ พระพุทธศาสนากับสถานการณ์ปัจจุบัน ๒(๑-๒-๓)
๒๐๓ ๔๔๔ พุทธธรรมกับชีวิต ๒(๒-๐-๔)
๓. หมวดวิชาเลือกเสรี จำนวน ๖ หน่วยกิต
นิสิตสาขาวิชาสังคมศึกษา ต้องเลือกศึกษารายวิชาเลือกวิชาเอก หรือรายวิชาอื่นๆ ที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จำนวนไม่น้อยกว่า ๖ หน่วยกิต โดยความเห็นชอบของอาจารย์ที่ปรึกษา
๓.๑.๔. แสดงแผนการศึกษา
ปีที่ ๑ ภาคการศึกษาที่ ๑ | ||
รหัสวิชา | รายวิชา | หน่วยกิต |
| ๑. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ๘ หน่วยกิต |
|
| ๑.๑ วิชาบังคับ ๖ หน่วยกิต |
|
๐๐๐ ๑๐๗ | เทคนิคการศึกษาระดับอุดมศึกษา | (๒)(๒-๐-๔) |
๐๐๐ ๑๐๘ | ปรัชญาเบื้องต้น | ๒(๒-๐-๔) |
๐๐๐ ๑๐๙ | ศาสนาทั่วไป | ๒(๒-๐-๔) |
๐๐๐ ๒๑๐ | ตรรกศาสตร์เบื้องต้น | ๒(๒-๐-๔) |
| ๑.๒ วิชาเลือก ๒ หน่วยกิต |
|
๐๐๐ ๑๑๖ | ภาษาอังกฤษเบื้องต้น | ๒(๒-๐-๔) |
| ๒. หมวดวิชาเฉพาะด้าน ๑๒ หน่วยกิต |
|
| ๒.๑ วิชากลุ่มพระพุทธศาสนา ๖ หน่วยกิต |
|
๐๐๐ ๑๔๗ | พระไตรปิฎกศึกษา** | ๒(๒-๐-๔) |
๐๐๐ ๑๕๘ | ประวัติพระพุทธศาสนา** | ๒(๒-๐-๔) |
๐๐๐ ๒๖๒ | ธรรมนิเทศ | ๒(๒-๐-๔) |
๐๐๐ ๑๕๑ | ธรรมะภาคปฏิบัติ ๑ | (๒)(๑-๒-๔) |
| ๒.๒ วิชาชีพครู ๖ หน่วยกิต |
|
| ๒.๒.๑ วิชาบังคับ ๖ หน่วยกิต |
|
๒๐๐ ๑๐๑ | ความเป็นครูวิชาชีพ | ๓(๓-๐-๖) |
๒๐๐ ๑๐๒ | ภาษาและวัฒนธรรม | ๓(๒-๒-๕) |
| รวมหน่วยกิต | ๒๐(๔) |
()ไม่นับหน่วยกิต **รายวิชาข้อสอบกลาง
ปีที่ ๑ ภาคการศึกษาที่ ๒ | ||
รหัสวิชา | รายวิชา | หน่วยกิต |
| ๑. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ๑๐ หน่วยกิต |
|
| ๑.๑ วิชาบังคับ ๔ หน่วยกิต |
|
๐๐๐ ๑๑๕ | ภาษาศาสตร์เบื้องต้น | ๒(๒-๐-๔) |
๐๐๐ ๑๓๙ | คณิตศาสตร์เบื้องต้น | ๒(๒-๐-๔) |
| ๑.๒ วิชาเลือก ๖ หน่วยกิต |
|
๐๐๐ ๑๐๓ | การเมืองกับการปกครองของไทย | ๒(๒-๐-๔) |
๐๐๐ ๑๑๗ | ภาษาอังกฤษชั้นสูง | ๒(๒-๐-๔) |
๐๐๐ ๒๑๑ | วัฒนธรรมไทย | ๒(๒-๐-๔) |
| ๒. หมวดวิชาเฉพาะด้าน ๑๒ หน่วยกิต |
|
| ๒.๑ วิชากลุ่มพระพุทธศาสนา ๗ หน่วยกิต |
|
๐๐๐ ๑๔๘ | พระวินัยปิฎก** | ๒(๒-๐-๔) |
๐๐๐ ๑๔๙ | พระสุตตันตปิฎก** | ๒(๒-๐-๔) |
๐๐๐ ๒๕๙ | เทศกาลและพิธีกรรมพระพุทธศาสนา | ๒(๒-๐-๔) |
๐๐๐ ๑๕๒ | ธรรมะภาคปฏิบัติ ๒ | ๑(๑-๒-๔) |
| ๒.๒ วิชาชีพครู ๕ หน่วยกิต |
|
| ๒.๒.๑ วิชาบังคับ ๓ หน่วยกิต |
|
๒๐๐ ๑๐๔ | จิตวิทยาสำหรับครู | ๓(๒-๒-๕) |
| ๒.๒.๒ วิชาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ๒ หน่วยกิต |
|
๒๐๐ ๑๐๙ | ปฏิบัติวิชาชีพในสถานศึกษา ๑ | ๒ (๑-๒-๓) |
| รวมหน่วยกิต | ๒๒ |
()ไม่นับหน่วยกิต **รายวิชาข้อสอบกลาง
ปีที่ ๒ ภาคการศึกษาที่ ๑ | ||
รหัสวิชา | รายวิชา | หน่วยกิต |
| ๑. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ๘ หน่วยกิต |
|
| ๑.๑ วิชาบังคับ ๔ หน่วยกิต |
|
๐๐๐ ๑๐๒ | กฎหมายทั่วไป | ๒(๒-๐-๔) |
๐๐๐ ๒๓๘ | สถิติเบื้องต้นและการวิจัย | ๒(๒-๐-๔) |
| ๑.๒ วิชาเลือก ๔ หน่วยกิต |
|
๐๐๐ ๑๐๔ | เศรษฐศาสตร์ในชีวิตประจำวัน | ๒(๒-๐-๔) |
๐๐๐ ๒๔๒ | พื้นฐานคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ | ๒(๒-๐-๔) |
| ๒. หมวดวิชาเฉพาะด้าน ๑๔ หน่วยกิต |
|
| ๒.๑ วิชากลุ่มพระพุทธศาสนา ๖ หน่วยกิต |
|
๐๐๐ ๒๖๐ | การปกครองคณะสงฆ์ไทย** | ๒(๒-๐-๔) |
๐๐๐ ๒๖๓ | งานวิจัยและวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา** | ๒(๒-๐-๔) |
๐๐๐ ๒๖๑ | ธรรมภาคภาษาอังกฤษ | ๒(๒-๐-๔) |
๐๐๐ ๒๕๓ | ธรรมภาคปฏิบัติ ๓ | (๒)(๑-๒-๔) |
| ๒.๒ วิชาชีพครู ๕ หน่วยกิต |
|
| ๒.๒.๑ วิชาบังคับ ๓ หน่วยกิต |
|
๒๐๐ ๒๐๕ | การออกแบบการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน | ๓(๒-๒-๕) |
| ๒.๒.๒ วิชาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ๒ หน่วยกิต |
|
๒๐๐ ๒๑๐ | ปฏิบัติวิชาชีพในสถานศึกษา ๒ | ๒ (๑-๒-๓) |
| ๒.๓ วิชาเฉพาะสาขา ๓ หน่วยกิต |
|
| ๒.๓.๑ วิชาเอก ๓ หน่วยกิต |
|
| ๑) วิชาบังคับ ๓ หน่วยกิต |
|
๒๐๓ ๒๐๑ | สังคมสมัยใหม่ | ๓(๓-๐-๖) |
| รวมหน่วยกิต | ๒๒(๒) |
()ไม่นับหน่วยกิต **รายวิชาข้อสอบกลาง
ปีที่ ๒ ภาคการศึกษาที่ ๒ | |||
รหัสวิชา | รายวิชา | หน่วยกิต | |
| ๑. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ๔ หน่วยกิต |
| |
| ๑.๑ วิชาบังคับ ๔ หน่วยกิต |
| |
๐๐๐ ๑๐๑ | มนุษย์กับสังคม** | ๒(๒-๐-๔) | |
๐๐๐ ๑๑๔ | ภาษากับการสื่อสาร** | ๒(๒-๐-๔) | |
| ๒. หมวดวิชาเฉพาะด้าน ๑๗ หน่วยกิต |
| |
| ๒.๑ วิชากลุ่มพระพุทธศาสนา ๓ หน่วยกิต |
| |
๐๐๐ ๑๕๐ | พระอภิธรรมปิฎก** | ๒(๒-๐-๔) | |
๐๐๐ ๒๕๔ | ธรรมภาคปฏิบัติ ๔ | ๑(๑-๒-๔) | |
| ๒.๒ วิชาชีพครู ๓ หน่วยกิต |
| |
| ๒.๒.๑ วิชาบังคับ ๓ หน่วยกิต |
| |
๒๐๐ ๒๐๔ | ปรัชญาการศึกษาและการพัฒนาหลักสูตร | ๓(๒-๒-๕) | |
| ๒.๓ วิชาเฉพาะสาขา ๑๑ หน่วยกิต |
| |
| ๒.๓.๑ วิชาเอก ๑๑ หน่วยกิต |
| |
| ๑) วิชาบังคับ ๙ หน่วยกิต |
| |
๒๐๓ ๒๐๒ | เศรษฐศาสตร์ร่วมสมัย | ๓(๓-๐-๖) | |
๒๐๓ ๒๐๓ | ประวัติศาสตร์ไทยเชิงวิเคราะห์ | ๓(๓-๐-๖) | |
๒๐๓ ๒๐๔ | ภูมิศาสตร์ประเทศไทย | ๓(๓-๐-๖) | |
| ๒) วิชาเลือก ๒ หน่วยกิต |
| |
๒๐๓ ๒๑๕ | ภาษาอังกฤษสำหรับครูสังคมศึกษา ๑ | ๒(๒-๐-๔) | |
| รวมหน่วยกิต | ๒๑ | |
()ไม่นับหน่วยกิต **รายวิชาข้อสอบกลาง
ปีที่ ๓ ภาคการศึกษาที่ ๑ | ||
รหัสวิชา | รายวิชา | หน่วยกิต |
| ๑. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป —- หน่วยกิต |
|
| ๒. หมวดวิชาเฉพาะด้าน ๒๒ หน่วยกิต |
|
| ๒.๑ วิชากลุ่มพระพุทธศาสนา — หน่วยกิต |
|
๐๐๐ ๓๕๕ | ธรรมะภาคปฏิบัติ ๕ | (๒)(๑-๒-๔) |
| ๒.๒ วิชาชีพครู ๘ หน่วยกิต |
|
| ๒.๒.๑ วิชาบังคับ ๖ หน่วยกิต |
|
๒๐๐ ๓๐๖ | นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา | ๓(๒-๒-๕) |
๒๐๐ ๓๐๗ | การวัดประเมินการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน | ๓(๒-๒-๕) |
| ๒.๒.๒ วิชาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ๒ หน่วยกิต |
|
๒๐๐ ๓๑๑ | ปฏิบัติวิชาชีพในสถานศึกษา ๓ | ๒(๐-๔-๒) |
| ๒.๓ วิชาเฉพาะสาขา ๑๔ หน่วยกิต |
|
| ๒.๓.๑ วิชาเอก ๑๔ หน่วยกิต |
|
| ๑) วิชาบังคับ ๘ หน่วยกิต |
|
๒๐๓ ๓๐๕ | พระพุทธศาสนากับการพัฒนาสังคม | ๓(๓-๐-๖) |
๒๐๓ ๓๐๖ | ประวัติศาสตร์ร่วมสมัย | ๓(๓-๐-๖) |
๒๐๓ ๓๐๗ | วิทยาการจัดการเรียนรู้ทางสังคมศึกษา | ๒(๑-๒-๓) |
| ๒) วิชาเลือก ๖ หน่วยกิต |
|
๒๐๓ ๓๑๗ | ภูมิศาสตร์กายภาพ | ๒(๒-๐-๔) |
๒๐๓ ๓๑๘ | พุทธวิธีการสอน | ๒(๑-๒-๓) |
๒๐๓ ๓๑๖ | ภาษาอังกฤษสำหรับครูสังคมศึกษา ๒ | ๒(๒-๐-๔) |
| รวมหน่วยกิต | ๒๒(๒) |
()ไม่นับหน่วยกิต
ปีที่ ๓ ภาคการศึกษาที่ ๒ | ||
รหัสวิชา | รายวิชา | หน่วยกิต |
| ๑. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป —- หน่วยกิต |
|
| ๒. หมวดวิชาเฉพาะด้าน ๒๐ หน่วยกิต |
|
| ๒.๑ วิชากลุ่มพระพุทธศาสนา ๑ หน่วยกิต |
|
๐๐๐ ๓๕๖ | ธรรมะภาคปฏิบัติ ๖ | ๑(๑-๒-๔) |
| ๒.๒ วิชาชีพครู ๓ หน่วยกิต |
|
| ๒.๒.๑ วิชาบังคับ ๓ หน่วยกิต |
|
๒๐๐ ๓๐๘ | การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ | ๓(๒-๒-๕) |
| ๒.๓ วิชาเฉพาะสาขา ๑๖ หน่วยกิต |
|
| ๒.๓.๑ วิชาเอก ๑๖ หน่วยกิต |
|
| ๑) วิชาบังคับ ๑๔ หน่วยกิต |
|
๒๐๓ ๓๐๘ | ความรู้ทั่วไปทางรัฐศาสตร์ | ๓(๓-๐-๖) |
๒๐๓ ๓๐๙ | เทคโนโลยีภูมิศาสตร์สารสนเทศ | ๓(๒-๒-๕) |
๒๐๓ ๓๑๐ | พลเมืองกับการพัฒนาสังคม | ๓(๓-๐-๖) |
๒๐๓ ๓๑๑ | สื่อและนวัตกรรมการสอนสังคมศึกษา | ๒(๑-๒-๓) |
๒๐๓ ๓๑๒ | ภาษาอังกฤษทางสังคมศึกษา | ๓(๓-๐-๖) |
| ๒) วิชาเลือก ๒ หน่วยกิต |
|
๒๐๓ ๓๑๙ | ศาสนาสัมพันธ์ | ๒(๒-๐-๔) |
| ๓. หมวดวิชาเลือกเสรี ๒ หน่วยกิต |
|
xxx xxx | xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx | ๒(๒-๐-๔) |
| รวมหน่วยกิต | ๒๒ |
ปีที่ ๔ ภาคการศึกษาที่ ๑ | ||
รหัสวิชา | รายวิชา | หน่วยกิต |
| ๑. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป —- หน่วยกิต |
|
| ๒. หมวดวิชาเฉพาะด้าน ๖ หน่วยกิต |
|
| ๒.๑ วิชากลุ่มพระพุทธศาสนา — หน่วยกิต |
|
| ๒.๒ วิชาชีพครู ๖ หน่วยกิต |
|
| ๒.๒.๑ วิชาบังคับ — หน่วยกิต |
|
| ๒.๒.๒ วิชาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ๖ หน่วยกิต |
|
๒๐๐ ๔๑๒ | ปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา | ๖(๐-๑๘-๐) |
| รวมหน่วยกิต | ๖ |
ปีที่ ๔ ภาคการศึกษาที่ ๒ | ||
รหัสวิชา | รายวิชา | หน่วยกิต |
| ๑. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป —- หน่วยกิต |
|
| ๒. หมวดวิชาเฉพาะด้าน ๑๗ หน่วยกิต |
|
| ๒.๑ วิชากลุ่มพระพุทธศาสนา ๑ หน่วยกิต |
|
๐๐๐ ๔๕๗ | ธรรมะภาคปฏิบัติ ๗ | ๑(๑-๒-๔) |
| ๒.๒ วิชาชีพครู — หน่วยกิต |
|
| ๒.๒.๑ วิชาบังคับ — หน่วยกิต |
|
| ๒.๒.๒ วิชาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ — หน่วยกิต |
|
| ๒.๓ วิชาเฉพาะสาขา ๑๖ หน่วยกิต |
|
| ๒.๓.๑ วิชาเอก ๑๖ หน่วยกิต |
|
| ๑) วิชาบังคับ ๖ หน่วยกิต |
|
๒๐๓ ๔๑๓ | สัมมนาทางสังคมศึกษา | ๓(๒-๒-๕) |
๒๐๓ ๔๑๔ | ศึกษาอิสระทางสังคมศึกษา | ๓(๐-๖-๖) |
| ๒) วิชาเลือก ๑๐ หน่วยกิต |
|
๒๐๓ ๔๒๐ | ศาสตร์พระราชากับการพัฒนาสังคม | ๒(๑-๒-๓) |
๒๐๓ ๔๒๑ | ท้องถิ่นศึกษา | ๒(๑-๒-๓) |
๒๐๓ ๔๒๒ | พัฒนาการทางสังคมและวัฒนธรรมสมัยใหม่ | ๒(๒-๐-๔) |
๒๐๓ ๔๒๓ | ประชากรกับสิ่งแวดล้อม | ๒(๒-๐-๔) |
๒๐๓ ๔๒๔ | เพศวิถีและความสัมพันธ์ยุคดิจิทัล | ๒(๒-๐-๔) |
| ๓. หมวดวิชาเลือกเสรี ๔ หน่วยกิต |
|
xxx xxx | xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx | ๒(๒-๐-๔) |
xxx xxx | xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx | ๒(๒-๐-๔) |
| รวมหน่วยกิต | ๒๑ |
๓.๑.๕ คำอธิบายรายวิชา
คำอธิบายรายวิชาในหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (ตามเอกสารในภาคผนวก ก)
๓.๒ ชื่อ สกุล เลขประจำตัวบัตรประชาชน ตำแหน่ง และคุณวุฒิของอาจารย์
๓.๒.๑ อาจารย์ประจำหลักสูตร
ตำแหน่งทางวิชาการ | ชื่อสกุล | คุณวุฒิ สาขาวิชา | สำเร็จการศึกษาจาก | |
สถาบัน | ปี | |||
อาจารย์ | นายปภังกร (สายบัว) ๒-๔๗๐๖-๐๐๐๑๗-๗๙-๙ | พธ.ม. (การสอนสังคมศึกษา) พธ.บ. (สังคมศึกษา) | ม.มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ม.มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย | ๒๕๖๐ ๒๕๕๗ |
อาจารย์ | นายมาวิน โทแก้ว ๒-๓๙๐๕-๐๐๐๐๑-๙๖-๔ | พธ.ม. (การสอนสังคมศึกษา) พธ.บ. (สังคมศึกษา) | ม.มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ม.มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย | ๒๕๖๑ ๒๕๕๘ |
อาจารย์ | พระวิรพันธ์ ติกฺขปญโญ (เสียงเย็น) ๕- ๔๙๐๓-๐๐๐๒๙-๑๘-๔ | พธ.ม. (การสอนสังคมศึกษา) พธ.บ. (พระพุทธศาสนา) | ม.มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ม.มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย | ๒๕๖๑ ๒๕๕๘ |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ | นายลิขสิทธิ์ สิงห์งอย ๓-๔๘๐๘-๐๐๐๖๓-๖๖-๑ | กศ.ม.(เทคโนโลยีการศึกษา) พธ.บ. (สังคมศึกษา) | มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ม.มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย | ๒๕๔๒ ๒๕๔๐ |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ | พระครูสิริเจติยานุกิจ (วรรณชัย ชยวณฺโณ),ผศ.ดร. ๓-๔๘๐๑-๐๐๕๐๘-๐๒-๓ | ศษ.ด. (หลักสูตรและการสอน) M.A.(Linguistics) พธ.บ. (ภาษาอังกฤษ) | ม.เกษตรศาสตร์ Delhi University, India, ม.มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย | ๒๕๕๐ ๒๕๓๙ ๒๕๓๕ |
๓.๒.๒ อาจารย์พิเศษ
วิทยาลัยสงฆ์นครพนม จะนิมนต์และเชิญผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาสังคมศึกษาซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในระดับอุดมศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน เชิญผู้เชี่ยวชาญในสถานศึกษาเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชนและเป็นไปตามที่อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรและอาจารย์ประจำหลักสูตรพิจารณาเห็นสมควร
๔. องค์ประกอบเกี่ยวกับการฝึกภาคสนาม (การฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู)
ตลอดระยะเวลาการศึกษา นิสิตคณะครุศาสตร์ วิทยาลัยสงฆ์นครพนม ได้ออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพโดยตรงกับสถานศึกษา ซึ่งเป็นการเพิ่มพูนประสบการณ์ และทักษะการเป็นครูมืออาชีพ และจากผลการประเมินความพึงพอใจจากผู้ใช้บัณฑิต สถานศึกษา และสถานประกอบการมีความพึงพอใจในการใช้บัณฑิตอยู่ในระดับดี ซึ่งนิสิตทุกคนปฏิบัติวิชาชีพในสถานศึกษา ๑ ปฏิบัติวิชาชีพในสถานศึกษา ๒ ปฏิบัติวิชาชีพในสถานศึกษา ๓ ปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา (รวม ๔ ภาคการศึกษา)
การจัดให้นิสิตปฏิบัติวิชาชีพในสถานศึกษาและปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา รวมจำนวน ๔ ภาคการศึกษา ภายใต้การนิเทศร่วมระหว่างมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยกับสถานศึกษา โดยเน้นการปฏิบัติงานในหน้าที่ครู ได้แก่
– ปฏิบัติการสอนในชั้นเรียน
– การวิจัยในชั้นเรียน
– การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
– งานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
– งานบริหารของโรงเรียน
– ศึกษาและบริการชุมชน
– งานด้านวิชาการ
– งานอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมาย
วิธีการจัดการเรียนการสอน
– การปฐมนิเทศนิสิตก่อนไปปฏิบัติการสอนและฝึกประสบการณ์
– การสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมและศึกษางานอาจารย์นิเทศก์ประจำโรงเรียน
– การปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนและงานวิจัยในชั้นเรียน กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน การบริหารของโรงเรียน ศึกษาและบริการชุมชน งานอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมาย
๔.๑ มาตรฐานผลการเรียนรู้ของประสบการณ์ภาคสนาม
๔.๑.๑ มีวินัย คุณธรรม จริยธรรม และประพฤติตนอยู่ในจรรยาบรรณวิชาชีพ
๔.๑.๒ มีสถานะในการปฏิบัติหน้าที่รวมทั้งพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนให้บังเกิดต่อการศึกษาและผู้อื่น
๔.๑.๓ มีสถานะประจำสายงานและสมรรถนะเฉพาะของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ ได้แก่
๔.๑.๓.๑ ความรู้เกี่ยวกับหลักสูตรและมาตรฐานการเรียนรู้
๔.๑.๓.๒ การออกแบบการจัดการเรียนรู้และการจัดการเรียนการสอนตามกลุ่มสาระ
๔.๑.๓.๓ การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมพัฒนาผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๔.๑.๓.๔ การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้
๔.๑.๓.๕ การแก้ปัญหาและพัฒนางานด้วยกระบวนการวิจัย
๔.๒ ช่วงเวลา
๔.๒.๑ ปฏิบัติวิชาชีพในสถานศึกษา ๑ ครั้งที่ ๑ ในภาคการศึกษาที่ ๒ ปีที่ ๑ (เวลาไม่น้อยกว่า ๕ สัปดาห์ หรือ จำนวนไม่น้อยกว่า ๑๒๐ ชั่วโมง)
๔.๒.๒ ปฏิบัติวิชาชีพในสถานศึกษา ๒ ครั้งที่ ๒ ในภาคการศึกษาที่ ๑ ปีที่ ๒ (เวลาไม่น้อยกว่า ๕ สัปดาห์ หรือ จำนวนไม่น้อยกว่า ๑๒๐ ชั่วโมง)
๔.๒.๓ ปฏิบัติวิชาชีพในสถานศึกษา ๓ ครั้งที่ ๓ ในภาคการศึกษาที่ ๑ ปีที่ ๓ (เวลาไม่น้อยกว่า ๕ สัปดาห์ หรือ จำนวนไม่น้อยกว่า ๑๒๐ ชั่วโมง)
๔.๒.๔ ปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา ครั้งที่ ๔ ในภาคการศึกษาที่ ๑ ปีที่ ๔ (เวลา ๑๘ สัปดาห์ หรือ จำนวนไม่น้อยกว่า ๕๔๐ ชั่วโมง)
๔.๓ การจัดเวลาและตารางสอน
๔.๓.๑ การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ จัดให้ฝึกประสบการณ์ในสถานศึกษา ๔ – ๖ ชั่วโมง/สัปดาห์ ประมาณ ๕ สัปดาห์/ภาคการศึกษา ในรายวิชา
๒๐๐ ๑๐๙ ปฏิบัติวิชาชีพในสถานศึกษา ๑ ๒ (๑-๒-๓)
๒๐๐ ๒๑๐ ปฏิบัติวิชาชีพในสถานศึกษา ๒ ๒ (๑-๒-๓)
๒๐๐ ๓๑๑ ปฏิบัติวิชาชีพในสถานศึกษา ๓ ๒ (๐-๔-๒)
๔.๓.๒ การปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา จัดให้ปฏิบัติการสอนสถานศึกษา ๑ ภาคการศึกษา เต็มเวลาในรายวิชา
๒๐๐ ๔๑๒ ปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา ๖ (๐-๑๘-๐)
๕. ข้อกำหนดเกี่ยวกับการทำโครงงานหรืองานวิจัย
ข้อกำหนดเกี่ยวกับการทำโครงงาน มุ่งเน้นในรายวิชาเฉพาะสาขา มีรายวิชาการศึกษาอิสระทางการสังคมศึกษา เป็นต้น และทำการวิจัยในชั้นเรียนสำหรับวิชาชีพครู ในชั้นปีที่ ๔ ซึ่งเป็นปีปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาภายใต้การแนะนำของอาจารย์ที่ปรึกษา และอาจารย์นิเทศ
๕.๑ คำอธิบายโดยย่อ
โครงงานสาขาวิชาสังคมศึกษา นิสิตสามารถเลือกหัวข้อที่สนใจในรายวิชาที่ลงทะเบียนเรียนโดยมีอาจารย์ประจำวิชาเป็นที่ปรึกษาหรืออาจารย์ท่านอื่นที่มีความเชี่ยวชาญเป็นที่ปรึกษา ส่วนการวิจัยในชั้นเรียนนั้นนิสิตครูต้องกำหนดปัญหาการวิจัยตามสภาพจริงของนักเรียนที่ตนปฏิบัติการสอนในฐานะครูตามสถานศึกษา
๕.๒ มาตรฐานผลการเรียนรู้
นิสิตมีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการวิจัย สามารถทำวิจัยทางการศึกษาและวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
๕.๓ ช่วงเวลา
ภาคการศึกษาที่ ๒ ของชั้นปีที่ ๑ และภาคการศึกษาที่ ๑ ของชั้นปีที่ ๒-๔
๕.๔ จำนวนหน่วยกิต
จำนวน ๑๒ หน่วยกิต
๕.๕ การเตรียมการ
มีการปฐมนิเทศนิสิต อาจารย์นิเทศก์ ครูพี่เลี้ยง และผู้บริหารสถานศึกษา ในการเป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนำการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ การทำวิจัยในชั้นเรียน ตลอดเวลาระยะเวลาที่ปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา
๕.๖ กระบวนการประเมินผล
ประเมินผลจากความก้าวหน้าในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ การทำวิจัยในชั้นเรียน จากรายงานผลการพัฒนางานโดยนำเสนอในรูปแบบของเอกสารประกอบการประเมิน รายงานการวิจัยในชั้นเรียน และนำเสนอผลงานในการสัมมนาหลังการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู โดยอาจารย์นิเทศก์และครูพี่เลี้ยง เป็นผู้ประเมินผลงานตามเกณฑ์การประเมินการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู การปฏิบัติงานวิจัยในชั้นเรียนของฝ่ายฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ วิทยาลัยสงฆ์นครพนม
หมวดที่ ๔
ผลการเรียนรู้กลยุทธ์การสอนและการประเมินผล
๑. การพัฒนาคุณลักษณะพิเศษของนิสิต
คุณลักษณะพิเศษ | กลยุทธ์หรือกิจกรรมของนิสิต |
ด้านบุคลิกภาพ | – มีการสอดแทรกเรื่องการสำรวมในสมณภาวะ การครองจีวร หรือ การแต่งกาย การเข้าสังคม และศาสนพิธี เทคนิคการพูด การสื่อสาร การมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี และการวางตัวในการทำงานในบางรายวิชา และในโครงการ/กิจกรรม – มีการจัดโครงการ/กิจกรรมที่พัฒนานิสิตด้านบุคลิกภาพ เช่น โครงการปฐมนิเทศ โครงการเตรียมความพร้อม โครงการพัฒนาบุคลิกภาพความเป็นครู และโครงการ/กิจกรรมเสริมความเป็นครู |
ด้านภาวะผู้นำ และความรับผิดชอบตลอดจนมีวินัยในตนเอง | – ในรายวิชามีการกำหนดให้นิสิตทำงานเป็นกลุ่ม มีหัวหน้ากลุ่ม มีรองหัวหน้า มีเลขานุการกลุ่ม – ในรายวิชาและในหลักสูตรมีการกำหนดให้นิสิตจัดโครงการ/กิจกรรมจิตอาสา โครงการ/กิจกรรมพัฒนาชุมชนและโรงเรียน โครงการ/กิจกรรมสัมมนาวิชาการ โครงการกิจกรรมศึกษาดูงาน และโครงการ/กิจกรรมเสริมความเป็นครู |
ทักษะ IT | – ในรายวิชามีการให้นิสิตใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการค้นคว้าข้อมูล และนำเสนอรายงาน หาข้อมูลเพื่อศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมเพื่อพัฒนาทักษะทางวิชาชีพ เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ – ในรายวิชามีการใช้ไลน์ (Line) ใช้เฟสบุ๊ค (facebook) ใช้ยูทูป (YouTube) และใช้นวัตกรรมการและเทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่อื่นๆ ในการเรียนการสอน และการบรรยาย – มีการจัดโครงการ/กิจกรรมอบรมมทักษะการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาและการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสอน และโครงการ/กิจกรรมเสริมความเป็นครูสมัยใหม่ |
จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ | – มีการสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ และความเป็นครูอยู่เกือบทุกรายวิชาที่มีการจัดการเรียนการสอน โดยคณาจารย์ผู้สอนทุกท่านมีการสอดแทรกอยู่ในการบรรยาย อยู่ในกิจกรรมการสอน – ในการจัดโครงการ/กิจกรรมที่ทางหลักสูตร/ทางวิทยาลัยสงฆ์นครพนม ดำเนินการจัดให้มีการสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ จากการฟังการบรรยาพิเศษจากประธานเปิดโครงการ/กิจกรรม จากวิทยากรพิเศษที่ทางหลักสูตร/วิทยาลัยสงฆ์นครพนมเชิญมา เช่น โครงการปฐมนิเทศนิสิตใหม่ โครงการเตรียมความพร้อม โครงการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน โครงการจิตอาสาพัฒนาชุมชนและโรงเรียน โครงการปฐมนิเทศนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพในสถานศึกษา โครงการสัมมนานิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพในสถานศึกษา โครงการปฐมนิเทศนิสิตปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา โครงการสัมมนานิสิตปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา ฯลฯ และโครงการ/กิจกรรมเสริมความเป็นครูต่างๆ |
๒. มาตรฐานผลการเรียนรู้ในแต่ละด้าน
๒.๑ หมวดวิชาศึกษาทั่วไปและวิชากลุ่มพระพุทธศาสนา
๑) ด้านคุณธรรม จริยธรรม
๑.๑) ผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม
(๑) มีศีลธรรม และศรัทธาอุทิศตนเพื่อพระพุทธศาสนา
(๒) มีจิตสาธารณะและเสียสละเพื่อส่วนรวม
(๓) เคารพสิทธิ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
(๔) เห็นคุณค่าศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
(๕) ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีต่อสังคม ชาติ ศาสนา
๑.๒) กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม
(๑) สอดแทรกเรื่องศีลธรรม ศรัทธา จิตสาธารณะและการเสียสละเพื่อส่วนรวมในการเรียนการสอน
(๒) การเป็นต้นแบบที่ดีของผู้สอน
(๓) เรียนรู้จากกรณีตัวอย่างประเด็นปัญหาทางด้านศีลธรรม เพื่อให้ผู้เรียนฝึกการแก้ปัญหา
(๔) เรียนรู้จากสถานการณ์จริง และจัดกิจกรรมในชั้นเรียนหรือนอกชั้นเรียน
๑.๓) กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม
(๑) สังเกตพฤติกรรมของนิสิตในชั้นเรียนหรือนอกชั้นเรียนอย่างต่อเนื่อง
(๒) อภิปราย รายงาน การนำเสนอและการตอบคำถาม
(๓) พิจารณาจากผลการเข้าร่วมกิจกรรมของนิสิต
(๔) นิสิตประเมินตนเอง เพื่อนประเมินเพื่อน
๒) ด้านความรู้
๒.๑) ผลการเรียนรู้ด้านความรู้
(๑) มีความรู้ ความเข้าใจหลักการ ทฤษฎีและเนื้อหา
(๒) ใช้ความรู้มาอธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างมีเหตุผล
(๓) สามารถนำความรู้มาปรับใช้ในการดำเนินชีวิตได้
(๔) มีความรอบรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงทั้งของไทยและของโลก
(๕) รู้จักแสวงหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
๒.๒) กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้ด้านความรู้
(๑) สอนแบบบรรยายและใช้โจทย์ปัญหา
(๒) สอนโดยใช้กรณีศึกษา
(๓) เรียนรู้โดยการปฏิบัติ
(๔) เรียนรู้แบบร่วมมือ
(๕) ศึกษาดูงาน
๒.๓) กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านความรู้
(๑) ทดสอบย่อย
(๒) สอบกลางภาคและปลายภาคเรียน
(๓) ผลการรายงานหรืองานที่มอบหมาย
(๔) นำเสนอผลงาน
๓) ด้านทักษะทางปัญญา
๓.๑) ผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา
(๑) สามารถค้นหาข้อมูล ทำความเข้าใจ และประเมินข้อมูลจากหลักฐาน
(๒) สามารถวิเคราะห์และสังเคราะห์อย่างเป็นระบบและมีเหตุผล
(๓) สามารถประยุกต์ความรู้และทักษะเพื่อแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม
๓.๒) กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา
(๑) สอนแบบบรรยายโดยใช้ภาพประกอบ
(๒) สอนโดยใช้กรณีศึกษา
(๓) เรียนรู้โดยการปฏิบัติ
(๔) เรียนรู้แบบร่วมมือ
(๕) ศึกษาดูงาน
๓.๓) กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา
(๑) ทดสอบย่อย
(๒) สอบกลางภาคและปลายภาคเรียน
(๓) ผลการรายงานหรืองานที่มอบหมาย
(๔) นำเสนอผลงาน
๔) ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
๔.๑) ผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
(๑) สามารถทำงานเป็นทีม
(๒) เป็นสมาชิกที่ดีของกลุ่มทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตาม
(๓) มีมนุษยสัมพันธ์ รู้จักควบคุมอารมณ์และยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล
(๔) รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
๔.๒) กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
(๑) มอบหมายงานกลุ่ม
(๒) สอนจากสภาพจริงที่เกิดขึ้นในชุมชนและสังคม
(๓) จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียน
(๔) ศึกษาดูงาน
๔.๓) กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
(๑) สังเกตพฤติกรรมและการแสดงออกระหว่างการเรียนการสอนและการทำงานร่วมกับเพื่อน
(๒) ประเมินผลงานที่ได้รับมอบหมาย
(๓) พิจารณาจากผลการเข้าร่วมกิจกรรมของนิสิต
๕) ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
๕.๑) ผลการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
(๑) ใช้ทักษะวิเคราะห์เชิงตัวเลขได้
(๒) ใช้ภาษาในการติดต่อสื่อความหมายได้ดี ทั้งการฟัง พูด อ่านและเขียน
(๓) ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสม
๕.๒) กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
(๑) สอนโดยการฝึกปฏิบัติ
(๒) มอบหมายงานค้นคว้าความรู้จากแหล่งข้อมูลต่างๆ
(๓) นำเสนองานโดยใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
๕.๓) กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
(๑) ทดสอบย่อย
(๒) สอบกลางภาคและปลายภาคเรียน
(๓) ผลการรายงานหรืองานที่มอบหมาย
(๔) นำเสนอผลงาน
๒.๒ หมวดวิชาเฉพาะด้าน วิชาชีพครู และวิชาเอก
๑) ด้านคุณธรรม จริยธรรม
๑.๑) ผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม
(๑) รัก ศรัทธาและภูมิใจในวิชาชีพครู มีจิตวิญญาณและอุดมการณ์ความเป็นครูและปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพครู
(๒) มีจิตอาสา จิตสาธารณะ อดทนอดกลั้น มีความเสียสละ รับผิดชอบและซื่อสัตย์ต่องาน ที่ได้รับมอบหมายทั้งด้านวิชาการและวิชาชีพ และสามารถพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ ครอบครัว สังคมและประเทศชาติ และเสริมสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน
(๓) มีค่านิยมและคุณลักษณะเป็นประชาธิปไตย คือ การเคารพสิทธิ และให้เกียรติคนอื่น มีความสามัคคีและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ ใช้เหตุผลและปัญญาในการดำเนินชีวิตและการตัดสินใจ
(๔) มีความกล้าหาญและแสดงออกทางคุณธรรมจริยธรรม สามารถวินิจฉัย จัดการและคิดแก้ปัญหาทางคุณธรรมจริยธรรมด้วยความถูกต้องเหมาะสมกับสังคม การทำงานและสภาพแวดล้อม โดยอาศัยหลักการ เหตุผลและใช้ดุลยพินิจทางค่านิยม บรรทัดฐานทางสังคม ความรู้สึกของผู้อื่นและประโยชน์ของสังคมส่วนรวม มีจิตสำนึกในการธำรงความโปร่งใสของสังคมและประเทศชาติ ต่อต้านการทุจริตคอรัปชั่นและความไม่ถูกต้อง ไม่ใช้ข้อมูลบิดเบือน หรือการลอกเลียนผลงาน
๑.๒) กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม
(๑) การวิเคราะห์แบบวิภาษวิธี (Dialectics) ในประเด็นวิกฤตด้านคุณธรรมจริยธรรมของสังคมและวิชาการ รวมทั้งประเด็นวิกฤตจรรยาบรรณของวิชาชีพครู
(๒) การเรียนรู้โดยการปฏิสัมพันธ์เชิงปฏิบัติการ (Interaction Action Learning)
(๓) การเรียนรู้จากกรณีศึกษา (Case Study)
(๔) การเรียนรู้จากกระบวนการกระจ่างค่านิยม (Value Clarification)
(๕) การเรียนรู้โดยบูรณาการการปฏิบัติงานจริงในสถานศึกษา (Work-Integrated Learning : WIL)
(๖) การบรรยายเชิงปฏิสัมพันธ์ (Interactive lecture)
(๗) การเรียนรู้โดยใช้ฉากทัศน์เป็นพื้นฐาน (Scenario-based learning)
(๘) การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based learning)
(๙) การเข้าร่วมกิจกรรมเสริมความเป็นครูเป็นรายปีตลอดหลักสูตร
๑.๓) กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม
(๑) วัดและประเมินจากการสังเกตพฤติกรรมในขณะทำงานตามสภาพจริง (Authentic Approach)
(๒) วัดและประเมินจากผลการวิเคราะห์แบบวิภาษวิธี
(๓) วัดและประเมินจากกลุ่มเพื่อน
(๔) วัดและประเมินจากผลงานกรณีศึกษา
(๕) วัดและประเมินโดยใช้แบบวัดคุณธรรมจริยธรรม
(๖) วัดและประเมินค่านิยมและความเป็นครูจากผลการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา
(๗) วัดและประเมินจากผลการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมความเป็นครูเป็นรายปีตลอดหลักสูตร
๒) ด้านความรู้
๒.๑) ผลการเรียนรู้ด้านความรู้
(๑) มีความรอบรู้ในหลักการ แนวคิด ทฤษฎี เนื้อหาสาระด้านวิชาชีพของครู อาทิ ค่านิยมของครู คุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณ จิตวิญญาณครู ปรัชญาความเป็นครูจิตวิทยาสำหรับครู จิตวิทยาพัฒนาการ จิตวิทยาการเรียนรู้เพื่อจัดการเรียนรู้และช่วยเหลือ แก้ไขปัญหาส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนหลักสูตรและวิทยาการการจัดการเรียนรู้ นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารการศึกษาและการเรียนรู้การวัดประเมินการศึกษาและการเรียนรู้การวิจัยและการพัฒนานวัตกรรมเพื่อพัฒนาผู้เรียนและภาษาเพื่อการสื่อสารสำหรับครูทักษะการนิเทศและการสอนงาน ทักษะเทคโนโลยีและดิจิทัล ทักษะการทำงานวิจัยและวัดประเมิน ทักษะการร่วมมือสร้างสรรค์ และทักษะศตวรรษที่ ๒๑ มีความรู้ ความเข้าใจในการบูรณาการความรู้กับการปฏิบัติจริงและการบูรณาการข้ามศาสตร์ อาทิ การบูรณาการการสอน (TPCK) การสอนแบบ STEM ชุมชนแห่งการเรียนรู้ (PLC) และมีความรู้ในการประยุกต์ใช้
(๒) มีความรอบรู้ในหลักการ แนวคิด ทฤษฎี เนื้อหาวิชาที่สอน สามารถวิเคราะห์ความรู้ และเนื้อหาวิชาที่สอนอย่างลึกซึ้งสามารถติดตามความก้าวหน้าด้านวิทยาการและนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาผู้เรียนโดยมีผลลัพธ์การเรียนรู้และเนื้อหาสาระด้านมาตรฐานผลการเรียนรู้ด้านความรู้ของแต่ละสาขาวิชาตามเอกสารแนบท้าย
(๓) มีความรู้ เข้าใจชีวิต เข้าใจชุมชน เข้าใจโลกและการอยู่ร่วมกันบนพื้นฐานความแตกต่างทางวัฒธรรม สามารถเผชิญและเท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม และสามารถนำแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตและพัฒนาตน พัฒนางานและพัฒนาผู้เรียน
(๔) มีความรู้และความสามารถในการใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ตามมาตรฐาน
๒.๒) กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้ด้านความรู้
(๑) การจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีสรรสร้างนิยม (Constructivism) โดยให้ผู้เรียนวิเคราะห์และสังเคราะห์องค์ความรู้ด้วยตนเอง
(๒) การเรียนรู้โดยใช้การสืบสอบ (Inquiry-Based Learning)
(๓) การเรียนรู้แบบรวมพลัง (Collaborative Learning)
(๔) การเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-Based Learning)
(๕) การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-Based Learning)
(๖) การเรียนรู้แบบผสมผสาน (Blended Learning) โดยบูรณาการเทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับการเรียนรู้ด้วยตนเองนอกชั้นเรียนและเรียนร่วมกันในชั้นเรียน
(๗) การเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom)
(๘) การเรียนรู้โดยบูรณาการการปฏิบัติงานจริงในสถานศึกษา (Work-Integrated Learning : WIL)
(๙) การเรียนรู้โดยใช้ฉากทัศน์เป็นพื้นฐาน (Scenario-based learning )
(๑๐) การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based learning)
(๑๑) การเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน (Phenomenon-based learning )
(๑๒) การเข้าร่วมกิจกรรมเสริมความเป็นครูเป็นรายปีตลอดหลักสูตร
๒.๓) กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านความรู้
(๑) วัดและประเมินจากการปฏิบัติตามสภาพจริงหรือในห้องปฏิบัติการ
(๒) วัดและประเมินจากการวิเคราะห์และสังเคราะห์องค์ความรู้
(๓) วัดและประเมินจากผลการทบทวนวรรณกรรมและสรุปสาระสำคัญของความรู้
(๔) วัดและประเมินจากการนำเสนอโครงงานหรือรายงานการค้นคว้า
(๕) วัดและประเมินจากผลการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา
(๖) วัดและประเมินจากผลการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมความเป็นครูเป็นรายปีตลอดหลักสูตร
๓) ด้านทักษะทางปัญญา
๓.๑) ผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา
(๑) คิด ค้นหา วิเคราะห์ข้อเท็จจริง และประเมินข้อมูล สื่อ สารสนเทศจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายอย่างรู้เท่าทันเป็นพลเมืองตื่นรู้ มีสำนึกสากล สามารถเผชิญและก้าวทันกับการเปลี่ยนแปลงในโลกยุคดิจิทัล เทคโนโลยีข้ามแพลทฟอร์ม (Platform) และโลกอนาคต นำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานและวินิจฉัยแก้ปัญหาและพัฒนางานได้อย่างสร้างสรรค์ โดยคำนึงถึงความรู้ หลักการทางทฤษฎี ประสบการณ์ภาคปฏิบัติ ค่านิยม แนวคิด นโยบายและยุทธศาสตร์ชาติ บรรทัดฐานทางสังคมและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น
(๒) เป็นผู้นำทางปัญญา สามารถคิดริเริ่มและพัฒนางานอย่างสร้างสรรค์ มีภาวะผู้นำทางวิชาการและวิชาชีพ มีความเข้มแข็งและกล้าหาญทางจริยธรรมสามารถชี้นำและถ่ายทอดความรู้แก่ผู้เรียน สถานศึกษา ชุมชนและสังคมอย่างสร้างสรรค์
(๓) สร้างและประยุกต์ใช้ความรู้จากการทำวิจัยและสร้างหรือร่วมสร้างนวัตกรรมเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนและพัฒนาผู้เรียนให้เป็นผู้สร้างหรือร่วมสร้างนวัตกรรม รวมทั้งการถ่ายทอดความรู้แก่ชุมชนและสังคม
(๔) ตระหนักรู้ เห็นคุณค่าและความสำคัญของศาสตร์พระราชาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนและนำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาตน พัฒนาผู้เรียนพัฒนางานและพัฒนาชุมชน
๓.๒) กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา
(๑) การเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน (Research-Based Learning)
(๒) การเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการคิดขั้นสูง (Higher Order Thinking skills)
(๓) การเรียนรู้เชิงผลิตภาพ (Productive-Based Learning)
(๔) การเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์เป็นฐาน (Scenario-Based Learning)
(๕) การเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน (Phenomenon-Based Learning)
(๖) การเรียนรู้โดยบูรณาการการปฏิบัติงานจริงในสถานศึกษา (Work-Integrated Learning : WIL)
(๗) การวิจัยและพัฒนานวัตกรรม (ResearchandInnovation Development)
(๘) การส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง (Self-Directed Learning)
(๙) การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based learning)
(๑๐) การเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-based learning)
(๑๑) การเรียนรู้โดยวิธีโสเครติส (Socrates method )
(๑๒) การเข้าร่วมกิจกรรมเสริมความเป็นครูเป็นรายปีตลอดหลักสูตร
๓.๓) กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา
(๑) วัดและประเมินจากผลการวิเคราะห์แบบวิภาษวิธีเกี่ยวกับประเด็นวิกฤตทางวิชาการ วิชาชีพและทางสังคม
(๒) วัดและประเมินจากผลการทำวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่
(๓) วัดและประเมินจากผลการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม
(๔) วัดและประเมินจากการนำเสนอรายงานหรือผลการปฏิบัติงาน
(๕) วัดและประเมินจากผลการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา
(๖) วัดและประเมินจากผลการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมความเป็นครูเป็นรายปีตลอดหลักสูตร
๔) ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
๔.๑) ผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
(๑) เข้าใจและใส่ใจอารมณ์ความรู้สึกของผู้อื่น มีความคิดเชิงบวก มีวุฒิภาวะทางอารมณ์และทางสังคม
(๒) ทำงานร่วมกับผู้อื่น ทำงานเป็นทีม เป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี มีสัมพันธภาพที่ดีกับผู้เรียน ผู้ร่วมงาน ผู้ปกครองและคนในชุมชน มีความรับผิดชอบต่อส่วนรวมทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม
(๓) มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ต่อตนเอง ต่อผู้เรียน ต่อผู้ร่วมงาน และต่อส่วนรวม สามารถช่วยเหลือและแก้ปัญหาตนเอง กลุ่มและระหว่างกลุ่มได้อย่างสร้างสรรค์
๔.๒) กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
(๑) การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning)
(๒) การเรียนแบบมีส่วนร่วมปฏิบัติการ (Participative Learning through Action)
(๓) การเป็นผู้นำแบบมีส่วนร่วม (Shared Leadership) ในการนำเสนองานวิชาการ
(๔) การให้ความเห็นและการรับฟังความเห็นแบบสะท้อนกลับอย่างไตร่ตรอง (Reflective thinking)
(๕) การเรียนรู้โดยบูรณาการการปฏิบัติงานจริงในสถานศึกษา (Work-Integrated Learning : WIL)
(๖) การเรียนรู้แบบรวมพลัง (Collaborative learning)
(๗) การเข้าร่วมกิจกรรมเสริมความเป็นครู เป็นรายปีตลอดหลักสูตร
๔.๓) กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
(๑) วัดและประเมินจากผลการเรียนรู้แบบร่วมมือ
(๒) วัดและประเมินจากผลการศึกษาค้นคว้าหรือแก้โจทย์ปัญหา
(๓) วัดและประเมินจากผลการนำเสนองานเป็นกลุ่ม การเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดีในการปฏิบัติงานร่วมกัน
(๔) วัดและประเมินจากผลการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา
(๕) วัดและประเมินจากผลการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมความเป็นครูเป็นรายปีตลอดหลักสูตร
๕) ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
๕.๑) ผลการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
(๑) มีทักษะการวิเคราะห์ข้อมูลสถิติ การสังเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เพื่อเข้าใจองค์ความรู้ หรือประเด็นปัญหาทางการศึกษาได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง
(๒) สื่อสารกับผู้เรียน พ่อแม่ผู้ปกครอง บุคคลในชุมชนและสังคม และผู้เกี่ยวข้องกลุ่มต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยสามารถเลือกใช้การสื่อสารทางวาจา การเขียน หรือการนำเสนอด้วยรูปแบบต่างๆ โดยใช้เทคโนโลยีการสื่อสารหรือนวัตกรรมต่างๆ ที่เหมาะสม
(๓) ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูลหรือความรู้จากแหล่งการเรียนรู้ต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้โปรแกรมสำเร็จรูปที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้ การทำงาน การประชุม การจัดการและสืบค้นข้อมูลและสารสนเทศรับและส่งข้อมูลและสารสนเทศโดยใช้ดุลยพินิจที่ดีในการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลและสารสนเทศอีกทั้งตระหนักถึงการละเมิดลิขสิทธิ์และการลอกเลียนผลงาน
๕.๒) กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
(๑) การติดตาม วิเคราะห์ และนำเสนอรายงานประเด็นสำคัญด้านการศึกษาจากข่าวสารบนสื่อสังคมออนไลน์
(๒) การสืบค้นและนำเสนอรายงานประเด็นสำคัญด้านการศึกษาโดยบูรณาการการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีดิจิทัล
(๓) การจัดทำอินโฟกราฟิกเพื่อสรุปประเด็นสาระสำคัญของงานที่นำเสนอ
(๔) การเรียนรู้โดยบูรณาการการปฏิบัติงานจริงในสถานศึกษา (Work-Integrated Learning : WIL)
(๕) การเข้าร่วมกิจกรรมเสริมความเป็นครูเป็นรายปีตลอดหลักสูตร
๕.๓) กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
(๑) วัดและประเมินจากการติดตาม วิเคราะห์ และนำเสนอรายงานประเด็นสำคัญ ด้านการศึกษา
(๒) วัดและประเมินจากผลการสืบค้นและนำเสนอรายงานประเด็นสำคัญการศึกษาที่มีการ บูรณาการเทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีดิจิทัล
(๓) วัดและประเมินจากผลการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา
(๔) วัดและประเมินจากผลการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมความเป็นครูเป็นรายปีตลอดหลักสูตร
๖) ด้านวิธีวิทยาการจัดการเรียนรู้
๖.๑) ผลการเรียนรู้ด้านวิธีวิทยาการจัดการเรียนรู้
(๑) มีความรู้ความเข้าใจในแนวคิดปรัชญาการศึกษา สามารถตัดสินใจเลือกใช้ปรัชญาตามความเชื่อในการสร้างหลักสูตรรายวิชา การออกแบบเนื้อหาสาระกิจกรรมการเรียนการสอน สื่อและเทคโนโลยีการสื่อสาร การวัดและประเมินผู้เรียน การบริหารจัดการชั้นเรียน การจัดการเรียนโดยใช้แหล่งการเรียนรู้ในโรงเรียนและนอกโรงเรียน แหล่งการเรียนรู้แบบเปิดได้อย่างเหมาะสมกับสภาพบริบทที่ต่างกันของผู้เรียนและพื้นที่
(๒) มีความสามารถในการนำความรู้ทางจิตวิทยาไปใช้ในการวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล ออกแบบกิจกรรม การจัดเนื้อหาสาระ การบริหารจัดการ และกลไกการช่วยเหลือ แก้ไขและส่งเสริมพัฒนาผู้เรียนที่ตอบสนองความต้องการ ความสนใจความถนัด และศักยภาพของผู้เรียนที่มีความแตกต่างระหว่างบุคคล ทั้งผู้เรียนปกติและผู้เรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษหรือผู้เรียนที่มีข้อจำกัดทางกาย
(๓) จัดกิจกรรมและออกแบบการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์ เรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติและการทำงานในสถานการณ์จริง ส่งเสริมการพัฒนาการคิด การทำงาน การจัดการ การเผชิญสถานการณ์ ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็น ทำเป็น โดยบูรณาการการทำงานกับการเรียนรู้และคุณธรรมจริยธรรม สามารถประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกัน แก้ไขปัญหา และพัฒนา ด้วยความความซี่อสัตย์สุจริต มีวินัยและรับผิดชอบต่อผู้เรียนโดยยึดผู้เรียนสำคัญที่สุด
(๔) สร้างบรรยากาศ และจัดสภาพแวดล้อม สื่อการเรียน แหล่งวิทยาการ เทคโนโลยี วัฒนธรรมและภูมิปัญญาทั้งในและนอกสถานศึกษาเพื่อการเรียนรู้ มีความสามารถในการประสานงานและสร้างความร่วมมือกับบิดามารดา ผู้ปกครอง และบุคคลในชุมชนทุกฝ่าย เพื่ออำนวยความสะดวกและร่วมมือกันพัฒนาผู้เรียนให้มีความรอบรู้ มีปัญญารู้คิดและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่องให้เต็มตามศักยภาพ
(๕) มีทักษะศตวรรษที่ ๒๑ เช่น ทักษะการเรียนรู้ ทักษะการรู้เรื่องทักษะการคิด ทักษะชีวิต ทักษะการทำงานแบบร่วมมือ ทักษะการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารทักษะเทคโนโลยี และการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำทักษะเหล่านี้มาใช้ในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนและการพัฒนาตนเอง
๖.๒) กลยุทธ์การสอนที่ใช้ในการพัฒนาด้านวิธีวิทยาการจัดการเรียนรู้
(๑) การเรียนรู้โดยบูรณาการการปฏิบัติงานจริงในสถานศึกษา (Work-integrated learning : WIL)
(๒) การออกแบบการจัดการเรียนรู้โดยบูรณาการความรู้ในเนื้อหาวิชาเฉพาะผนวกวิธีสอนกับเทคโนโลยี (Technological Pedagogical Content Knowledge : TPCK)
(๓) การทำวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน
(๔) การเข้าร่วมกิจกรรมเสริมความเป็นครูเป็นรายปีตลอดหลักสูตร
(๕) การเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ (Experience-Based Approach)
(๖) การเรียนรู้เชิงผลิตภาพ (Productive-based learning)
๖.๓) กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านวิธีวิทยาการจัดการเรียนรู้
(๑) วัดและประเมินจากการฝึกทักษะจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์จำลอง
(๒) วัดและประเมินจากผลการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา
(๓) วัดและประเมินจากรายงานการทำวิจัยในชั้นเรียน
(๔) วัดและประเมินจากผลการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมความเป็นครูเป็นรายปีตลอดหลักสูตร
๓. แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสูตรสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
๓.๑ หมวดวิชาศึกษาทั่วไป และวิชากลุ่มพระพุทธศาสนา
๑) ด้านคุณธรรม จริยธรรม
(๑) มีศีลธรรม และศรัทธาอุทิศตนเพื่อพระพุทธศาสนา
(๒ ) มีจิตสาธารณะและเสียสละเพื่อส่วนรวม
(๓) เคารพสิทธิ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
(๔) เห็นคุณค่าศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
(๕) ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีต่อสังคม ชาติ ศาสนา
๒) ด้านความรู้
(๑) มีความรู้ ความเข้าใจหลักการ ทฤษฎีและเนื้อหา
(๒) ใช้ความรู้มาอธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างมีเหตุผล
(๓) สามารถนำความรู้มาปรับใช้ในการดำเนินชีวิตได้
(๔) มีความรอบรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงทั้งของไทยและของโลก
(๕) รู้จักแสวงหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
๓) ด้านทักษะทางปัญญา
(๑) สามารถค้นหาข้อมูล ทำความเข้าใจ และประเมินข้อมูลจากหลักฐาน
(๒) สามารถวิเคราะห์และสังเคราะห์อย่างเป็นระบบและมีเหตุผล
(๓) สามารถประยุกต์ความรู้และทักษะเพื่อแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม
๔) ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
(๑) สามารถทำงานเป็นทีม
(๒) เป็นสมาชิกที่ดีของกลุ่มทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตาม
(๓) มีมนุษยสัมพันธ์ รู้จักควบคุมอารมณ์และยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล
(๔) รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
๕) ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
(๑) ใช้ทักษะวิเคราะห์เชิงตัวเลขได้
(๒) ใช้ภาษาในการติดต่อสื่อความหมายได้ดี ทั้งการฟัง พูด อ่านและเขียน
(๓) ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสม
๓.๒ หมวดวิชาเฉพาะด้าน วิชาชีพครู และวิชาเอก
๑) ด้านคุณธรรม จริยธรรม
(๑) รัก ศรัทธาและภูมิใจในวิชาชีพครู มีจิตวิญญาณและอุดมการณ์ความเป็นครูและปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพครู
(๒) มีจิตอาสา จิตสาธารณะ อดทนอดกลั้น มีความเสียสละ รับผิดชอบและซื่อสัตย์ต่องานที่ได้รับมอบหมายทั้งด้านวิชาการและวิชาชีพ และสามารถพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ ครอบครัว สังคมและประเทศชาติ และเสริมสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน
(๓) มีค่านิยมและคุณลักษณะเป็นประชาธิปไตย คือ การเคารพสิทธิ และให้เกียรติคนอื่น มีความสามัคคีและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ ใช้เหตุผลและปัญญาในการดำเนินชีวิตและการตัดสินใจ
(๔) มีความกล้าหาญและแสดงออกทางคุณธรรมจริยธรรม สามารถวินิจฉัย จัดการและคิดแก้ปัญหาทางคุณธรรมจริยธรรมด้วยความถูกต้องเหมาะสมกับสังคม การทำงานและสภาพแวดล้อม โดยอาศัยหลักการ เหตุผลและใช้ดุลยพินิจทางค่านิยม บรรทัดฐานทางสังคม ความรู้สึกของผู้อื่นและประโยชน์ของสังคมส่วนรวม มีจิตสำนึกในการธำรงความโปร่งใสของสังคมและประเทศชาติ ต่อต้านการทุจริตคอรัปชั่นและความไม่ถูกต้อง ไม่ใช้ข้อมูลบิดเบือน หรือการลอกเลียนผลงาน
๒) ด้านความรู้
(๑) มีความรอบรู้ในหลักการ แนวคิด ทฤษฎี เนื้อหาสาระด้านวิชาชีพของครู อาทิ ค่านิยมของครู คุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณ จิตวิญญาณครู ปรัชญาความเป็นครูจิตวิทยาสำหรับครู จิตวิทยาพัฒนาการ จิตวิทยาการเรียนรู้เพื่อจัดการเรียนรู้และช่วยเหลือ แก้ไขปัญหาส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนหลักสูตรและวิทยาการการจัดการเรียนรู้ นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารการศึกษาและการเรียนรู้การวัดประเมินการศึกษาและการเรียนรู้การวิจัยและการพัฒนานวัตกรรมเพื่อพัฒนาผู้เรียนและภาษาเพื่อการสื่อสารสำหรับครูทักษะการนิเทศและการสอนงาน ทักษะเทคโนโลยีและดิจิทัล ทักษะการทำงานวิจัยและวัดประเมิน ทักษะการร่วมมือสร้างสรรค์ และทักษะศตวรรษที่ ๒๑ มีความรู้ ความเข้าใจในการบูรณาการความรู้กับการปฏิบัติจริงและการบูรณาการข้ามศาสตร์ อาทิ การบูรณาการการสอน (TPCK) การสอนแบบ STEM ชุมชนแห่งการเรียนรู้ (PLC) และมีความรู้ในการประยุกต์ใช้
(๒) มีความรอบรู้ในหลักการ แนวคิด ทฤษฎี เนื้อหาวิชาที่สอน สามารถวิเคราะห์ความรู้ และเนื้อหาวิชาที่สอนอย่างลึกซึ้งสามารถติดตามความก้าวหน้าด้านวิทยาการและนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาผู้เรียนโดยมีผลลัพธ์การเรียนรู้และเนื้อหาสาระด้านมาตรฐานผลการเรียนรู้ด้านความรู้ของแต่ละสาขาวิชาตามเอกสารแนบท้าย
(๓) มีความรู้ เข้าใจชีวิต เข้าใจชุมชน เข้าใจโลกและการอยู่ร่วมกันบนพื้นฐานความแตกต่างทางวัฒธรรม สามารถเผชิญและเท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม และสามารถนำแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตและพัฒนาตน พัฒนางานและพัฒนาผู้เรียน
(๔) มีความรู้และความสามารถในการใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารตามมาตรฐาน
๓) ทักษะทางปัญญา
(๑) คิด ค้นหา วิเคราะห์ข้อเท็จจริง และประเมินข้อมูล สื่อ สารสนเทศจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายอย่างรู้เท่าทันเป็นพลเมืองตื่นรู้ มีสำนึกสากล สามารถเผชิญและก้าวทันกับการเปลี่ยนแปลงในโลกยุคดิจิทัล เทคโนโลยีข้ามแพลทฟอร์ม (Platform) และโลกอนาคต นำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานและวินิจฉัยแก้ปัญหาและพัฒนางานได้อย่างสร้างสรรค์ โดยคำนึงถึงความรู้ หลักการทางทฤษฎี ประสบการณ์ภาคปฏิบัติ ค่านิยม แนวคิด นโยบายและยุทธศาสตร์ชาติ บรรทัดฐานทางสังคมและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น
(๒) เป็นผู้นำทางปัญญา สามารถคิดริเริ่มและพัฒนางานอย่างสร้างสรรค์ มีภาวะผู้นำทางวิชาการและวิชาชีพ มีความเข้มแข็งและกล้าหาญทางจริยธรรมสามารถชี้นำและถ่ายทอดความรู้แก่ผู้เรียน สถานศึกษา ชุมชนและสังคมอย่างสร้างสรรค์
(๓) สร้างและประยุกต์ใช้ความรู้จากการทำวิจัยและสร้างหรือร่วมสร้างนวัตกรรมเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนและพัฒนาผู้เรียนให้เป็นผู้สร้างหรือร่วมสร้างนวัตกรรม รวมทั้งการถ่ายทอดความรู้แก่ชุมชนและสังคม
(๔) ตระหนักรู้ เห็นคุณค่าและความสำคัญของศาสตร์พระราชาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนและนำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาตน พัฒนาผู้เรียนพัฒนางานและพัฒนาชุมชน
๔) ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
(๑) เข้าใจและใส่ใจอารมณ์ความรู้สึกของผู้อื่น มีความคิดเชิงบวก มีวุฒิภาวะทางอารมณ์และทางสังคม
(๒) ทำงานร่วมกับผู้อื่น ทำงานเป็นทีม เป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี มีสัมพันธภาพที่ดีกับผู้เรียน ผู้ร่วมงาน ผู้ปกครองและคนในชุมชน มีความรับผิดชอบต่อส่วนรวมทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม
(๓) มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ต่อตนเอง ต่อผู้เรียน ต่อผู้ร่วมงาน และต่อส่วนรวม สามารถช่วยเหลือและแก้ปัญหาตนเอง กลุ่มและระหว่างกลุ่มได้อย่างสร้างสรรค์
๕) ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
(๑) มีทักษะการวิเคราะห์ข้อมูลสถิติ การสังเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เพื่อเข้าใจองค์ความรู้ หรือประเด็นปัญหาทางการศึกษาได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง
(๒) สื่อสารกับผู้เรียน พ่อแม่ผู้ปกครอง บุคคลในชุมชนและสังคม และผู้เกี่ยวข้องกลุ่มต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยสามารถเลือกใช้การสื่อสารทางวาจา การเขียน หรือการนำเสนอด้วยรูปแบบต่างๆ โดยใช้เทคโนโลยีการสื่อสารหรือนวัตกรรมต่างๆ ที่เหมาะสม
(๓) ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูลหรือความรู้จากแหล่งการเรียนรู้ต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้โปรแกรมสำเร็จรูปที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้ การทำงาน การประชุม การจัดการและสืบค้นข้อมูลและสารสนเทศรับและส่งข้อมูลและสารสนเทศโดยใช้ดุลยพินิจที่ดีในการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลและสารสนเทศอีกทั้งตระหนักถึงการละเมิดลิขสิทธิ์และการลอกเลียนผลงาน
๖) ด้านวิธีวิทยาการจัดการเรียนรู้
(๑) มีความรู้ความเข้าใจในแนวคิดปรัชญาการศึกษา สามารถตัดสินใจเลือกใช้ปรัชญาตามความเชื่อในการสร้างหลักสูตรรายวิชา การออกแบบเนื้อหาสาระกิจกรรมการเรียนการสอน สื่อและเทคโนโลยีการสื่อสาร การวัดและประเมินผู้เรียน การบริหารจัดการชั้นเรียน การจัดการเรียนโดยใช้แหล่งการเรียนรู้ในโรงเรียนและนอกโรงเรียน แหล่งการเรียนรู้แบบเปิดได้อย่างเหมาะสมกับสภาพบริบทที่ต่างกันของผู้เรียนและพื้นที่
(๒) มีความสามารถในการนำความรู้ทางจิตวิทยาไปใช้ในการวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล ออกแบบกิจกรรม การจัดเนื้อหาสาระ การบริหารจัดการ และกลไกการช่วยเหลือ แก้ไขและส่งเสริมพัฒนาผู้เรียนที่ตอบสนองความต้องการ ความสนใจความถนัด และศักยภาพของผู้เรียนที่มีความแตกต่างระหว่างบุคคล ทั้งผู้เรียนปกติและผู้เรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษหรือผู้เรียนที่มีข้อจำกัดทางกาย
(๓) จัดกิจกรรมและออกแบบการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์ เรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติและการทำงานในสถานการณ์จริง ส่งเสริมการพัฒนาการคิด การทำงาน การจัดการ การเผชิญสถานการณ์ ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็น ทำเป็น โดยบูรณาการการทำงานกับการเรียนรู้และคุณธรรมจริยธรรม สามารถประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกัน แก้ไขปัญหา และพัฒนา ด้วยความความซี่อสัตย์สุจริต มีวินัยและรับผิดชอบต่อผู้เรียนโดยยึดผู้เรียนสำคัญที่สุด
(๔) สร้างบรรยากาศ และจัดสภาพแวดล้อม สื่อการเรียน แหล่งวิทยาการ เทคโนโลยี วัฒนธรรมและภูมิปัญญาทั้งในและนอกสถานศึกษาเพื่อการเรียนรู้ มีความสามารถในการประสานงานและสร้างความร่วมมือกับบิดามารดา ผู้ปกครอง และบุคคลในชุมชนทุกฝ่าย เพื่ออำนวยความสะดวกและร่วมมือกันพัฒนาผู้เรียนให้มีความรอบรู้ มีปัญญารู้คิดและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่องให้เต็มตามศักยภาพ
(๕) มีทักษะศตวรรษที่ ๒๑ เช่น ทักษะการเรียนรู้ ทักษะการรู้เรื่องทักษะการคิด ทักษะชีวิต ทักษะการทำงานแบบร่วมมือ ทักษะการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารทักษะเทคโนโลยี และการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำทักษะเหล่านี้มาใช้ในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนและการพัฒนาตนเอง